Mastercard เปิดตัว AI บล็อคการฉ้อโกงทางการเงินแบบเรียลไทม์

อาเจย์ บัลลา ประธานฝ่าย Cyber and Intelligence มาสเตอร์การ์ เปิดเผยว่า มาสเตอร์การ์ดได้มีการพัฒนาขีดความสามารถของ AI (Artificial Intelligence) เวอร์ชันล่าสุดให้สามารถตรวจสอบข้อมูลการทำธุรกรรมได้แบบบัญชีต่อบัญชี (account-to-account) ช่วยให้ธนาคารสามารถคาดการณ์และป้องกันการทำธุรกรรมจากสแกมเมอร์ในทุกรูปแบบ ด้วยการใช้ข้อมูลการทำธุรรรมทางการเงินแบบสเกลใหญ่เพื่อช่วยตรวจสอบและระงับการทำธุรกรรมของเหล่าสแกมเมอร์แบบเรียลไทม์ก่อนที่เงินของเหยื่อจะถูกยักยอกไป

โดยในปัจจุบันมีธนาคาร 9 แห่งในอังกฤษทเข้าร่วมในระบบนี้ ได้แก่ Lloyds Bank, Halifax, Bank of Scotland, NatWest, Monzo และ TSB

เนื่องจากมิจฉาชีพเหล่านี้จะทำการโอนเงินที่ฉ้อโกงมาได้ไปยัง “บัญชีม้า” เพื่ออำพรางเงินและป้องกันการตรวจสอบ ทำให้ตลอดห้าปีที่ผ่านมานี้ มาสเตอร์การ์ดได้ทำงานร่วมกับธนาคารทั้ง 9 แห่งเพื่อหาทางแก้ไขปัญหา ด้วยการติดตามความเคลื่อนไหวของเงินไปจนถึงบัญชีปลายทางต้องสงสัยและปิดบัญชีเหล่านี้ลง และด้วยข้อมูลการติดตามการเดินเงินเหล่านี้เอง ที่ช่วยให้ระบบของมาสเตอร์การ์ดสามารถจัดระดับความเสี่ยงการทำธุรกรรมในแต่ละครั้ง โดยวิเคราะห์จากหลายปัจจัย อาทิ ชื่อบัญชี จำนวนเงินที่โอน ประวัติธุรกรรมของผู้โอนและผู้รับ และอัตราความเป็นไปได้ของบัญชีผู้รับเงินที่อาจเกี่ยวข้องกับการทำโจรกรรม ซึ่งการทำงานอย่างละเอียดและเป็นระบบ AI ของมาสเตอร์การ์ดนี้เอง ที่เป็นตัวช่วยให้หลายธนาคารสามารถระงับการทำธุรกรรมที่ต้องสงสัยได้แบบเรียลไทม์ก่อนที่เงินของเหยื่อจะสูญหายไป

หนึ่งในธนาคารที่เข้าร่วมใช้งานระบบ Consumer Fraud Risk ของมาสเตอร์การ์ด คือ TSB ผู้ได้รับผลลัพท์อันยอดเยี่ยมจากการใช้งานระบบโซลูชันนี้ โดยผลลัพธ์จากการใช้งานระบบเพียงสี่เดือนของ TSB สามารถตรวจจับธุรกรรมฉ้อฉลเป็นจำนวนมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และมาสเตอร์การ์ดคาดการณ์ว่าหากธนาคารอื่นที่ใช้งานระบบโซลูชันส์สามารถตรวจจับและสกัดการโอนเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพเทียบเท่าธนาคาร TSB จะทำให้ธนาคารทั่วประเทศอังกฤษสามารถสกัดการโอนเงินโจรกรรมได้มูลค่ามากเกือบ 100 ล้านปอนด์ ภายในเวลาเพียง 1 ปีเท่านั้น นอกจากนี้ภายในปี 2023 จะมีธนาคารอื่น ๆ เข้ามาร่วมใช้งานระบบเพื่อร่วมสกัดการทำงานของอาชญากร และมาสเตอร์การ์ดเองยังมีแผนที่จะขยายบริการนี้ไปยังประเทศอื่น ๆ ในอนาคตอีกด้วย

ในขณะนี้ระบบรักษาความปลอดภัยของการทำธุรกรรมธนาคารและการชำระเงินมีความก้าวหน้าเป็นอย่างมาก นักต้มตุ๋นจึงต้องปรับเปลี่ยนกลไกในการปลอมแปลงตัวตนให้แยบยลยิ่งขึ้น โดยพวกเขาเปลี่ยนเป้าหมายการโจรกรรมเป็นการโน้มน้าวบุคคลและธุรกิจเพื่อโอนเงินให้พวกเขา โดยหลอกให้เชื่อว่าเป็นการโอนเงินให้แก่บุคคลหรือสถาบันที่มีอยู่จริง ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน คู่ค้าที่รู้จัก รวมถึงการซื้อสินค้าปลอมเสมือนจริงผ่านช่องออนไลน์ หรือที่เรียกว่า การหลอกให้เหยื่อหลงเชื่อและโอนเงิน (Authorized push payment fraud: APP Fraud) โดยการสูญเสียที่เกิดจากการหลอกลวงประเภทนี้คิดป็น 40% ของธุรกรรมในสหราชอาณาจักร หรือคิดเป็นมูลค่ารวมราว 4.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศอังกฤษ ภายในปี 2026 นี้เท่านั้น

ทั้งนี้ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเราได้เห็นการฉ้อโกงทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นนักรักต้มตุ๋น (Romance scams) หรือจะเป็นการสร้างตัวตนปลอมเพื่อหลอกลวงเหยื่อผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งการปลอมแปลงตัวตนหรือแอบอ้างชื่อเพื่อการฉ้อโกงเหล่านี้ ล้วนสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้คนและธุรกิจจำนวนมาก และยังสั่นคลอนความเชื่อมั่นต่อระบบการรักษาความปลอดภัยทางการเงินอีกด้วย อย่างไรก็ตามปัญหานี้จะได้รับการคลี่คลายโดยมาสเตอร์การ์ด (Mastercard) ด้วยโซลูชันประเมินความเสี่ยงการฉ้อโกง หรือ ‘Consumer Fraud Risk’ ที่เพิ่งประกาศเปิดตัวไปนี้ ปัจจุบันใช้งานในประเทศอังกฤษ

ในขณะที่ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย ปี 2564 ระบุถึง สติถิการโจรกรรมทางการเงิน ไว้ว่า มาจากแก๊งค์คอลเซ็นเตอร์ 6.4 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้น 270% จากปี 2563 และ SMS หลอกลวง ที่เพิ่มขึ้นจากปี 2563 ถึง 57% ข้อมูลเพิ่มเติมจากสวนดุสิตโพลระบุว่า คนไทยกว่า 21% เคยประสบกับ Call Center ที่โทรมาหลอกลวง


COMMENTS

{{ errors.name }}

{{ errors.value }}

{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}

RELATED TOPICS

Please wait a moment