{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
สสว. เดินหน้าภายใต้แคมเปญ “SME ปังตังได้คืน ก้าวสู่ปีที่ 2” เข้าพบประชุมหารือร่วมกับ กรมโรงงานอุตสาหกรรม หารือถึงแนวทางการช่วยเหลือผู้ประกอบการ เรื่องค่าทำเนียมและการจดทะเบียนธุรกิจ เพื่อส่งเสริม ผู้ประกอบการ ผ่านระบบ BDS ให้ได้มาตรฐาน ในการดำเนินธุรกิจ
นายวีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า “จากการที่ สสว. ได้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม MSME ผ่านระบบการให้บริการสนับสนุน ด้านการพัฒนาธุรกิจ ภายใต้โครงการส่งเสริมผู้ประกอบการผ่านระบบ BDS (MSME Recovery & Beyond) ปีงบประมาณ 2566 หรือที่เป็นที่รู้จักจาก “SME ปัง ตังได้คืน ปี 2” มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปีนี้ สสว. มีบริการให้ผู้ประกอบการเลือกรับการพัฒนา โครงการที่น่าสนใจมากมาย ณ ขณะนี้มีมากกว่า 200 บริการ และยังเพิ่มต่อเนื่อง เพื่อให้ครอบคลุมทุกความต้องการของผู้ประกอบการ ซึ่งผู้ประกอบการสามารถเลือกรับบริการ เพื่อพัฒนาธุรกิจได้เอง ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ BDS ที่ bds.sme.go.th เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการ หรือลดต้นทุน หรือเพิ่มประสิทธิภาพ หรือสร้างโอกาสทางการค้าการลงทุน ขยายและส่งเสริมช่องทางการตลาด สร้างรายได้เพิ่มขึ้น หรือมีความพร้อมในด้านมาตรฐาน”
ทั้งนี้ สสว. ยังคงเดินหน้าหากช่องทางใหม่ๆ เพื่อให้ความช่วยเหลือ SME โดยหารือกับหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชน ล่าสุดได้ประชุมหารือร่วมกับ กรมโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อหาแนวทางให้ความช่วยเหลือ SME เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่า ผู้ประกอบกิจการโรงงานทุกคนต้องจดทะเบียนเกี่ยวกับเครื่องจักรและโรงงาน ซึ่งการจดทะเบียนจะเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรม สามารถนำเครื่องจักรที่ได้จดทะเบียนแล้วไปจำนองได้ และจะช่วยให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน มีเงินทุนสำหรับดำเนินกิจการเพิ่มมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามการจดทะเบียนดังกล่าวก็นับว่าเป็นต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายของโรงงาน
จากการที่ สสว. ได้ประชุมหารือร่วมกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม ในการนำผู้ประกอบการกิจการโรงงาน เข้าร่วมโครงการส่งเสริมผู้ประกอบการผ่านระบบ BDS: Business Development Service (MSME Recovery & Beyond) ปีงบประมาณ 2566 เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ ให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพ และลดต้นทุนในการดำเนินธุรกิจ ในส่วนของค่าธรรมเนียม ค่าจดทะเบียนที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักร และโรงงาน ได้วางแนวทางการเบื้องต้นไว้ดังนี้
1. ได้รับเงินทุนหมุนเวียนและเครื่องจักรใหม่: ผู้ประกอบการที่นำเครื่องจักรมาจดทะเบียนกรรมสิทธิ์สามารถนำไปเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันกับสถาบันการเงิน เพื่อได้รับเงินทุนหมุนเวียนในกิจการ
2. ได้รับสิทธิพิเศษด้านการเงิน: ผู้ประกอบการจะได้วงมิน เงินกู้รายละไม่เกิน 15 ล้านบาท โดยกู้ได้สูงสุดถึง 90% ของใบสั่งซื้อเครื่องจักร ดอกเบี้ย 4%. ต่อปี ตลอดอายุสัญญาและผ่อนนานถึง 7 ปี
3. ได้รับการยกเว้นภาษี: ผู้ประกอบการจะได้ยกเว้นอากรขาเข้าของเครื่องจักร และยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี เป็นสัดส่วนร้อยละ 50 ของเงินทุนโดยไม่รวมค่าที่ดิน
4. ได้รับ Fast Track จดทะเบียน: ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการสามารถยื่นคำขอจดทะเบียนกรรมสิทธิ์เครื่องจักรผ่านช่องทางพิเศษ สำหรับผู้ประกอบการ SMEs ภายใน 3 วัน
5. ได้รับคำแนะนำปรึกษา: ผู้ประกอบการจะได้รับคำปรึกษาในการปรับเปลี่ยนเครื่องจักร อุปกรณ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตจากทีมที่ปรึกษาที่มีประสบการณ์
ทั้งนี้ สสว. และกรมโรงงานอุตสาหกรรม ยังอยู่ในระหว่างการประชุมเพื่อหารือแนวทางดังกล่าว เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ โดยข้อสรุปจะนำเสนอให้ทราบต่อไป
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS