{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
ที่ผ่านมาไทยพัฒนาอุตสาหกรรมรถยนต์สันดาปภายใน (ICE) เป็นหลัก แต่ Disruptive Technology อย่างรถยนต์ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า และการหนุนของภาครัฐที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนผ่านสู่เทคโนโลยีดังกล่าว ได้ทำให้ค่ายรถหันพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้แบตเตอรี่ล้วน (BEV) กับ รถยนต์ใช้น้ำมันร่วมกับระบบไฟฟ้า (HEV&PHEV) ในไทยมากขึ้น ซึ่งระยะยาวน่าจะกระทบกับการผลิตรถยนต์ใช้น้ำมันและชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องในไทยอย่างไม่อาจเลี่ยง
ปัจจุบันยอดขายรถยนต์ BEV และ HEV&PHEV มีทิศทางปรับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยในปี 2567 ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าจะมีส่วนแบ่งในตลาดรถยนต์รวมเพิ่มขึ้นไปสู่ 15% และ 16% ตามลำดับ ขณะที่หากพิจารณาเฉพาะกลุ่มรถยนต์นั่งยิ่งพบส่วนแบ่งที่สูงขึ้นถึงระดับ 28% และ 31% ตามลำดับ ส่วนรถปิกอัพแม้จะมีประเด็นเรื่องเทคโนโลยีและต้นทุน แต่ก็คาดว่าน่าจะเริ่มได้เห็นความก้าวหน้าที่ชัดเจนตั้งแต่ช่วงปีนี้เป็นต้นไป พอหันมาพิจารณาตลาดส่งออกหลักของไทย ก็พบว่าหลายตลาดนำเข้ารถยนต์ BEV และ HEV&PHEV ในสัดส่วนที่สูงขึ้นเช่นกัน โดยสูงกว่าค่าเฉลี่ยโลกซึ่งอยู่ที่ 15% ของการนำเข้ารถยนต์รวมทุกประเภท จึงเป็นโอกาสให้ไทยผลิตรถยนต์ BEV และ HEV&PHEV เพื่อส่งออกไปยังตลาดเหล่านี้ได้เพิ่มขึ้น เริ่มจากรถยนต์นั่งตามตลาดในประเทศ และพัฒนาสู่ปิกอัพต่อไปในอนาคต อาศัยจุดแข็งที่เป็นฐานผลิตปิกอัพเพื่อส่งออกระดับโลกอยู่เดิม
ในระยะยาว รถยนต์ BEV มีโอกาสเติบโตสูงขึ้นอีกมาก และน่าจะทำให้การผลิตรถยนต์ใช้น้ำมัน ซึ่งรวมถึง HEV&PHEV ด้วย มีแนวโน้มหดตัวลง โดยในปี 2573 คาดว่าอาจเหลือส่วนแบ่งเพียง 72% ลดลงจากที่คาดว่าจะมีส่วนแบ่ง 96% ในปี 2567 นี้ ซึ่งก็จะกระทบต่อไปยังมูลค่าชิ้นส่วนที่ใช้เฉพาะกับรถยนต์ใช้น้ำมันที่จะหดตัวด้วยอัตราเฉลี่ยที่ 1.7% ต่อปี จากในปี 2567 ที่ 287,700 ล้านบาท มาอยู่ที่ 252,060 ล้านบาทในปี 2573
อ่านบทวิเคราะห์ฉบับเต็มได้ที่ https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-social-media/Pages/Bev-CIS3448-FB-12-01-2024.aspx
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS