{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่าค่าเงินบาทเปิดเช้า30 กันยายน 2567 ที่ระดับ 32.37 บาทต่อดอลลาร์ “แข็งค่าขึ้นเล็กน้อย”จากระดับปิดสัปดาห์ก่อนหน้า ที่ระดับ 32.40 บาทต่อดอลลาร์
โดยนับตั้งแต่ช่วงวันศุกร์ที่ผ่านมา เงินบาทโดยรวมเคลื่อนไหวในกรอบ sideways แต่ก็มีจังหวะแข็งค่าขึ้น จนทะลุโซนแนวรับ 32.30 บาทต่อดอลลาร์ (แกว่งตัวในกรอบ 32.27-32.42 บาทต่อดอลลาร์) ตามจังหวะการอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์ ที่มาพร้อมการปรับตัวขึ้นบ้างของราคาทองคำ หลังอัตราเงินเฟ้อ PCE ของสหรัฐฯ เดือนสิงหาคม ชะลอตัวลงต่อเนื่อง และออกมาต่ำกว่าคาดเล็กน้อย ทำให้ผู้เล่นในตลาดยังคงมีความหวังต่อแนวโน้มการเร่งลดดอกเบี้ยของเฟด อย่างไรก็ดี เงินบาทก็พลิกกลับมาอ่อนค่าลงบ้าง หลังเงินดอลลาร์ทยอยแข็งค่าขึ้นตามบรรยากาศในตลาดการเงินสหรัฐฯ ที่ผู้เล่นในตลาดยังไม่กล้าเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้น ส่วนราคาทองคำก็ปรับตัวลงราว -20 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ตามแรงขายทำกำไรและจังหวะการปรับตัวขึ้นของเงินดอลลาร์ เปิดโอกาสให้ผู้เล่นในตลาดบางส่วนยังคงทยอยเข้าซื้อทองคำในจังหวะย่อตัว ท่ามกลางสถานการณ์ความขัดแย้งในตะวันออกกลางที่ยังคงร้อนแรงอยู่ อีกทั้ง ผู้เล่นในตลาดต่างคงคาดหวังว่าเฟดจะสามารถเร่งลดดอกเบี้ยได้มากกว่าที่ระบุไว้ใน Dot Plot ล่าสุด
สัปดาห์ที่ผ่านมา เงินบาทยังคงแข็งค่าขึ้นทะลุแนวรับที่เราประเมิน ตามโฟลว์ธุรกรรมขายทำกำไรทองคำและความหวังการฟื้นตัวเศรษฐกิจจีนซึ่งหนุนให้เงินหยวนจีน (CNY) และบรรดาสกุลเงินฝั่งเอเชียแข็งค่าขึ้น
สำหรับสัปดาห์นี้ เราประเมินว่า ควรระวังความผันผวนในช่วงทยอยรับรู้ รายงานข้อมูลตลาดแรงงานสหรัฐฯ นอกจากนี้ ควรรอติดตามถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางหลัก
มุมมองเศรษฐกิจทั่วโลก
▪ ฝั่งสหรัฐฯ – ไฮไลท์สำคัญจะอยู่ที่ รายงานข้อมูลตลาดแรงงานสหรัฐฯ โดยจะเริ่มจาก รายงานยอดตำแหน่งงานเปิดรับ (JOLTs Job Openings) ยอดการจ้างงานภาคเอกชน โดย ADP จนถึง ยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม (Nonfarm Payrolls) อัตราการว่างงาน (Unemployment Rate) และอัตราการเติบโตของค่าจ้าง (Average Hourly Earnings) นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้นรายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตอุตสาหกรรมและภาคการบริการ (ISM Manufacturing and Services PMIs) เดือนกันยายน พร้อมกับรอติดตามถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด เพื่อประเมินแนวโน้มการลดดอกเบี้ยของเฟด โดยล่าสุด ผู้เล่นในตลาดยังคงคาดหวังว่า เฟดมีโอกาส “เร่งลดดอกเบี้ย” ได้ในสองการประชุมที่เหลือของปีนี้ และมีโอกาสเร่งลดดอกเบี้ยต่อในการประชุมช่วงต้นปีหน้า ซึ่งเราคงมุมมองเดิมว่า หากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ อย่าง ข้อมูลตลาดแรงงานสหรัฐฯ ไม่ได้ชะลอตัวลงหนักหรือออกมาแย่กว่าคาด เฟดก็มีแนวโน้มทยอยลดดอกเบี้ยได้ตาม Dot Plot ล่าสุด ทำให้สุดท้ายผู้เล่นในตลาดต้องทยอยปรับลดความคาดหวังการเร่งลดดอกเบี้ยของเฟดบ้าง เปิดโอกาสให้เงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ อาจปรับตัวขึ้นได้บ้างในกรณีดังกล่าว
▪ ฝั่งยุโรป – ผู้เล่นในตลาดจะรอประเมินแนวโน้มนโยบายการเงินของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ผ่านรายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI ของยูโรโซน เดือนกันยายน รวมถึงถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่ ECB นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้นรายงานอัตราการเติบโตเศรษฐกิจอังกฤษในไตรมาสที่ 2 และถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) เพื่อประเมินทิศทางนโยบายการเงินของ BOE เช่นกัน
▪ ฝั่งเอเชีย – ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้นรายงานดัชนี PMI ภาคการผลิตและภาคการบริการของจีนในเดือนกันยายน (ซึ่งจะมีการรายงานในวันเดียวกันทั้งในส่วนของ Official PMI ที่เน้นบริษัทขนาดใหญ่เป็นหลัก และ Caixin PMI ที่เน้นบริษัทขนาดเล็ก-กลาง) เพื่อประเมินแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน ส่วนในฝั่งญี่ปุ่น ผู้เล่นในตลาดจะให้ความสนใจ รายงานยอดค้าปลีก (Retail Sales) เดือนสิงหาคม รวมถึงผลสำรวจความเชื่อมั่นภาคธุรกิจโดยธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ Tankan Survey)
▪ ฝั่งไทย – ควรรอลุ้นรายงานดัชนี PMI ภาคการผลิต รวมถึงดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจในเดือนกันยายน พร้อมจับตาฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติ หลังดัชนี SET ยังคงมีความเสี่ยงอาจย่อตัวลงได้บ้างในระยะสั้น อนึ่ง เงินบาทได้แข็งค่าหลุดทุกโซนแนวรับที่เราได้ประเมินไว้ก่อนหน้า นอกจากนี้ เมื่อประเมินจากสถิติการเคลื่อนไหวของเงินบาทหลังรับรู้รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ โดยเฉพาะรายงานข้อมูลการจ้างงานสหรัฐฯ ก็มีโอกาสที่เงินบาทอาจแข็งค่าขึ้นทะลุโซน 32.00 บาทต่อดอลลาร์ ได้ ทว่า เราคงมุมมองเดิมว่า ในเชิง Valuation การแข็งค่าของเงินบาทมากกว่าโซน 32.50 บาทต่อดอลลาร์นั้น ถือว่า เป็นระดับที่ Overvalued มากขึ้น (Z-Score ของดัชนีค่าเงินบาท REER เกินระดับ +1.0 หากเงินบาทแข็งค่าหลุด 32.00 บาทต่อดอลลาร์) ซึ่งหากปัจจัยพื้นฐานไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ เงินบาทก็ไม่ควรแข็งค่าเกินระดับดังกล่าวไปมากนัก ทำให้ผู้ประกอบการอย่างฝั่งผู้นำเข้าควรเตรียมพร้อมปิดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน นอกจากนี้ เรายังคงแนะนำว่า ผู้เล่นในตลาดควรใช้กลยุทธ์ในการปิดความเสี่ยงที่หลากหลายมากขึ้น ทั้งการใช้เครื่องมือเช่น Options หรือ สกุลเงินท้องถิ่น ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการปิดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนได้
สำหรับ แนวโน้มของค่าเงินบาท เรามองว่า โมเมนตัมการแข็งค่าของเงินบาทนั้นยังมีอยู่ แต่เราเห็นโอกาสที่เงินบาทอาจชะลอการแข็งค่าขึ้น หากเงินดอลลาร์รีบาวด์ขึ้นจริง ส่วนนักลงทุนต่างชาติเริ่มทยอยขายทำกำไรสถานะถือครองสินทรัพย์ไทยตามคาด ทว่า เงินบาทก็อาจยังได้แรงหนุน ตราบใดที่ราคาทองคำสามารถปรับตัวขึ้นได้ ทั้งนี้ เราขอย้ำว่า ในเชิง valuation เงินบาทนั้นอยู่ในโซน Overvalued มากขึ้น
ในส่วนเงินดอลลาร์นั้น เรามองว่า Two-Way Volatility ยังคงเป็นธีมหลักของเงินดอลลาร์ โดยเงินดอลลาร์อาจรีบาวด์ขึ้นบ้าง หากตลาดทยอยลดความคาดหวังการเร่งลดดอกเบี้ยของเฟด ซึ่งต้องเห็นภาพตลาดแรงงานสหรัฐฯ ที่ไม่ได้เลวร้ายนัก แต่หากข้อมูลตลาดแรงงานสหรัฐฯ ออกมาแย่กว่าคาด เงินดอลลาร์ก็เสี่ยงอ่อนค่าต่อ ตามความเชื่อมั่นการเร่งลดดอกเบี้ยของเฟดที่จะสูงขึ้น
เราคงคำแนะนำว่า ผู้เล่นในตลาดควรเลือกใช้เครื่องมือในการปิดความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนที่หลากหลายมากขึ้น ท่ามกลางความผันผวนของเงินบาท รวมถึงสกุลเงินอื่นๆ ที่สูงขึ้นกว่าช่วงอดีตที่ผ่านมาพอสมควร โดยผู้เล่นในตลาดอาจเลือกใช้เครื่องมือเพิ่มเติม อาทิ Options หรือ Local Currency ควบคู่ไปกับการปิดความเสี่ยงผ่านการทำสัญญา Forward
มองกรอบค่าเงินบาทสัปดาห์นี้ ที่ระดับ 32.00-32.85 บาท/ดอลลาร์
ส่วนกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 32.20-32.45 บาท/ดอลลาร์ (ระวังความผันผวนในช่วงตลาดทยอยรับรู้รายงานดัชนี PMI ของจีน)
พูน พานิชพิบูลย์
นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน
Krungthai GLOBAL MARKETS
ธนาคารกรุงไทย
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS