{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
Amazing AEC กับเกษมสันต์
บทความเดลินิวส์ ฉบับวันอาทิตย์ที่ 10 พฤศจิกายน 2562
ตอน RCEP อาเซียนบวก 6 และอินเดีย
การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 35 เพิ่งจะสิ้นสุดลงไป มีหลายเรื่องที่ผมอยากจะบันทึกเอาไว้เป็นเกร็ดให้อ่านกัน
เรื่องแรกคงต้องเป็นการชมเชยรัฐบาลและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพราะสามารถจัดการประชุมได้ดีเยี่ยม ยิ่งใหญ่และเรียบร้อย ส่วนการประชาสัมพันธ์ก็ออกมาเข้มแข็งดี ข่าวสารออกมาสม่ำเสมอในทุกๆด้าน ขอมอบดอกไม้ให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
มีคำใหม่ๆ ที่เราได้ยินกันแทบทุกวันในช่วงการประชุม RCEP หรือ The Regional Comprehensive Economic Partnership เพราะเป็นเป้าหมายหลักอันหนึ่งซึ่งไทยในฐานะประธานอาเซียนหวังจะทำให้มีการลงนามระหว่างอาเซียน 10 ประเทศกับคู่ค้า 6 ประเทศที่เราค้าขายลงทุนกันอย่างใกล้ชิดได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์และอินเดีย ซึ่งผมชอบเรียกว่า อาเซียนบวก 6 มากกว่า เพราะเห็นภาพชัดว่าเป็นอาเซียนกับอีก 6 ประเทศ ให้ภาพชัดเจนมากกว่า RCEP เยอะ
RCEP หรืออาเซียนบวก 6 นี่ไม่เฉพาะคนไทยหรือสื่อมวลชนไทยจะสนใจเท่านั้น แต่โลกก็สนใจด้วยเพราะเมื่อรวมกัน 16 ประเทศกันได้จริง RCEP ก็จะเป็นข้อตกลงการค้าการลงทุนที่ใหญ่ที่สุดในโลก ขนาด GDP ราว 900 ล้านล้านบาทและมีคนรวมกันเกือบๆครึ่งโลกหรือราวสามพันกว่าล้านคน และอย่างที่ผมเขียนมาโดยตลอดก็คือ สาเหตุที่ต่างชาติสนใจจะมาลงทุนในไทยหรือในอาเซียนนี่ไม่ใช่เพราะเราเป็นอาเซียน แต่เพราะเขารู้ว่าอาเซียนมีเพื่อนที่มีขนาดตลาดและมีกำลังซื้อที่ใหญ่มหาศาลทั้ง 6 ประเทศนี่เอง โดย เฉพาะจีนกับอินเดีย ซึ่งเมื่อถึงปีพ.ศ. 2593 ทั้งสองประเทศจะมีกำลังซื้อใหญ่เป็นเบอร์ 1 และเบอร์ 2 ของโลก เบียดให้สหรัฐซึ่งปัจจุบันอยู่อันดับ 2 ให้ร่วงลงไปอันดับ 3
ที่น่าอะเมซิ่งก็คืออินโดนีเซีย เพื่อนอาเซียนของเราที่กำลังซื้อจะเติบโตแซงหลายประเทศจากอันดับที่ 8 ในปัจจุบันขึ้นไปอยู่อันดับที่ 4 ในปีเดียวกัน ส่วนญี่ปุ่นซึ่งปัจจุบันมีกำลังซื้อใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลกจะตกลงไปอยู่อันดับ 8 ทำให้ใน 10 อันดับแรกของประเทศที่มีกำลังซื้อใหญ่ที่สุดในโลกนั้นมีประเทศจากอาเซียนบวก 6 อยู่ถึง 5 ประเทศเลยทีเดียว
แต่แล้วรัฐบาลไทยก็ต้องผิดหวังเพราะปรากฏว่าอินเดียไม่ยอมลงนาม RCEP เพราะนายกฯนเรนทรา โมดี ต้องการได้ความชัดเจนเรื่องผลประโยชน์ของอินเดีย ว่าตกลงเขาได้หรือเสียมากกว่ากัน เพราะการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจนั้นส่วนมากจะพูดกันถึงเรื่องการเปิดเสรีทางการค้าการลงทุนการเงิน ซึ่งเมื่อเปิดเสรีให้แข่งขันกัน คนเก่งกว่าก็ย่อมจะได้เปรียบคนไม่เก่ง อินเดียจึงยังไม่ค่อยมั่นใจว่าการเปิดเสรีในบางด้านจะดีกับประเทศและคนของเขาจริง
แถมก่อนเดินทางมาประชุมที่เมืองไทย ชาวนาอินเดียในหลายรัฐก็ออกมาเดินขบวนประท้วงโมดี เพราะกลัวว่าการเปิดตลาดสินค้าเกษตรจะกระทบกับชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเขา ทำให้โมดีมีข้ออ้างที่มีน้ำหนักมากยิ่งขึ้นที่จะไม่ลงนาม เรื่องนี้ผมมองว่าเป็นเทคนิคการเมืองระหว่างประเทศที่น่าสนใจ เพราะมีหลายกรณีที่รัฐบาลพูดเองไม่ได้ค้านเองไม่ได้ รัฐบาลก็จะใช้วิธีก็สะกิดประชาชนให้ออกมาประท้วง รัฐบาลจะได้ใช้เป็นข้ออ้างกับประเทศคู่เจรจาในการดึงเวลาออกไปอีก
ทุกเช้าวันจันทร์เวลา 07.00-07.30. น. ในรายการ Good Morning ASEAN ทางสถานีวิทยุ FM 100.5. และ 53 เครือข่ายอสมท.ทั่วประเทศซึ่งผมมีช่วงแสดงความเห็นเป็นประจำอยู่ และในเช้าวันจันทร์ที่ 4 พฤศจิกายนผมยังบอกว่าอินเดียยังลังเลที่จะลงนามเพราะสองเหตุผลดังกล่าว สุดท้ายจาก Mr.AEC ผมก็เลยกลายเป็นหมอดูแม่นๆไปเสียแล้ว
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS