เกียรติธนา ขนส่ง ส่งเสริมการใช้ eTruck ลดการปล่อยคาร์บอน

บริษัท เกียรติธนา ขนส่ง จำกัด (มหาชน) หรือ KIAT ศึกษาความเป็นไปได้ในการนำรถบรรทุก eTruck ให้บริการลูกค้าในอนาคต อสนับสนุนภาคธุรกิจในการลดการปล่อยคาร์บอน

นายเมฆ มนต์เสรีนุสรณ์ รองกรรมการผู้จัดการด้านการตลาดและพัฒนาธุรกิจ บริษัท เกียรติธนา ขนส่ง จำกัด (มหาชน) หรือ KIAT เปิดเผยว่า บริษัทได้ศึกษาความเป็นไปได้ในการนำรถบรรทุก eTruck ให้บริการลูกค้าในอนาคต ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (บอร์ดอีวี) ที่ออกมาตรการส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่ ทั้งรถโดยสารไฟฟ้า (E-Bus) และรถบรรทุกไฟฟ้า (E-Truck) เพื่อสนับสนุนภาคธุรกิจในการลดการปล่อยคาร์บอน ช่วยให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน รวมถึงช่วยสร้างฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ในประเทศ

ทั้งนี้นโยบายดังกล่าวถือเป็นนโยบายที่ดีที่จะสนับสนุนให้ภาคขนส่งเข้าถึงโอกาสการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่ง่ายขึ้น และถือเป็นนโยบายที่มาถูกทางแล้วเพราะสอดคล้องกับความต้องการของกระแสโลกและแนวทางการดำเนินธุรกิจที่จะถูกกำหนดมาตรฐานการปล่อยคาร์บอนของการดำเนินธุรกิจทั่วโลก

ภายใต้นโยบายของบอร์ดอีวี บริษัทหรือนิติบุคคลที่เข้าร่วมโครงการซื้อรถโดยสารหรือรถบรรทุกไฟฟ้ามาใช้งานโดยไม่มีกำหนดเพดานราคาขั้นสูง โดยกรณีซื้อรถที่ผลิต/ประกอบในประเทศ สามารถนำมาหักค่าใช้จ่าย ได้ 2 เท่า และในกรณีนำเข้ารถสำเร็จรูปจากต่างประเทศ สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 1.5 เท่า โดยมาตรการนี้จะมี ผลใช้บังคับจนถึงสิ้นปี 2568

การออกมาตรการสนับสนุนการใช้รถโดยสารไฟฟ้าและรถบรรทุกไฟฟ้าครั้งนี้ ถือเป็นการต่อยอดจากมาตรการ EV3 และ EV3.5 ที่เน้นกลุ่มรถยนต์นั่ง รถจักรยานยนต์และรถกระบะเป็นหลัก ซึ่งบอร์ดอีวีคาดว่าการสนับสนุนการใช้รถไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ครั้งนี้ จะนำไปสู่การปรับเปลี่ยนรถยนต์เชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่ไปสู่ยานยนต์ไฟฟ้าไม่ต่ำกว่า 10,000 คัน ซึ่งจะมีส่วนผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางอีวีของภูมิภาคในรถยนต์ทุกประเภท

อย่างไรก็ตาม นายเมฆ กล่าวว่าอุปสรรคสำคัญของการใช้รถบรรทุกไฟฟ้าคือข้อจำกัดของการชาร์จไฟ ซึ่งภาคขนส่งจะต้องมีระยะการวิ่งต่อวันประมาณ 400 – 500 กิโลเมตรต่อวัน และในทางปฏิบัติ การใช้รถมากกว่า 70% ของจำนวนรถที่วิ่งให้บริการ เป็นการวิ่งในช่วงเวลากลางวัน และจอดในช่วงเวลากลางคืน ซึ่งหากมีการใช้รถไฟฟ้าในเชิงพาณิชย์แล้ว จะทำให้เกิดคอขวดของระบบการชาร์จไฟ อีกทั้งในปัจจุบัน ภาคการผลิตภัณฑ์ ปิโตรเลี่ยม เช่นโรงกลั่นและปิโตรเคมี ยังไม่อนุญาตให้ยานยนต์ไฟฟ้าเข้าพื้นที่ของโรงงานเหล่านี้ เนื่องจากมาตรการรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวดของโรงงานเหล่านี้


COMMENTS

{{ errors.name }}

{{ errors.value }}

{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}

RELATED TOPICS

Please wait a moment