กนอ. ร่วมกับ มธ. ลุยพัฒนาศักยภาพบัณฑิตไทย เพื่อเสริมแกร่งให้ภาคอุตสาหกรรม

การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) จับมือกับสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศ ลงนามบันทึก ความเข้าใจ (MOU) กับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) มุ่งพัฒนาศักยภาพบัณฑิตไทยให้ตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรม ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เล็งขยายผลกับสถานศึกษาอื่นๆ ทั่วประเทศ

นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ( กนอ.) เปิดเผยภายหลังพิธีลงนามบันทึก ความเข้าใจระหว่างการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กับ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2567 ว่า กนอ. ตระหนักดีว่า การพัฒนาทรัพยากรบุคคลเปนเรื่องสำคัญที่จะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกๆ ฝ่าย โดย กนอ. มีความพร้อมในเรื่องขององค์ความรู้บุคลากรที่มีความรูความสามารถ ตลอดจนมีเครือข่ายผู้ประกอบอุตสาหกรรมใน 70 นิคมอุตสาหกรรม ซึ่งกระจายอยู่ใน 16 จังหวัด ทำให้ กนอ. มีศักยภาพในการสร้าง Eco-System ที่จะส่งเสริม สนับสนุน และร่วมพัฒนาศักยภาพบุคลากรภาคอุตสาหกรรมร่วมกัน

“กนอ.มุ่งมั่นในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีทักษะและความรู้ที่สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม ยุคใหม่ความร่วมมือกับ มธ. ในครั้งนี้ จะช่วยเสริมสร้างศักยภาพของบัณฑิตไทย ให้พร้อมก้าวเข้าสู่โลกการทำงาน และ เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยใช้การทำเอ็มโอยูกับ มธ. ในครั้งนี้ เป็นโมเดลเริ่มต้นสำหรับเอ็มโอยู ในลักษณะเดียวกันนี้กับสถานศึกษาอื่นๆ เพื่อสร้างพื้นที่สำหรับการพัฒนาศักยภาพของนักศึกษา ซึ่งถือเป็นทรัพยากรสำคัญ ของประเทศ” นายวีริศ กล่าว

ศาสตราจารย์ ดร.ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์ รักษาการแทนอธิการบดี กล่าวเสริมว่า มธ. พร้อมร่วมมือกับ กนอ. ในการพัฒนา ทรัพยากรบุคคลให้มีคุณภาพ โดยเชื่อมั่นว่าความร่วมมือครั้งนี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อนักศึกษาและภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทย และนับเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในภาคอุตสาหกรรม เป็นการสร้างความเชื่อมโยง ระหว่างสถาบันการศึกษากับภาคอุตสาหกรรมอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเป็นศูนย์กลาง อุตสาหกรรมและนวัตกรรมในภูมิภาค

สำหรับความร่วมมือระหว่าง กนอ. และ มธ.ภายใต้บันทึกความเข้าใจฉบับนี้ครอบคลุมหลากหลายมิติ ได้แก่

• เปิดประสบการณ์จริงในนิคมอุตสาหกรรม : นักศึกษา มธ. จะมีโอกาสฝึกงานและสหกิจศึกษาในนิคมอุตสาหกรรมของ กนอ. ซึ่งกระจายอยู่ทั่วประเทศ เพื่อเรียนรู้การทำงานจริงและสัมผัสประสบการณ์ในภาคอุตสาหกรรมอย่างใกล้ชิด

• พัฒนางานวิจัยและนวัตกรรม : กนอ. และ มธ. จะร่วมมือกันในการทำวิจัยและพัฒนานวัตกรรมที่ตอบโจทย์ความต้องการ ของภาคอุตสาหกรรม สร้างองค์ความรู้ใหม่ และส่งเสริมการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาอุตสาหกรรม

• สร้างเครือข่ายความร่วมมือ : กนอ. จะเชื่อมโยง มธ. กับเครือข่ายผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรม เพื่อสร้าง ความร่วมมือและโอกาสในการพัฒนาบุคลากรร่วมกัน

บันทึกความเข้าใจฉบับนี้มีผลใช้บังคับเป็นระยะเวลา 3 ปี นับตั้งแต่วันลงนามบันทึกความเข้าใจ กรณีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด มีความประสงค์จะยกเลิกบันทึกความเข้าใจฉบับนี้ จะต้องบอกกล่าวเป็นหนังสือให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน ทั้งนี้ หากบันทึกความเข้าใจฉบับนี้สิ้นสุดลงไปไม่ว่ากรณีใดไม่มีผลเป็นการยกเลิกกิจกรรมหรือโครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการ หรือได้ดำเนินการไปแล้วภายใต้บันทึกความเข้าใจฉบับนี้ เว้นแต่ทั้งสองฝ่ายจะตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรให้เป็นอย่างอื่น


COMMENTS

{{ errors.name }}

{{ errors.value }}

{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}

RELATED TOPICS

Please wait a moment