{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
กรมการขนส่งทางราง เผยประชาชนเดินทางด้วยระบบรางช่วงวันหยุดต่อเนื่อง ระหว่างวันที่ 28 กรกฎาคม 2566 – 2 สิงหาคม 2566 สะสมครบ 6 วัน รวมแล้วกว่า 6.65 ล้านคน-เที่ยว โดยเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2566 มีผู้ใช้บริการระบบรางรวม 1,479,491 คน-เที่ยว สะสมครบ 6 วัน มีเหตุอันตรายต่อการเดินรถไฟรวม 11 ครั้ง และมีเหตุรถไฟฟ้าขัดข้อง 1 ครั้ง มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 4 ราย และมีผู้เสียชีวิต 2 ราย
ดร.พิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง เปิดเผยว่า ในช่วงวันหยุดต่อเนื่อง ระหว่างวันที่ 28 กรกฎาคม – 2 สิงหาคม 2566 ที่ผ่านมา 6 วัน มีประชาชนใช้บริการระบบรางรวม 6,649,727 คน-เที่ยว ประกอบด้วย รถไฟระหว่างเมืองของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) มีผู้ใช้บริการรวม 497,468 คน-เที่ยว แบ่งเป็นผู้โดยสารเชิงพาณิชย์ 201,155 คน-เที่ยว และผู้โดยสารเชิงสังคม 296,313 คน-เที่ยว โดยมีผู้โดยสารขาออกสะสม 243,857 คน-เที่ยว และขาเข้า 253,611 คน-เที่ยว ซึ่งพบว่า สายใต้มีผู้ใช้บริการมากสุดถึง 166,111 คน-เที่ยว (ขาออก 81,589 คน-เที่ยว และขาเข้า 84,522 คน-เที่ยว) รองลงมาคือสายตะวันออกเฉียงเหนือ 129,808 คน-เที่ยว (ขาออก 63,966 คน-เที่ยว และขาเข้า 65,842 คน-เที่ยว) สายเหนือ 102,734 คน-เที่ยว (ขาออก 49,447 คน-เที่ยว ขาเข้า 53,287 คน-เที่ยว) สายตะวันออก 62,022 คน-เที่ยว (ขาออก 30,203 คน-เที่ยว ขาเข้า 31,819 คน-เที่ยว) และสายมหาชัย/แม่กลอง 36,793 คน-เที่ยว (ขาออก 18,652 คน-เที่ยว ขาเข้า 18,141 คน-เที่ยว) และระบบรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (รวมรถไฟฟ้าชานเมือง(สายสีแดง)) สะสม 6 วัน มีผู้ใช้บริการแล้ว 6,152,259 คน-เที่ยว ประกอบด้วย Airport Rail Link 307,565 คน-เที่ยว สายสีแดง 94,907 คน-เที่ยว สายฉลองรัชธรรม(สีม่วง) 223,778 คน-เที่ยว สายเฉลิมรัชมงคล (สีน้ำเงิน) 1,661,434 คน-เที่ยว สายสีเหลือง 199,784 คน-เที่ยว และรถไฟฟ้าบีทีเอส (สีเขียวและสีทอง) 3,664,791 คน-เที่ยว
ทั้งนี้ พบว่า เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2566 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของวันหยุดต่อเนื่องระหว่างวันที่ 28 กรกฎาคม 2566 – 2 สิงหาคม 2566 มีประชาชนใช้บริการระบบราง รวมทั้งสิ้นจำนวน 1,479,491 คน-เที่ยว (ไม่รวมผู้โดยสารรถไฟทางไกลต่อสายสีแดงฟรี 73 คน) แบ่งเป็น รถไฟระหว่างเมืองของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จำนวน 83,033 คน-เที่ยว และรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลและรถไฟชานเมือง (รวมสายสีแดง) จำนวน 1,396,458 คน-เที่ยว โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. รถไฟระหว่างเมืองของ รฟท. ให้บริการรวม 223 ขบวน มีผู้ใช้บริการจำนวน 83,033 คน-เที่ยว แบ่งเป็นผู้โดยสารเชิงพาณิชย์ 33,334 คน-เที่ยว และเชิงสังคม 49,699 คน-เที่ยว โดยมีผู้โดยสารขาออกจำนวน 36,562 คน-เที่ยว และผู้โดยสารขาเข้า 46,471 คน-เที่ยว โดยพบว่า สายใต้มีผู้ใช้บริการมากสุดถึง 27,344 คน-เที่ยว (ผู้โดยสารขาออก 11,770 คน-เที่ยว ผู้โดยสารขาเข้า 15,574 คน-เที่ยว) รองลงมาคือสายตะวันออกเฉียงเหนือมีผู้ใช้บริการ 23,068 คน-เที่ยว (ผู้โดยสารขาออก 9,911 คน-เที่ยว ผู้โดยสารขาเข้า 13,157 คน-เที่ยว) สายเหนือ 16,909 คน-เที่ยว (ผู้โดยสารขาออก 7,784 คน-เที่ยว ผู้โดยสารขาเข้า 9,125 คน-เที่ยว) สายตะวันออก 10,517 คน-เที่ยว (ผู้โดยสารขาออก 4,458 คน-เที่ยว ผู้โดยสารขาเข้า 6,059 คน-เที่ยว) และสายแม่กลองและมหาชัย 5,195 คน-เที่ยว (ผู้โดยสารขาออก 2,639 คน-เที่ยว ผู้โดยสารขาเข้า 2,556 คน-เที่ยว)
2. ระบบรถไฟฟ้า ให้บริการเดินรถไฟฟ้ารวม 2,911 เที่ยว (รวมเสริม 32 เที่ยว) มีผู้ใช้บริการรวมจำนวน 1,396,458 คน-เที่ยว ประกอบด้วย รถไฟฟ้า Airport Rail Link ให้บริการ 181 เที่ยว (รวมเสริม 7 เที่ยว) จำนวน 60,555 คน-เที่ยว รถไฟฟ้าชานเมือง (สายสีแดง) ให้บริการ 230 เที่ยว จำนวน 19,162 คน-เที่ยว (ไม่รวมผู้โดยสารรถไฟทางไกลต่อสายสีแดงฟรี 73 คน) รถไฟฟ้าสายฉลองรัชธรรม (สีม่วง) 321 เที่ยว (รวมเสริม 5 เที่ยว) จำนวน 54,462 คน-เที่ยว รถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล (สีน้ำเงิน) 480 เที่ยว (รวมรถเสริม 20 เที่ยว) จำนวน 381,894 คน-เที่ยว รถไฟฟ้าสายสีเหลือง 216 เที่ยว จำนวน 31,295 คน-เที่ยว และรถไฟฟ้าบีทีเอส (สีเขียวและสีทอง) ให้บริการรวม 1,483 เที่ยว มีผู้ใช้บริการจำนวน 849,090 คน- เที่ยว (สายสีเขียว 842,393 คน-เที่ยว และสายสีทอง 6,697 คน-เที่ยว)
สำหรับด้านความปลอดภัย พบว่า ตลอดช่วงวันหยุดต่อเนื่อง ระหว่างวันที่ 28 กรกฎาคม – 2 สิงหาคม 2566 รวม 6 วัน มีเหตุอันตรายต่อการเดินรถไฟ 11 ครั้ง ประกอบด้วย เหตุการณ์ผู้โดยสารพลัดตกจากขบวนรถ 2 ครั้ง เหตุการณ์ผู้โดยสารพลัดตกจากเตียงนอน 1 ครั้ง เหตุการณ์ผู้โดยสารถูกประตูห้องน้ำหนีบมือ 1 ครั้ง เหตุการณ์ขบวนรถชนโค 2 ครั้ง เหตุการณ์ล้อรถไฟร้อนจนไม่สามารถพ่วงรถต่อไปได้ 1 ครั้งเหตุการณ์รถไฟชนคน 1 ครั้งเหตุการณ์ผู้โดยสารกระโดดลงจากขบวนรถ 1 ครั้ง เหตุการณ์รถไฟตกราง 1 ครั้ง และเหตุรถยนต์ชนเครื่องกั้นถนน 1 ครั้ง โดยมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 4 ราย มีผู้เสียชีวิต 2 ราย และมีเหตุรถไฟฟ้าขัดข้อง 1 ครั้ง เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2566 เวลา 11.17 น. จุดสับรางของรถไฟฟ้าสายสีทองขัดข้องระหว่างสถานีคลองสานกับสถานีเจริญนคร ฝั่งมุ่งหน้าสถานีปลายทางกรุงธนบุรี
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS