{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
นางแพตริเซีย มงคลวนิช อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า ขณะนี้ร่าง พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 อยู่ระหว่างการพิจารณาของรัฐสภา ดังนั้น เพื่อให้หน่วยงานของรัฐสามารถดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างได้อย่างรวดเร็ว สามารถก่อหนี้ผูกพันและเบิกจ่ายเงินได้แล้วเสร็จภายในปีงบประมาณ สอดคล้องกับนโยบายเร่งรัด การเบิกจ่ายเงินของรัฐบาล กรมบัญชีกลางจึงออกหนังสือซ้อมความเข้าใจการเตรียมการจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 สำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ดังนี้
1. กรณีใช้จ่ายจากเงินงบประมาณ
ให้หน่วยงานของรัฐถือปฏิบัติตามหนังสือคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหาร
พัสดุภาครัฐ ด่วนที่สุด ที่ กค (กวจ) 0405.2/ว 371 ลงวันที่ 5 สิงหาคม 2562 ดังนี้
1.1 ก่อนที่ร่าง พ.ร.บ. จะผ่านการพิจารณาของรัฐสภา ให้หน่วยงานของรัฐเตรียมการจัดซื้อจัดจ้างในขั้นตอนที่เป็นเรื่องภายในของหน่วยงานของรัฐไว้ก่อน เช่น การกำหนดรายละเอียดหรือคุณลักษณะเฉพาะ คุณสมบัติผู้เสนอราคา เงื่อนไขในการจัดซื้อจัดจ้างรูปแบบและเนื้อหาของสัญญาที่จะลงนาม เป็นต้น
1.2 การจะถือว่าหน่วยงานของรัฐได้รับความเห็นชอบวงเงิน ก็ต่อเมื่อคณะอนุกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา
ร่าง พ.ร.บ. ได้พิจารณาร่างเป็นรายหน่วยงาน และมีมติเป็นที่สิ้นสุดแล้ว ก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาในวาระ 2
1.3 เมื่อหน่วยงานของรัฐได้รับความเห็นชอบวงเงินงบประมาณแล้ว สามารถดำเนินประกาศแผนงานการจัดซื้อจัดจ้างประจำปี จนถึงขั้นตอนได้ตัวผู้ขายหรือผู้จ้างไว้ก่อนได้ สำหรับขั้นตอนการลงนามในสัญญาหรือข้อตกลงเป็นหนังสือได้ ก็ต่อเมื่อ พ.ร.บ. มีผลใช้บังคับและได้รับจัดสรรงบประมาณ
1.4 ให้หน่วยงานของรัฐที่จะจัดซื้อจัดจ้างกำหนดเงื่อนไขในเอกสารเชิญชวนการจัดซื้อจัดจ้าง ว่าจะมีการลงนามในสัญญาหรือข้อตกลงได้ก็ต่อเมื่อ พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 มีผลใช้บังคับ และหากไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ หน่วยงานของรัฐสามารถยกเลิกการจัดซื้อจัดจ้างครั้งนั้นได้
1.5 การบันทึกข้อมูลในระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (e-GP) กรณีได้รับความเห็นชอบวงเงินงบประมาณแล้วก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาในวาระ 2 หน่วยงานของรัฐสามารถบันทึกข้อมูลโครงการ
จัดซื้อจัดจ้างได้ทันที โดยไม่ต้องระบุรหัสงบประมาณและรหัสแหล่งของเงิน และเมื่อ พ.ร.บ. งบประมาณฯ
มีผลใช้บังคับต้องบันทึกรหัสงบประมาณและแหล่งของเงินที่สำนักงบประมาณกำหนด ให้แล้วเสร็จก่อนลงนามในสัญญาหรือข้อตกลงเป็นหนังสือ
2. กรณีที่ไม่ได้ใช้จ่ายจากเงินงบประมาณ
เมื่อหน่วยงานของรัฐได้รับความเห็นชอบวงเงินงบประมาณจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือผู้มีอำนาจในการพิจารณางบประมาณตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ ข้อบัญญัติ ข้อกำหนด หรือแนวทางปฏิบัติว่าด้วยงบประมาณของหน่วยงานของรัฐนั้น ๆ แล้ว ให้หน่วยงานของรัฐสามารถดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างจนถึงขั้นตอน ได้ตัวผู้ขายหรือผู้รับจ้าง ทั้งนี้ ตามนัยหนังสือคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหาร
พัสดุภาครัฐ ด่วนที่สุด ที่ กค (กวจ) 0405.2/ว 414 ลงวันที่ 17 กันยายน 2561
อธิบดีกรมบัญชีกลางกล่าวเพิ่มเติมว่า ขอให้หน่วยงานของรัฐที่ได้รับความเห็นชอบวงเงินงบประมาณแล้ว
ให้เร่งดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างจนถึงขั้นตอนได้ตัวผู้ขายหรือผู้รับจ้างได้ทันที เพื่อให้พร้อมที่จะทำสัญญาเมื่อได้รับอนุมัติทางการเงินแล้ว ซึ่งจะทำให้สามารถเบิกจ่ายเงินได้ทันภายในปีงบประมาณ สอดรับกับนโยบายการเร่งรัดเบิกจ่ายเงินงบประมาณของรัฐบาลและเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด ส่งผลให้เม็ดเงินลงสู่ระบบเศรษฐกิจต่อไป
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS