IMF พบ บสย. ชื่นชมโมเดลค้ำ PGS 10 เพิ่มโอกาสช่วย SMEs

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund: IMF) เข้าพบ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ร่วมหารือประเด็นภาพรวมเศรษฐกิจและการช่วยSMEs พ้นวิกฤต เผย IMF ชื่นชมโมเดลค้ำประกันสินเชื่อ บสย. ที่ช่วย SMEs ให้สามารถเข้าถึงแหล่งทุน

นายสิทธิกร ดิเรกสุนทร กรรมการและผู้จัดการ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) พร้อมด้วย นายกิตติพงษ์ บุรณศิริ รองผู้จัดการทั่วไป สายงานกลยุทธ์และผลิตภัณฑ์ ร่วมต้อนรับ คณะผู้แทน กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund: IMF) นำโดย Ms. Corinne Delechat, Division Chief, Asia and Pacific Department, Mr. Ara Stepanyan, Senior Economist, Mr. Mouhamadou Sy, Economist, Mr. Melih Firat, Economist, Mr. Emmanouil (Manos) Kitsios, Senior Economist, and Mr. Muhammad Shamil Akbar, Economist ในโอกาสที่ IMF ขอเข้าหารือ บสย. และหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ในระหว่างวันที่ 24 ตุลาคม ถึงวันที่ 7 พฤศจิกายน 2566 เพื่อทบทวนภาวะเศรษฐกิจของไทยประจำปี 2566 ตามพันธะข้อตกลงของ IMF (Article IV Consultation) ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ เพื่อนำไปสรุปภาพรวมและแนวทางในการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ณ บสย. สำนักงานใหญ่ ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2566

ในโอกาสนี้ บสย. ได้บรรยายสรุปการดำเนินงาน การให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19 ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนและสินเชื่อ โดยผ่านโครงการค้ำประกันสินเชื่อ รวมทั้งแผนการรับประกันสินเชื่อรูปแบบใหม่เพื่อรองรับ SMEs การปรับรูปแบบการค้ำประกันสินเชื่อ เพื่อให้สอดคล้องและรองรับกับSMEs การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจากการสนับสนุนธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และกลุ่มธุรกิจที่ได้รับประโยชน์มากที่สุดจากโครงการค้ำประกันสินเชื่อต่างๆ ของ บสย.

โดยประเด็นที่ IMF ให้ความสนใจเป็นพิเศษ ในฐานะที่ บสย. เป็นหน่วยงานรัฐและเป็นกลไกการสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งทุนและสินเชื่อในระบบ ที่ช่วยพลิกฟื้นเศรษฐกิจผ่านผู้ประกอบการ SMEs ให้สามารถเข้าถึงสินเชื่อได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดำเนินโครงการค้ำประกันสินเชื่อ บสย. SMEs เข้มแข็ง (PGS 10) ที่ตอบโจทย์การพลิกฟื้นเศรษฐกิจที่มีความเชื่อมโยงกับการสนับสนุน SMEs ต่อยอดธุรกิจ อีกทั้งยังตอบโจทย์การเข้าถึงแหล่งทุนได้ตรงกับความต้องการ SMEs ทุกกลุ่ม ทั้งนิติบุคคล บุคคลธรรมดา กลุ่ม Start up และกลุ่มที่กำลังพัฒนาสู่ธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อม หรือ Green Business

ทั้งนี้ IMF ได้กล่าวชื่นชมการดำเนินโครงการตามมาตรการของรัฐบาล โดยได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ค้ำประกันสินเชื่อแนวใหม่ ในลักษณะที่เป็น Product Segmentation สำหรับการดำเนินโครงการค้ำประกันสินเชื่อ บสย. SMEs เข้มแข็ง (PGS 10) ที่ครอบคลุมความต้องการทุกกลุ่มที่ช่วย SMEs ให้เข้าถึงสินเชื่อได้เป็นจำนวนมาก เช่น ผลิตภัณฑ์ค้ำประกันสินเชื่อ Small Biz เพื่อรายย่อย โดย IMF ยังเห็นว่าควรมีการพัฒนาโปรแกรมการช่วยเหลือเช่นนี้อีก เพื่อให้การช่วยเหลือมีความต่อเนื่องในฐานะที่เป็นหน่วยงานของรัฐ ที่มุ่งส่งเสริมสนับสนุนการสร้างความแข็งแกร่งให้ SMEs เพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยต่อไป


COMMENTS

{{ errors.name }}

{{ errors.value }}

{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}

RELATED TOPICS

Please wait a moment