CardX จัดมหกรรมเจรจาประนอมหนี้ พร้อมเผย 4 ทิป จัดการหนี้บัตรเครดิตอย่างยั่งยืน

คาร์ดเอกซ์ (CardX) จัดมหกรรมเจรจาประนอมหนี้ขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้ลูกค้าได้เจรจาพูดคุยเพื่อหาแนวทางการประนอมหนี้ด้วยความพึงพอใจร่วมกัน ตามแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้และการให้ความช่วยเหลือแก่ลูกหนี้ของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยมีลูกค้ามากกว่าร้อยละ 53 สามารถตกลงเจรจาประนอมหนี้ได้สำเร็จ พร้อมเผย 4 ทิป จัดการหนี้อย่างมีประสิทธิภาพที่ทุกคนสามารถทำได้ โดยคาร์ด เอกซ์ มีความมุ่งมั่นที่จะช่วยส่งเสริมความรู้ด้านหนี้ครัวเรือน เพื่อผลักดันความเป็นไปได้ทางการเงินที่ยั่งยืนให้กับลูกค้าทุกคน

นายสารัชต์ รัตนาภรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท คาร์ด เอกซ์ จำกัด (CardX) เปิดเผยว่า คาร์ดเอกซ์ ได้จัดมหกรรมเจรจาประนอมหนี้ขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้ลูกค้าได้พูดคุยเจรจาเพื่อร่วมหาแนวทางการประนอมหนี้ด้วยความพึงพอใจร่วมกัน และทำข้อตกลงชำระหนี้ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการแต่อย่างใด ตามแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้และการให้ความช่วยเหลือแก่ลูกหนี้ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) โดยคาร์ด เอกซ์ สนับสนุนเกณฑ์การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending) พร้อมทั้งมีการนำเสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการทางการเงินที่เหมาะสมและสอดคล้องกับลูกค้าแต่ละราย เพื่อสร้างความเป็นไปได้ทางการเงินอย่างรับผิดชอบ โดยผู้เข้าร่วมมหกรรมเจรจาประนอมหนี้ จะได้รับข้อเสนอพิเศษในการผ่อนชำระ เพื่อช่วยลดภาระทางการเงินและเป็นไปตามความสามารถของลูกหนี้อย่างลงตัวที่สุด

โดยมหกรรมเจรจาประนอมหนี้ ที่จัดขึ้นโดย คาร์ด เอกซ์ ในครั้งนี้ ได้รับผลตอบรับเป็นอย่างดี ซึ่งจากการจัดกิจกรรมครั้งนี้ มีลูกค้ามากกว่าร้อยละ 53 ที่สามารถเจรจาประนอมหนี้ได้สำเร็จ และบางส่วนยังอยู่ระหว่างหาข้อสรุป และตรวจสอบเอกสาร ทั้งนี้ คาดว่าสัดส่วนที่ทั้งสองฝ่ายจะสามารถไกล่เกลี่ยได้มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ ภายในงานมหกรรมเจรจาประนอมหนี้ยังมีข้อเสนอสำหรับลูกหนี้ครอบคลุมทุกกลุ่มสถานะ ทั้งกลุ่มหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลที่เป็นหนี้เสียและมีความฝืดเคืองทางการเงิน กลุ่มที่ยังไม่ถูกดำเนินการทางกฎหมาย รวมถึงกลุ่มหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลที่คดีมีคำพิพากษาไปแล้ว

นอกเหนือจากการพิจารณารายรับและความเสี่ยงด้านเครดิตของลูกค้า คาร์ด เอกซ์ ยังมีกระบวนการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อส่วนบุคคลที่คำนึงถึงภาระหนี้ต่อรายได้ (Debt Service Ratio: DSR) ควบคู่ไปกับการพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้ (Affordability) และค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพ (Living Expense) เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการทางการเงินที่เหมาะสมและไม่กระทบต่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของลูกค้าแต่ละราย พร้อมทั้งสร้างความเป็นไปได้ทางการเงินอย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม


COMMENTS

{{ errors.name }}

{{ errors.value }}

{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}

RELATED TOPICS

Please wait a moment