ทช.เร่งก่อสร้างถนนสาย ชบ.3023 จ.ชลบุรี ล่าสุดคืบหน้า 17% คาดเสร็จปลายปี 68

กรมทางหลวงชนบท เพิ่มศักยภาพโครงข่ายระบบ Logistics ให้สมบูรณ์ ก่อสร้างถนนสาย ชบ.3023 จ.ชลบุรี คืบหน้า 17% ยกระดับมาตรฐานการคมนาคม รองรับเศรษฐกิจและการขยายตัวของเมืองในอนาคต

นายอภิรัฐ ไชยวงศ์น้อย อธิบดีกรมทางหลวงชนบท เปิดเผยว่า กรมทางหลวงชนบท (ทช.) ดำเนินโครงการก่อสร้างถนนทางหลวงชนบทสาย ชบ.3023 แยก ทล.315 – บ้านหนองปลาไหล อำเภอพานทอง, บ้านบึง จังหวัดชลบุรี เชื่อมต่อการเดินทางสู่จุดหมายสำคัญอย่างสะดวกรวดเร็ว ส่งเสริมศักยภาพโครงข่ายโลจิสติกส์ให้สมบูรณ์อย่างเป็นระบบ ลดปัญหาการจราจรติดขัด รองรับการขยายตัวของเมืองและเศรษฐกิจในอนาคต ปัจจุบันมีความคืบหน้าไปแล้วกว่าร้อยละ 17 ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จในช่วงปลายปี 2568

ถนนทางหลวงชนบทสาย ชบ.3023 แยก ทล.315 – บ้านหนองปลาไหล อำเภอพานทอง, บ้านบึง จังหวัดชลบุรี เป็นเส้นทางหลักที่ประชาชนใช้สัญจรจากอำเภอบ้านบึงไปยังอำเภอพานทอง และยังเป็นเส้นทางที่เชื่อมสู่ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ผ่าน ทล.315 และเชื่อมโยงระหว่างนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่ ซึ่งถนนในพื้นที่ส่วนใหญ่ มีขนาด 2 ช่องจราจร บางช่วงมีลักษณะเป็นคอขวด ส่งผลให้การจราจรติดขัดสะสมในช่วงเวลาเร่งด่วน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการแก้ปัญหาการจราจรติดขัดบริเวณคอขวด และรองรับปริมาณการจราจรที่จะมีเพิ่มมากขึ้นในอนาคต พร้อมสนับสนุนโครงข่ายคมนาคมและเศรษฐกิจการขนส่งภาคอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน ทช. จึงได้ดำเนินโครงการดังกล่าว ก่อสร้างเป็นถนนผิวจราจรคอนกรีตเสริมเหล็ก ช่วง กม.ที่ 0+000 ถึง กม.ที่ 9+200 และปรับปรุงถนนผิวจราจรแอสฟัลต์คอนกรีต ช่วง กม.ที่ 9+200 ถึง กม.ที่ 12+242 ขนาด 4 ช่องจราจร กว้างช่องจราจรละ 3.25 - 3.50 เมตร ไหล่ทางกว้างข้างละ 2.00 - 3.00 เมตร พร้อมก่อสร้างสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กข้ามคลอง 3 แห่ง ขยายความกว้างสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก 1 แห่ง ก่อสร้างสะพานลอยคนข้าม ทางเท้า ศาลาที่พักผู้โดยสาร ระบบระบายน้ำ ไฟฟ้าแสงสว่าง และอุปกรณ์อำนวยความปลอดภัย รวมระยะทาง 12.242 กิโลเมตร โดยใช้งบประมาณในการก่อสร้างรวม 879.800 ล้านบาท

ทช. ยังได้คำนึงถึงความต้องการและประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนให้มากที่สุด ได้จัดประชุมการมีส่วนร่วมภาคประชาชน และลงนามบันทึกความร่วมมือ 3 ฝ่าย (MOU) ระหว่าง ทช. ผู้รับจ้าง และผู้แทนประชาชน ก่อนเริ่มดำเนินโครงการและระหว่างการก่อสร้าง โดยมีการนำเสนอความเป็นมา ลักษณะของโครงการ ขั้นตอนการดำเนินงาน และรายงานผลการดำเนินงาน พร้อมทั้งได้มีการตอบข้อซักถาม รับฟังข้อเสนอแนะ ความคิดเห็นจากผู้นำชุมชน ประชาชน หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาปรับใช้ในการก่อสร้างและพัฒนาให้สอดรับกับวิถีชุมชนให้มากที่สุด


COMMENTS

{{ errors.name }}

{{ errors.value }}

{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}

RELATED TOPICS

Please wait a moment