ทีเอ็มบีธนชาต ครองอันดับหนึ่งธนาคารไทยด้าน ESG เป็นปีที่ 4 พร้อมคว้ารางวัลพัฒนาการสูงสุด 5 ปี

นายปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี เปิดเผยว่า ทีเอ็มบีธนชาต ประกาศความสำเร็จ มุ่งเติบโตอย่างยั่งยืนทุกมิติ เดินหน้ารับรางวัลต่อเนื่อง ล่าสุดครองอันดับหนึ่งธนาคารไทยที่มีคะแนนรวม ESG สูงสุดเป็นปีที่ 4 จากการประเมินโดยแนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย (Fair Finance Thailand) ปี 2565 ซึ่งโดดเด่นในหมวด “สิทธิมนุษยชน” หมวด “การคุ้มครองผู้บริโภค” และหมวด “สุขภาพ” โดยทีทีบีเป็นธนาคารแห่งเดียวที่มีการตั้งเป้าหมายการให้สินเชื่อแก่อุตสาหกรรมยาสูบเป็นศูนย์ภายในปี 2566 พร้อมกันนี้ ธนาคารยังได้รับรางวัลพัฒนาการสูงสุด 5 ปี พ.ศ. 2561-2565 ตอกย้ำในการขับเคลื่อนองค์กรสู่การธนาคารเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Banking) อย่างแท้จริง

โดยธนาคารมุ่งสร้างการเติบโตที่ยั่งยืนอย่างสมดุลในทุกมิติ โดยให้ความสำคัญกับความยั่งยืนด้านธุรกิจ (Business Sustainability) พร้อมเชื่อมโยงไปกับการดำเนินงานตามหลัก ESG ผ่านการส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่ตอบโจทย์ความต้องการของทั้งลูกค้าระดับบุคคลและธุรกิจ และจากการได้รับรางวัลธนาคารที่มีผลคะแนนด้าน ESG สูงสุดเป็นอันดับ 1 ติดต่อกัน 4 ปี จากการประเมินโดย Fair Finance Thailand สะท้อนชัดถึงความมุ่งมั่น ความตั้งใจจริง และความเชื่อเดียวกันของทุกภาคส่วนในองค์กร ตั้งแต่คณะกรรมการและผู้บริหาร รวมถึงพนักงานที่ร่วมกันผลักดันสร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นรางวัลแห่งความภาคภูมิใจของธนาคารในการพัฒนาและทำให้เห็นว่าความยั่งยืนไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป

นายกมลพันธ์ ลักษณา หัวหน้าการพัฒนาที่ยั่งยืน ทีเอ็มบีธนชาต กล่าวว่า ธนาคารมุ่งมั่นพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เกี่ยวกับ ESG เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนลูกค้าที่ประกอบกิจการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพราะมองเห็นโอกาสสำคัญทางธุรกิจ ซึ่งทีทีบีเป็นธนาคารแห่งแรกที่ออกตราสารหนี้สีเขียว (Green Bond) และตราสารหนี้สีฟ้า (Blue Bond) นอกจากนี้ ยังได้ปรับปรุงรายการสินเชื่อต้องห้าม (Exclusion List) อาทิ อุตสาหกรรมที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อมอย่างเหมืองถ่านหิน โรงไฟฟ้าถ่านหิน และอุตสาหกรรมยาสูบ รวมถึงออกผลิตภัณฑ์สินเชื่อที่เชื่อมโยงกับการดำเนินงานด้านความยั่งยืน (Sustainability Linked-loan) และลดการสนับสนุนสินเชื่อแก่ลูกค้าที่ดำเนินการธุรกิจอันก่อให้เกิดผลต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม เช่น ธุรกิจที่ปล่อยคาร์บอนสูง อีกทั้งช่วยลูกค้าผ่านบริการทางการเงินต่าง ๆ อย่างการรวบหนี้ให้ลูกค้าเพื่อช่วยแก้ปัญหาหนี้สินในภาพรวม และทำให้ทุกคนเข้าถึงบริการทางการเงินได้ง่ายขึ้นจากการปลดล็อกเกณฑ์ความเสี่ยงเปิดให้เพศเดียวกันสามารถกู้ร่วมกันได้ โดยธนาคารพร้อมปรับเปลี่ยนเพื่อพัฒนาโซลูชันทางการเงินที่ตอบสนองความต้องการของประชาชนและทุกบริบทของการเปลี่ยนแปลง


COMMENTS

{{ errors.name }}

{{ errors.value }}

{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}

RELATED TOPICS

Please wait a moment