สคส. เร่งสอบกรณีข้อมูลรั่วไหลจากระบบ Mobile PBX ที่พัฒนาโดย ไอซอฟเทล และให้บริการโดย เอดับบลิวเอ็น

สคส. หรือ PDPC ได้ติดตามตรวจสอบกรณี มีผู้บุกรุกทางไซเบอร์เข้าระบบสารสนเทศของบริษัท ไอซอฟเทล (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นผู้ให้บริการเซอร์วิส Mobile PBX ให้แก่ลูกค้านิติบุคคลของ AWN ซึ่งอาจทำให้มีข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหล

ดร.ศิวรักษ์ ศิวโมกษธรรม เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เปิดเผยถึงกรณีกรณี มีผู้บุกรุกทางไซเบอร์เข้าระบบสารสนเทศของบริษัท ไอซอฟเทล (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นผู้ให้บริการเซอร์วิส Mobile PBX ระบบที่ทำให้โทรศัพท์มือถือทำหน้าที่เสมือนโทรศัพท์สำนักงาน ให้แก่ลูกค้านิติบุคคลของบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด หรือ เอดับบลิวเอ็น (AWN) ซึ่งอาจทำให้มีข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหลว่า สำนักงานฯ ได้ติดตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างใกล้ชิด จึงเชิญทั้งสองบริษัทมาชี้แจงให้ข้อมูลเพิ่มเติมเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2566 พบว่า เกิดจากบริการเซอร์วิส Mobile PBX ซึ่งเป็นระบบที่ทำให้โทรศัพท์มือถือทำหน้าที่เสมือนโทรศัพท์สำนักงาน และ AWN ให้บริการดังกล่าวแก่ลูกค้าประเภทองค์กร โดยใช้ระบบของไอซอฟเทล ต่อมา

ไอซอฟเทลพบว่าระบบสารสนเทศที่ให้บริการเซอร์วิส Mobile PBX ถูกบุกรุกทางไซเบอร์และอาจมีข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหล จึงรายงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถึงปัญหาดังกล่าว”

สำนักงานฯ จึงได้กำชับให้ทั้งสองบริษัทตรวจสอบและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างละเอียด รอบคอบ และ

ให้ปฏิบัติตามกฎหมาย PDPA อย่างเคร่งครัด บริษัทที่เกี่ยวข้องทั้งหมดต้องเข้าใจบทบาทและหน้าที่ของตน

ตามกฎหมาย ซึ่งตามประกาศฯ หลักเกณฑ์และวิธีการในการแจ้งเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2565 กำหนดให้บริษัทที่เป็นผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลมีหน้าที่แจ้งเหตุละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลแก่บริษัทที่เป็นผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลภายใน 72 ชั่วโมง จากนั้น บริษัทผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลเมื่อได้รับแจ้งเหตุแล้ว ต้องรีบแก้ไขหรือป้องกันเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ให้ลุกลามสร้างความเสียหายหรือเกิดผลกระทบเพิ่มเติมและต้องประเมินความเสี่ยงว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจะมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลเพียงใด โดยพิจารณาจากลักษณะของเหตุการณ์ ปริมาณข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้อง รวมถึงความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

บริษัทผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลต้องแจ้งเหตุมายัง สคส. โดยระบุลักษณะของการละเมิดและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นมายังสำนักงานฯ ภายใน 72 ชั่วโมงนับแต่ทราบเหตุเท่าที่จะสามารถกระทำได้ แต่หากมีเหตุจำเป็นที่ไม่สามารถแจ้งได้ภายในระยะเวลาดังกล่าว ก็ให้แจ้งโดยเร็วแต่ไม่เกิน 15 วัน และบริษัทผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลต้องแจ้งเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลพร้อมกับแนวทางการเยียวยา หากการละเมิดมีความเสี่ยงกระทบต่อสิทธิของบุคคลสูง

นอกจากนี้ บริษัทต้องป้องกันและทบทวนมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศและข้อมูลส่วนบุคคลให้แข็งแกร่ง ไม่ให้เกิดเหตุการณ์ข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหลอีกในอนาคต ซึ่งตามกฎหมาย PDPA ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลต้องจัดให้มีมาตรการป้องกันการเข้าถึง หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยมิชอบ และต้องกำหนดเรื่องมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไว้ในข้อตกลงระหว่างผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลและผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลด้วย


COMMENTS

{{ errors.name }}

{{ errors.value }}

{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}

RELATED TOPICS

Please wait a moment