{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร (KKP) จัดงานสัมมนา KKP 2024 Mid Year Outlook Seminar: Surfing a Sea of Opportunities Amid Geopolitical Tides โดยดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร และนายทวีศักดิ์ เผ่าพัลลภ หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์เศรษฐกิจและการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) พาสำรวจการเลือกตั้งและภาพรวมเศรษฐกิจโลก พร้อมแนะกลยุทธ์การลงทุนในช่วงครึ่งปีหลัง 2567
เศรษฐกิจโลกโตต่อ จับตาการเมืองสหรัฐฯ
ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร เปิดเผยว่า เศรษฐกิจโลกยังมีแนวโน้มโตต่อได้แม้ไม่ร้อนแรงเท่าปีที่แล้ว และการเติบโตยังขยายวงกว้างมากขึ้น นำโดยสหรัฐฯ ที่ยังแข็งแกร่งพร้อมกับอัตราเงินเฟ้อที่ยังน่าจะทยอยลดลงได้อีก ซึ่งจะช่วยสร้างความมั่นใจเรื่องอัตราเงินเฟ้อให้กับ FED โดย KKP ยังคงคาดว่า FED จะลดดอกเบี้ยได้ 1-2 ครั้งในครึ่งหลังปี 2567 นี้ ขณะที่ยุโรปสามารถรอดพ้นจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย และเห็นสัญญาณที่ดีขึ้นแม้จะไม่สดใสเท่าสหรัฐฯ และเงินเฟ้อมีแนวโน้มลดลงได้เช่นกัน นอกจากนี้ ในฝั่งประเทศตลาดเกิดใหม่ที่ไม่รวมประเทศจีน (Emerging Markets ex China) ก็มีแนวโน้มที่เติบโตได้ดี ถึงมีความเสี่ยงเรื่องเงินเฟ้อที่อาจลงช้ากว่าคาด แต่น่าจะลดลงได้
ในขณะที่ความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยลดลง แต่ประเด็นที่ต้องจับตาใกล้ชิดในช่วงครึ่งปีหลังคือการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ซึ่งอาจนำมาซึ่งความไม่แน่นอนทั้งในแง่ของนโยบายของประเทศเศรษฐกิจหลัก และความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ในมิติของนโยบายการค้าระหว่างประเทศ ที่จีนจะได้รับผลกระทบโดยตรง โดยเศรษฐกิจจีนยังได้รับผลกระทบจากปัญหาภายในที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข ไม่ว่าภาคอสังหาฯ ที่ซบเซา ความเชื่อมั่นในการบริโภคที่ยังไม่ฟื้น และการขาดมาตรการกระตุ้น เมื่อประกอบกับความเสี่ยงเรื่องสงครามการค้าหลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ แนวโน้มตลาดหุ้นจีนจึงยังไม่น่าสนใจ
แนะลงทุนเต็มอัตราควบคู่จำกัดความเสี่ยง (Grow-Protect)
นายทวีศักดิ์ เผ่าพัลลภ หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์เศรษฐกิจและการลงทุน บล.เกียรตินาคินภัทร ให้มุมมองว่าการเติบโตเศรษฐกิจสหรัฐฯ และโลกยังไปต่อได้ แต่ด้วยความท้าทายด้านภูมิรัฐศาสตร์โลกที่เพิ่มขึ้นและคาดเดาได้ยาก บล.เกียรตินาคินภัทรจึงแนะนำว่านักลงทุนควรจัดสรรการลงทุนอย่างรอบคอบ เน้นหุ้นคุณภาพสูง และการกระจายการลงทุนในพอร์ต โดยมีการลงทุนทั้งแบบเชิงรุก (Grow) และแบบจำกัดความเสี่ยง (Protect) ควบคู่กัน
สำหรับการลงทุนเชิงรุก (Grow) หุ้นที่น่าสนใจคือ หุ้นกลุ่มที่มีการเปลี่ยนแปลงตามวัฏจักรเศรษฐกิจ(Cyclical growth) ในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ที่ไม่รวมประเทศจีน (Emerging Markets ex China) เนื่องจากวงจรเศรษฐกิจเอื้ออำนวยและโมเมนตัมกำไรแข็งแกร่ง และกลุ่มธุรกิจการเงิน (Financials) เนื่องจากรายได้ค่าธรรมเนียมและคุณภาพสินทรัพย์ที่มีแนวโน้มดีขึ้น ส่วนกลุ่มที่เหมาะกับการลงทุนในระยะยาวคือ หุ้นอินเดีย และกลุ่มบริษัทด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวโยงกับห่วงโซ่อุปทานของ AI (AI Value Chain) นอกเหนือจากเซมิคอนดักเตอร์ เนื่องจากการลงทุนด้าน AI ยังมีแนวโน้มเติบโตต่อ
ส่วนการลงทุนเพื่อป้องกันความเสี่ยง (Protect) แนะนำลงทุนในตราสารหนี้โลกคุณภาพดีเพราะให้ผลตอบแทน (yield) สูงสุดในรอบกว่าทศวรรษ แต่จำกัดความเสี่ยงจากความผันผวนของ yield โดยเน้นการลงทุนที่อายุ 3-5 ปี นอกจากนั้น เนื่องจากความเสี่ยงยังไม่ถูกสะท้อนอยู่ในราคาหุ้นในตลาดทั้งหมด จึงควรลงทุนในอนุพันธ์ที่ป้องกันเงินต้น แต่ยังเปิดช่องให้รับ Upside อาทิ Principal Protected Note on S&P 500 Index หรือ Principal Protected Note on Dollar Index
สำหรับการลงทุนแบบผสมผสาน (Grow/Protect) แนะนำการจัดสรรพอร์ตแบบ Prudent Asset Allocation และลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ซึ่งน่าจะทนทานที่สุดในกรณีที่มีสงครามการค้า นอกจากนั้น ธุรกิจที่มีลักษณะตั้งรับในตัวอย่างธุรกิจ สาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐาน ก็น่าสนใจ เพราะมีความทนทานต่อผลกระทบในทางลบ แต่ยังสามารถได้ประโยชน์จากพัฒนาการของ AI เช่นความต้องการใช้พลังงานที่มากขึ้นจาก data center
ตีม AI ยังไปต่อได้อีกระยะหนึ่ง
การลงทุนในหุ้นกลุ่ม AI ยังมีแนวโน้มเติบโตต่อได้อีก เนื่องจากการลงทุนพัฒนายังอยู่ในช่วงเริ่มต้นและยังมีศักยภาพรอนำไปใช้ โดยจะได้เห็นการขยายการใช้งานไปยังกลางน้ำ-ปลายน้ำของห่วงโซ่อุปทานของ AI (AI Value Chain) ด้านการประเมินมูลค่าหุ้นไม่ถือว่าราคาถูกแต่ยังไม่แพงจนถึงระดับฟองสบู่
ลงทุนต่างประเทศแบบ unhedged
สำหรับการลงทุนต่างประเทศ ความผันผวนของ Forex (Foreign Exchange) สูงในระยะสั้นแต่ระยะยาวไม่ได้เป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อผลตอบแทน ประกอบกับต้นทุนการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน (hedging cost) ที่ค่อนข้างสูง ดังนั้นการลงทุนต่างประเทศโดยเป็นแบบเปิดรับความเสี่ยงค่าเงิน (unhedged) จึงน่าจะทำให้ได้ผลตอบแทนในระดับสูงในต่างประเทศอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย บล.เกียรตินาคินภัทรคาดว่า hedging cost USD/THB จะมีแนวโน้มแพงไปอย่างน้อยอีก 2-3 ปี เนื่องจากปัญหาโครงสร้างเศรษฐกิจของไทยที่ด้อยลงและเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ค่อนข้างแข็งแกร่งจะทำให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยเทียบกับสหรัฐฯน่าจะอยู่ในช่วง 2-3%
ทั้งนี้ แนะนำลงทุนในกองทุนที่สอดคล้องกับกลยุทธ์ Grow and Protect ได้แก่ Mandate Service ของ KKP หรือกองทุน KKP-SGAA* กองทุน TUSFIN-A และกองทุน KKP EMXCN-UH*
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS