{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
“พิมพ์ภัทรา” สั่ง กนอ. ติดตามสถานการณ์น้ำใกล้ชิด “วีริศ”รับนโยบาย วางแผนรับมือน้ำแล้งอีอีซีแล้ว lj;oนิคมฯ พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมมั่นใจรอดแน่
นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ขอให้ทุกหน่วยงานในกระทรวงอุตสาหกรรม ติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด โดยในส่วน กนอ. ให้ขอให้เตรียมมาตรการป้องกันทั้ง 2 สถานการณ์ เพื่อลดผลกระทบจากความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ประกอบการและประชาชนในพื้นที่ โดยเฉพาะสถานการณ์น้ำท่วมที่ปัจจุบันส่งผลกระทบไปแล้วหลายจังหวัด อาทิ ตาก สุโขทัย กาฬสินธุ์ ยโสธร อุบลราชธานี และปราจีนบุรี รวมทั้งขอให้กำชับไปยังนิคมอุตสาหกรรมทั้ง 68 แห่งทั่วประเทศ ให้ติดตามและเฝ้าระวังการเกิดน้ำท่วมฉับพลัน โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีความเสี่ยง เช่น นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน นิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า (ไฮเทค) และนิคมอุตสาหกรรมนครหลวง ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นพื้นที่ราบลุ่มต่ำและติดแม่น้ำเจ้าพระยา รวมถึงนิคมอุตสาหกรรมบางปู จังหวัดสมุทรปราการ หากเกิดน้ำทะเลหนุนร่วมกับปริมาณฝนในพื้นที่มาก ซึ่งอาจจะมีความเสี่ยงที่จะเกิดการระบายน้ำได้ช้า รวมทั้งยังอยู่ใกล้กับชุมชนอีกด้วย อย่างไรก็ตาม สำหรับสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่อีอีซีนั้น ได้รับรายงานว่า กนอ. มีมาตรการเตรียมรับมือเป็นที่เรียบร้อยแล้ว”นางสาวพิมพ์ภัทรา กล่าว
นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการ กนอ. กล่าวว่า กนอ. พร้อมดำเนินการตามนโยบายของ นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ทันที โดยความกังวลเรื่องสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมนั้น ขณะนี้ยังมีความเสี่ยงยังอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ เนื่องจากนิคมอุตสาหกรรมเกือบทุกแห่งมีเขื่อนกั้นน้ำและระบบสูบน้ำที่ดี มีการก่อสร้างเขื่อนและปรับปรุงระบบระบายน้ำในนิคมอุตสาหกรรมทุกแห่ง เพื่อป้องกันการเกิดน้ำท่วมซ้ำซาก และไม่ให้กระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ
นอกจากนี้ ได้สั่งการให้ทุกนิคมฯ เข้าช่วยเหลือชุมชนในการขุดลอกคูคลอง กำจัดวัชพืช เตรียมเครื่องสูบน้ำ และประสานงานกับหน่วยงานในท้องถิ่นด้วย อย่างไรก็ตาม ในส่วนของนิคมอุตสาหกรรมบางปู ที่คาดการณ์ว่าจะสร้างเขื่อนป้องกันน้ำท่วมแล้วเสร็จในปี 2567 นั้น ได้สั่งการให้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดหากมีฝนตกหนัก เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นจากการระบายน้ำไม่ทัน ขณะนี้ ได้สั่งการทุกนิคมอุตสาหกรรมให้ดำเนินการตามแนวทางการบริหารจัดการปัญหาน้ำท่วมในนิคมอุตสาหกรรมอย่างเคร่งครัด คือ 1.ติดตามสภาพอากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด 2.คาดการณ์ปริมาณฝนในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง 3.ตรวจสอบและซ่อมแซมบำรุงรักษาเครื่องสูบน้ำ รวมถึงเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรองที่มีอยู่ให้ใช้งานได้ 100 เปอร์เซ็นต์ 4.พร่องน้ำภายในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมฯ ให้อยู่ในระดับต่ำสุด เพื่อเป็นพื้นที่แก้มลิงรองรับน้ำ 5.ประสานจัดเตรียมเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่สำรองจากภายนอก ทั้งแบบใช้น้ำมันและแบบใช้ไฟฟ้า เข้ามาสนับสนุนทันทีที่มีการร้องขอ 6.สื่อสารให้ผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรม รวมทั้งผู้เกี่ยวข้อง ทราบถึงสถานการณ์ล่าสุดอย่างต่อเนื่อง 7.กำหนดให้ทุกนิคมอุตสาหกรรมซ้อมแผนฉุกเฉินรองรับอุทกภัยเป็นประจำ และ 8.กรณีที่มีความเสี่ยงว่าจะเกิดอุทกภัย ให้รีบรายงานผู้ว่าการ กนอ. และผู้บริหาร กนอ. ทราบอย่างต่อเนื่องจนกว่าสถานการณ์จะยุติ
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS