{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
คลังรายงานสถานการณ์เศรษฐกิจไทยในเดือนธันวาคม 2566 มีสัญญาณชะลอตัวจากการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน รวมถึง ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม อย่างไรก็ดี ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของภาคการท่องเที่ยว และการส่งออกสินค้าที่ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ทั้งนี้ ยังคงต้องติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตของไทย อย่างใกล้ชิดต่อไป
นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนธันวาคม 2566 ว่า “สถานการณ์เศรษฐกิจไทยในเดือนธันวาคม 2566 มีสัญญาณชะลอตัวจากการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน รวมถึง ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม อย่างไรก็ดี ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของภาคการท่องเที่ยว และการส่งออกสินค้า
ที่ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ทั้งนี้ ยังคงต้องติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตของไทยอย่างใกล้ชิดต่อไป” โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน มีสัญญาณปรับตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า: โดยการบริโภค
ในหมวดสินค้าคงทน สะท้อนจากปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ในเดือนธันวาคม 2566 ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ -7.0 และลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลที่ร้อยละ -4.9 ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ ในเดือนธันวาคม 2566 ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ -1.4 รายได้เกษตรกรที่แท้จริง ในเดือนธันวาคม 2566 ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ -1.2 อย่างไรก็ดี ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ในเดือนธันวาคม 2566 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 62.0 จากระดับ 60.9 ในเดือนก่อน ซึ่งเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 และสูงสุดในรอบ 46 เดือน สะท้อนความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง
เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน มีสัญญาณปรับตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า: โดยการลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากปริมาณนำเข้าสินค้าทุน ในเดือนธันวาคม 2566 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกัน ปีก่อนที่ร้อยละ 1.7 แต่ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลที่ร้อยละ -22.3 สำหรับการลงทุนในหมวด
การก่อสร้าง สะท้อนจากปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศ ในเดือนธันวาคม 2566 ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ -4.4 และลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลที่ร้อยละ -2.8 ขณะที่ภาษีธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ -41.2
มูลค่าการส่งออกสินค้าขยายตัวต่อเนื่องจากช่วงเดียวกันปีก่อน: โดยมูลค่าการส่งออกสินค้ารวมในรูปเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ ในเดือนธันวาคม 2566 อยู่ที่ 22,791.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ 4.7 และ หากพิจารณาเฉพาะมูลค่าการส่งออกสินค้าที่ไม่รวมน้ำมันและสินค้าที่เกี่ยวเนื่อง ทองคำ และยุทธปัจจัย พบว่า เพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 2.1 ซึ่งเป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการขยายตัวของสินค้าในหมวดเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) และรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ โดยขยายตัวร้อยละ 25.3 6.8 และ 4.3 ตามลำดับ นอกจากนี้ สินค้าน้ำตาลทราย ข้าว ผักสด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง และสิ่งปรุงรสอาหาร ขยายตัวร้อยละ 43.2 27.4 19.0 และ 16.2 ตามลำดับ อย่างไรก็ดี การส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ และเคมีภัณฑ์ ชะลอตัว ทั้งนี้ เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกสินค้า โดยจำแนกเป็นรายตลาดคู่ค้าหลักของไทย พบว่า ปรับตัวดีขึ้นในตลาดอาเซียน-5 ทวีปออสเตรเลีย และจีน ที่ขยายตัวร้อยละ 18.0 5.4 และ 2.0 ตามลำดับ รวมทั้งกลุ่มตลาดอื่น ๆ ที่ขยายตัวได้ดี อาทิ กลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช(Commonwealth of Independent States: CIS) และลาตินอเมริกา ที่ขยายตัวร้อยละ 50.4 และ 14.4 ตามลำดับ อย่างไรก็ดี ตลาดยูโรโซน และญี่ปุ่น ลดลง
เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยด้านอุปทาน สำหรับภาคบริการมีสัญญาณปรับตัวดีขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน:
โดยภาคบริการด้านการท่องเที่ยว ในเดือนธันวาคม 2566 มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทยรวม จำนวน 3.26 ล้านคน คิดเป็นอัตราการขยายตัวต่อเนื่องจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ 45.5 โดยส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวจากมาเลเซีย จีน รัสเซีย เกาหลีใต้ และอินเดีย ตามลำดับ ขณะที่ภาคการเกษตร สะท้อนจากดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรม ในเดือนธันวาคม 2566 ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ -2.4 และลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลที่ร้อยละ -0.5 จากการลดลงของผลผลิตในหมวดพืชผลสำคัญ อาทิ ข้าว มันสำปะหลัง และหมวดไม้ผล อย่างไรก็ดี ผลผลิตในหมวดปศุสัตว์ อาทิ สุกรและไก่ขยายตัว สำหรับภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจาก ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม ในเดือนธันวาคม 2566 ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 88.8 จากระดับ 90.9 ในเดือนก่อนหน้า เนื่องจากได้รับปัจจัยเสี่ยงจากภาคการผลิตที่ชะลอลงตามกำลังซื้อของประชาชนที่ยังฟื้นตัวไม่เต็มที
เสถียรภาพเศรษฐกิจยังอยู่ในเกณฑ์ดี: สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนธันวาคม 2566 อยู่ที่ร้อยละ -0.83 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 0.58 ส่วนสัดส่วนหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2566 อยู่ที่ร้อยละ 61.9 ต่อ GDP ซึ่งยังอยู่ภายใต้กรอบวินัยการเงินการคลังที่ตั้งไว้ตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 สำหรับเสถียรภาพภายนอกยังอยู่ในระดับที่มั่นคง และสามารถรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้ สะท้อนจาก ทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2566 อยู่ในระดับสูงที่ 224.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS