{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
บมจ.โรงพยาบาลนครธน มองเทรนด์การมีบุตรยากมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น หนุนความต้องการใช้เทคโนโลยีการแพทย์ช่วยแก้ไข ผสานความร่วมมือพันธมิตรรุกเปิดบริการ “ศูนย์นครธน กิฟท์ เฟอร์ทิลิตี้” โฉมใหม่ มุ่งสู่การเป็นผู้นำให้บริการเพื่อการมีบุตร ชูเทคโนโลยีการรักษาที่ทันสมัย ทั้งการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำเชื้อ ประมวลผลด้วยระบบ AI และการเพาะเลี้ยงตัวอ่อนด้วยเครื่อง EmbryoScope Plus เพิ่มโอกาสความสำเร็จในการตั้งครรภ์
รองศาสตราจารย์ ญาณเดช ทองสิมา ประธานกรรมการบริษัท บริษัท โรงพยาบาลนครธน จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปัจจุบันคนไทยและชาวต่างชาติประสบปัญหามีบุตรยากและมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในอนาคต โดยมีสาเหตุจากหลายปัจจัยที่ส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม อาทิ อัตราการมีคู่ครองและการแต่งงานที่ลดลง, ความเครียดจากการทำงาน, อาการเจ็บป่วย และปัญหาด้านสุขภาพ ฯลฯ ส่งผลให้มีความต้องการใช้บริการและพึ่งพาเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่มีความทันสมัยและปลอดภัย เช่น การทำเด็กหลอดแก้ว (IVF, ICSI) เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์, การตรวจคัดกรองและวินิจฉัยความผิดปกติของโครโมโซมด้วยวิธี NGS (Next Generation Sequencing) เพื่อเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ได้อย่างมีคุณภาพ และเติมเต็มความฝันการมีบุตร
ล่าสุด โรงพยาบาลนครธน ได้เปิดบริการ “ศูนย์นครธน กิฟท์ เฟอร์ทิลิตี้” โฉมใหม่ ภายใต้ความร่วมมือกันระหว่าง บริษัท โรงพยาบาลนครธน จำกัด (มหาชน) และบริษัท กิฟท์ เฟอร์ทิลิตี้ จำกัด เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ที่ประสบปัญหามีบุตรยาก ทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ และมุ่งสู่การเป็นผู้นำการให้บริการรักษาภาวะมีบุตรยากอย่างเต็มรูปแบบ
แพทย์หญิงศิเรมอร ทองสิมา ผู้อำนวยการสายงานแพทย์ บริษัท โรงพยาบาลนครธน จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ความร่วมมือระหว่างกันครั้งนี้ช่วยเพิ่มศักยภาพการรักษาแก่ผู้มีบุตรยาก โดย ศูนย์นครธน กิฟท์ เฟอร์ทิลิตี้ มีทีมแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ และทีมนักวิทยาศาสตร์ที่มีประสบการณ์ ใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ที่ทันสมัยช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการรักษา และช่วยให้บุตรที่เกิดมามีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง เพื่อให้บริการวางแผนมีบุตรและวิเคราะห์ภาวะมีบุตรยากได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ การตรวจพันธุกรรมของตัวอ่อน (PGT) ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถเลือกตัวอ่อนจากผลการตรวจวินิจฉัยในระดับโครโมโซมและยีน เพื่อคัดกรองตัวอ่อนที่มีพันธุกรรมผิดปกติออกไป โดยการใช้วิธีเด็กหลอดแก้ว (ICSI) ร่วมกับการตรวจพันธุกรรมตัวอ่อน (PGT) จะมีโอกาสได้เลือกตัวอ่อนที่สมบูรณ์ หรือ มีโครโมโซมปกติ หรือ มีเพียงยีนแฝงเท่านั้นเพื่อย้ายกลับสู่โพรงมดลูก และช่วยเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์
ทั้งนี้ โรงพยาบาลนครธน มุ่งเน้นศักยภาพการให้บริการ โดยมีห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์น้ำเชื้อ ห้องปฏิบัติการปฏิสนธิ ห้องปฏิบัติการเลี้ยงตัวอ่อน เพื่อรองรับบริการการรักษา ได้แก่ การผสมเทียม (IUI: Intrauterine Insemination) การทำเด็กหลอดแก้ว (IVF: In Vitro Fertilization) การทำอิ๊คซี่ (ICSI: Intracytoplasmic Sperm Injection) การทำ PESA/TESE วิธีเก็บอสุจิจากกรณีปัญหาของฝ่ายชาย การตรวจวินิจฉัยโรคทางพันธุกรรม PGT(Preimplantation genetic testing) เพื่อป้องกันถ่ายทอดความผิดปกติในครอบครัวที่มีประวัติโรคทางพันธุกรรม การตรวจวิเคราะห์โครโมโซมตัวอ่อน NGS (Next Generation Sequencing) และการแช่แข็งไข่ (Oocyte freezing) พร้อมทั้ง เสริมประสิทธิภาพตั้งแต่การวิเคราะห์ ด้วยเครื่องตรวจคุณภาพน้ำเชื้อ Semen Quality Analyzer ประมวลผลด้วยระบบ AI บันทึกภาพวีดีโอเพิ่มความแม่นยำในการคัดเลือกอสุจิที่แข็งแรงมาปฏิสนธิกับไข่ ดูแลตัวอ่อนด้วยระบบปิดผ่านเครื่องเพาะเลี้ยง EmbryoScope Plus ควบคุมอุณหภูมิ ลดการรบกวน สร้างสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของตัวอ่อน มีการบันทึกภาพต่อเนื่อง 10-20 นาที (Time-Lapse Imaging) ผ่านซอฟต์แวร์การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกประเมินโอกาสที่ตัวอ่อนจะฝังตัวและพัฒนาไปเป็นการตั้งครรภ์ที่ประสบความสำเร็จ ภายใต้ระบบการดูแลที่ดูแลโดยทีมนักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญด้านการเพาะเลี้ยงตัวอ่อนและพันธุศาสตร์
นอกจากนี้ ศูนย์นครธน กิฟท์ เฟอร์ทิลิตี้ ได้ปรับปรุงพื้นที่การให้บริการใหม่ ที่บริเวณชั้น 4 ของโรงพยาบาล โดยมีการตกแต่งอย่างอบอุ่น เพิ่มเป็นส่วนตัว รองรับผู้รับบริการทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ โดยมีล่ามแปลภาษา อังกฤษ จีน และเมียนมา ทั้งนี้ หากผู้รับบริการประสบความสำเร็จในการตั้งครรภ์ ทางโรงพยาบาลยังมีแพทย์เฉพาะทางสาขาต่างๆ ในการดูแลอย่างครอบคลุม ตั้งแต่ การฝากครรภ์ การคลอด โดยสูติ-นรีเวช, การดูแลทารกแรกเกิด โดยกุมารแพทย์ด้านทารกแรกเกิดและปริกำเนิด รวมไปถึงการดูแลสุขภาพเด็ก และการรับวัคซีน โดยกุมารแพทย์ เพื่อตอบสนองการให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS