{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2490 เยาวหราล เนห์รู นายกรัฐมนตรีคนแรกของอินเดีย ได้กล่าวปราศรัยในวันประกาศอิสรภาพของอินเดีย ณ บริเวณเชิงเทินป้อมแดง (Red Fort) ในกรุง เดลี
จากนั้นในวันที่ 15 สิงหาคมของทุกปี ถูกกำหนดให้เป็นวันประกาศเอกราชอินเดีย (India's Independence Day) ซึ่งผู้นำอินเดียจะกล่าวสุนทรพจน์และร่วมเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ เพื่อรำลึกถึงวันสำคัญในประวัติศาสตร์ที่อินเดียประกาศเอกราชจากอังกฤษ
นับตั้งแต่ปี 2401 อินเดียตกอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ ซึ่งใช้นโยบาย “แบ่งแยกและปกครอง” สนับสนุนให้ชาวอินเดียที่นับถือศาสนาอิสลามจัดตั้งสันนิบาตมุสลิม (Muslim League) ไว้คานอำนาจกับพรรคคองเกรสของชาวฮินดู เพื่อให้พลังชาวอินเดียอ่อนลง
ในปี 2473 มหาตมะ คานธี มีบทบาทนำชาวอินเดียประท้วง เพื่อยกเลิกกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม หลังจากนั้นได้เกิดการเดินขบวนครั้งใหญ่ เรียกร้องให้อังกฤษปลดปล่อยอินเดียในปี 2485
ต่อมาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลพรรคแรงงานของอังกฤษ มีนโยบายให้เอกราชแก่อินเดีย การเจรจาครั้งนั้นประสบความสำเร็จและอินเดียได้รับเอกราช เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2490
อินเดียเป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียที่มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาที่มีประชากรมากที่สุดในโลก และสามารถจัดการเลือกตั้งครั้งใหญ่ทั่วประเทศมาได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ รูปแบบการเรียกร้องเอกราชที่นำโดย มหาตมะ คานธี ยังเป็นต้นแบบการต่อสู้อย่างสันติ เพื่อสิทธิและเสรีภาพในสังคมประชาธิปไตยอีกด้วย
มหาตมะ คานธี ได้ใช้หลักอหิงสา ประท้วงรัฐบาลอังกฤษด้วยวิธีตั้งใจอันเด็ดเดี่ยวมั่นคง และยืนหยัดอยู่กับความจริงและความถูกต้อง หรือที่เรียกว่า สัตยเคราะห์ รวมทั้งยังเป็นผู้นำการเรียกร้องให้ชาวอินเดียสร้างความสามัคคีภายในชาติ เจตนารมณ์การต่อสู้โดยสันติวิธีกับเจ้าอาณานิคม ทำให้อินเดียสามารถปลดแอกประเทศที่ตกอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ รวม 89 ปี ได้สำเร็จ
หลังได้รับเอกราช อินเดียยังคงใช้ระบบการเมืองตามแบบอังกฤษ โดยได้จัดให้มีการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีคนแรก คือ เยาวหราล เนห์รู และมีรัฐธรรมนูญที่ร่างโดย ดร.อัมเบดการ์ ประกาศใช้ครั้งแรกเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2493 ที่รัฐบาลอินเดียกำหนดให้วันดังกล่าวเป็นวันชาติ ภายหลังจากการสถาปนาสาธารณรัฐอินเดีย (Republic Day of India) ได้สมบูรณ์
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS