{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
ก.ล.ต. นับหนึ่งไฟลิ่ง “เอเชียนน้ำมันปาล์ม” หรือ APO เตรียมขายไอพีโอ 100 ล้านหุ้น เข้าตลาดหลักทรัพย์ mai เสริมศักยภาพการเงิน เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ต่อยอดการเติบโต
นายสมศักดิ์ ศิริชัยนฤมิตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ จำกัด หรือ APM ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน บริษัท เอเชียนน้ำมันปาล์ม จำกัด (มหาชน) หรือ APO เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เริ่มนับหนึ่งแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ หรือ ไฟลิ่ง เพื่อเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนครั้งแรกต่อประชาชน (IPO) ของ APO เมื่อวันที่ 22 พ.ย. 2566 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
นายสุริยา ธรรมธีระ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ จำกัด หรือ APM ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน กล่าวเสริมว่า ปัจจุบัน APO มีทุนจดทะเบียนชำระแล้ว 120 ล้านบาท เตรียมเพิ่มทุนอีก 50 ล้านบาท มูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) หุ้นละ 0.50 บาท รวมเป็นทุนจดทะเบียนหลัง IPO ที่ 170 ล้านบาท เสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวน 100 ล้านหุ้น สัดส่วนหุ้นที่เสนอขายคิดเป็น 29.41% ของจำนวนหุ้นสามัญทั้งหมดที่ออกและจำหน่ายแล้วของบริษัท ภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญในครั้งนี้ และจะนำหุ้นสามัญทั้งหมดเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ mai ในหมวดธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร
นายสิทธิภาส อุดมผลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอเชียนน้ำมันปาล์ม จำกัด (มหาชน) หรือ APO เปิดเผยว่า การเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ถือเป็นก้าวสำคัญของบริษัท ในการเสริมสร้างศักยภาพทางการเงิน ความสามารถในการแข่งขัน เพิ่มโอกาสต่อยอดธุรกิจให้เติบโตอย่างมั่นคง นอกจากนี้ยังได้รับความน่าเชื่อถือจากลูกค้า คู่ค้า และสถาบันการเงินมากยิ่งขึ้น สร้างความยั่งยืนให้กับองค์กรในระยะยาว
ทั้งนี้ APO เป็นผู้เชี่ยวชาญในธุรกิจสกัดน้ำมันปาล์มดิบ จำหน่ายผลิตภัณฑ์หลักจากการสกัดน้ำมันปาล์มดิบและผลพลอยได้ รวมถึงผลิตพลังงานไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพเพื่อจำหน่ายให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ด้วยประสบการณ์ร่วม 40 ปี บริษัทมีความมุ่งมั่นที่จะสร้างธุรกิจจากผลิตภัณฑ์การเกษตรแบบบูรณาการและยั่งยืน เพื่อการส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพในราคาที่เหมาะสม ภายใต้การจัดหาวัตถุดิบและกระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ ดำเนินธุรกิจให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลและนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี ให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย ตั้งแต่ผู้ถือหุ้น กรรมการ ผู้บริหารและพนักงาน ตลอดจนคู่ค้า ลูกค้า คู่แข่ง รวมไปถึงการมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะชุมชนในท้องถิ่น
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS