{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
กระทรวงพลังงาน พพ. และ กฟผ. ผนึกกำลังพันธมิตร เดินหน้าแคมเปญรณรงค์ประหยัดพลังงาน หนุนคนไทยใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ ลดภาระค่าใช้จ่ายทั้งในภาคครัวเรือน ธุรกิจ และอุตสาหกรรม พร้อมเสริมสร้างคุณภาพอากาศที่ดี
นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงานและประธานกรรมการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นประธานเปิดกิจกรรมรณรงค์การประหยัดพลังงานในฤดูร้อน ปี 2566 พร้อมปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “รวมพลังคนไทย ลดใช้พลังงาน Save Energy for ALL” โดยมีนายประเสริฐ สินสุขประเสริฐ อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) และนายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ผู้ว่าการ กฟผ.
ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ภาพรวมการใช้ไฟฟ้าในฤดูร้อนปีนี้มีแนวโน้มสูงขึ้น เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนจัด โดยเฉพาะเดือนเมษายนนี้มีอากาศร้อนที่สุดส่งผลให้เกิดความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (Peak) ของระบบ 3 การไฟฟ้าแล้วถึง 4 ครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดเมื่อวันที่ 20 เมษายนที่ผ่านมา เวลา 14.56 น. ที่ระดับ 33,384.7 เมกะวัตต์ มาตรการประหยัดพลังงานจึงถือเป็นหนึ่งแนวทางสำคัญในการลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าในฤดูร้อนและลดค่าไฟฟ้า เนื่องจากค่าไฟฟ้าของประเทศไทยเป็นอัตราก้าวหน้า (Progressive Rate) ยิ่งใช้ไฟฟ้ามาก ค่าไฟฟ้าต่อหน่วยจะยิ่งสูงขึ้น นอกจากนี้การประหยัดพลังงานยังสามารถช่วยประเทศลดการนำเข้าเชื้อเพลิงราคาแพงได้อีกด้วย
นายประเสริฐ สินสุขประเสริฐ อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กล่าวว่า การประหยัดพลังงานในหน้าร้อนนับเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการลดรายจ่ายด้านพลังงานด้วยหลักง่าย ๆ คือ “ปรับ ล้าง ตั้ง ลด” คือ ปรับการแต่งกายใส่เสื้อเชิ้ตแขนสั้น งดใส่สูท ผูกไทด์ ล้างแผ่นกรองอากาศแอร์ทุก 1-2 เดือน และล้างทำความสะอาดใหญ่ทุก 6 เดือน ตั้งอุณหภูมิแอร์ที่ 26-27 °C และเปิดพัดลมช่วยกระจายความเย็น ลดระยะเวลาการเปิดแอร์ลง 1 ชั่วโมงต่อวัน (เปิด 09.00 น. ปิด 16.00 น.) ซึ่งหากดำเนินการล้างแอร์ จะช่วยลดค่าไฟฟ้าได้ถึงร้อยละ 10 เป็นเงินที่ประหยัดได้ 210 บาท/เดือน และปรับเพิ่มอุณหภูมิขึ้นอีก 1 °C จะช่วยลดค่าไฟฟ้าได้ร้อยละ 4.5 เป็นเงินที่ประหยัดได้อีก 100 บาท/เดือน รวม 2 มาตรการนี้ จะลดค่าไฟฟ้าลงได้ไม่ต่ำกว่า 300 บาท/เดือน/เครื่อง
อีกทั้ง พพ. ยังได้จัดทำมาตรการเชิงลึกทั้งในและระยะยาวที่เหมาะสมในแต่ละกลุ่มเป้าหมาย คาดว่าจะก่อให้เกิดผลประหยัดจากมาตรการประหยัดพลังงานที่จะขอความร่วมมือจากกลุ่มหน่วยงานภาครัฐ ครัวเรือน อาคารธุรกิจ สถานประกอบการ SME รวมประหยัดไฟฟ้าได้กว่า 340 ล้านหน่วย/เดือน เป็นเงินที่ประหยัดได้ 1,700 ล้านบาทต่อเดือน และ
นอกจากนี้ พพ. ได้จัดทำสื่อรณรงค์ประหยัดพลังงานในช่วงหน้าร้อนเผยแพร่วิธีการประหยัดพลังงานผ่านสื่อต่างๆ เช่น Info graphic, Facebook, YouTube ฯลฯ และจัดกิจกรรม “พพ.ช่วยคลายร้อน สอนล้างแอร์ด้วยตนเอง” สอนล้างแอร์ด้วยตัวเองให้กับผู้ที่สนใจ ฟรี! ผ่านศูนย์บริการวิชาการทั้ง 10 แห่งทั่วประเทศ จำนวน 1,300 คน ซึ่งจะสามารถช่วยประชาชนให้มีทักษะในการล้างแอร์ด้วยตัวเองได้อย่างถูกวิธี และยังเป็นการช่วยให้แอร์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ช่วยประหยัดค่าไฟได้อีกด้วย ปัจจุบันได้ดำเนินการอบรมแล้ว 32 ครั้ง มีผู้เข้าร่วมการอบรม “ล้างแอร์ด้วยตัวเอง” กว่า 900 คน
ด้านนายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ผู้ว่าการ กฟผ. กล่าวเพิ่มเติมว่า กฟผ. ได้ดำเนินงานจัดการด้านการใช้ไฟฟ้า (DSM) ก้าวเข้าสู่ปีที่ 30 ด้วยกลยุทธ์ 3 อ. ได้แก่ อุปกรณ์ประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 อาคารและอุตสาหกรรมประสิทธิภาพพลังงานสูง และอุปนิสัยการใช้พลังงาน สำหรับฤดูร้อนนี้ กฟผ. ได้ร่วมกับพันธมิตรจัดทำโครงการรณรงค์การประหยัดพลังงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ลดภาระค่าไฟฟ้าให้กับผู้ใช้ไฟฟ้า รวม 6 โครงการ ประกอบด้วย
1. โครงการล้างแอร์ช่วยชาติ (Clean your air, Care your life) กฟผ. ร่วมกับห้างสรรพสินค้าและผู้ค้าปลีกบริการล้างแอร์ให้แก่ประชาชนครึ่งราคา จำนวน 10,000 สิทธิ์ สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 500 หน่วยต่อเดือน โดยประชาชนจ่ายค่าล้างแอร์ 300 บาท จำกัดครัวเรือนละ 1 สิทธิ์ต่อการล้างแอร์ 1 เครื่อง โดยต้องเป็นแอร์แบบติดผนังขนาดไม่เกิน 24,000 บีทียูต่อชั่วโมง เพียงแสดงบัตรประชาชนและบิลค่าไฟย้อนหลัง 2 เดือน ณ จุดขายของห้างสรรพสินค้าที่เข้าร่วมโครงการ ได้แก่ โฮมโปร เพาเวอร์บาย เดอะมอลล์ ดิเอ็มโพเรียม สยามพารากอน และบลูพอร์ต ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. – 31 ก.ค. 2566 นอกจากนี้ ยังร่วมกับสมาคมผู้ค้าเครื่องปรับอากาศไทยตั้งเป้าล้างแอร์ในโรงพยาบาลรัฐขนาดใหญ่ นำร่อง 5 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ โรงพยาบาลสะเมิง และโรงพยาบาลบางกรวย ประมาณ 800 เครื่อง ดำเนินการในช่วงเดือน มี.ค. – เม.ย. 2566 เพื่อลดค่าใช้จ่ายให้แก่โรงพยาบาลและสร้างคุณภาพอากาศที่ดีให้แก่บุคลากรทางการแพทย์และประชาชนที่มาใช้บริการ
2.โครงการคืนอากาศบริสุทธิ์ด้วย City Tree ติดตั้งนวัตกรรมต้นไม้ฟอกอากาศในโรงพยาบาลที่ดำเนินการล้างแอร์ทั้ง 5 แห่ง เพื่อแก้ไขปัญหาฝุ่นภายในเมือง โดยผสมผสานระหว่างเครื่องฟอกอากาศประจุลบ ดักจับฝุ่น PM 2.5 และฆ่าเชื้อโรค ร่วมกับสวนแนวตั้งต้นไม้ฟอกอากาศ เพื่อบำบัดอากาศบริเวณพื้นที่ผู้ใช้บริการหนาแน่นในโรงพยาบาล ทั้งนี้ City Tree สามารถช่วยกรองฝุ่น บำบัดอากาศครอบคลุมพื้นที่ 200 ตารางเมตร และยังสามารถรณรงค์สื่อสารข้อมูลฝุ่นและมาตรการลดการใช้พลังงานผ่านจอมอนิเตอร์ให้กับประชาชนได้อีกด้วย
3.โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ดำเนินโครงการที่ปรึกษาพลังงานนำร่องให้กับผู้ประกอบการภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม 8 แห่ง ได้แก่ โรงแรมและรีสอร์ทเครือเซ็นทารา ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เทศบาลเมืองทุ่งสง บริษัท ซาบีน่า จำกัด (มหาชน) บริษัท ทีเอ็นแอลเอ็กซ์ จำกัด บริษัท สุมิพล คอร์ปอเรชั่น จำกัด ร้านอาหารครัวเจ๊ง้อ และบริษัท เอราวัณสิ่งทอ จำกัด เพื่อเป็นต้นแบบธุรกิจและอุตสาหกรรมประหยัดพลังงาน พร้อมขยายผลการดำเนินงานในเชิงพาณิชย์ร่วมกัน โดยจะดำเนินการในช่วงเดือน เม.ย. 2566 – ธ.ค. 2567
4.โครงการผ้าม่านเบอร์ 5 ร่วมมือกับผู้ประกอบการผ้าม่าน 8 ราย พัฒนาและกำหนดมาตรฐานเพื่อทดสอบและเกณฑ์ประสิทธิภาพเบอร์ 5 ซึ่งจะช่วยลดความร้อนจากกระจกเข้าสู่เข้าตัวอาคารประมาณ 30% ลดการใช้แอร์เมื่อเทียบกับการติดผ้าม่านบังแดดทั่วไป 5-6% โดยจะเริ่มวางจำหน่ายตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. 2566 เป็นต้นไป
5.โครงการส่งเสริมการใช้ชุดนักเรียนเบอร์ 5 ซึ่งเป็นชุดนักเรียนที่มีคุณสมบัติสวมใส่สบาย ยับยาก จึงช่วยประหยัดพลังงานในการรีดถึงตัวละ 60 สตางค์ต่อการรีด 1 ครั้ง โดยนำร่องมอบชุดนักเรียนเบอร์ 5 ให้แก่นักเรียนที่เรียนดีในพื้นที่ อ.บางกรวย จ.นนทบุรี จำนวน 26 โรงเรียน รวม 520 ชุด
6.กิจกรรม “รวมพลังเซฟเว่อร์x3” กฟผ. ร่วมกับการไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เตรียมจัดกิจกรรมรณรงค์ประหยัดพลังงาน “รวมพลังเซฟเว่อร์x3” ในวันที่ 2 พฤษภาคมนี้ ที่ชั้น 9 อาคาร Siam Scape สยามสแควร์ ซึ่งภายในงานจะมีกิจกรรมแนะนำเคล็ดลับการใช้ไฟฟ้าอย่างไรให้ประหยัด พร้อมเชิญชวนประชาชนร่วมลดใช้พลังงาน รวมถึงการแสดงมินิคอนเสิร์ตจากวง Paper Planes หัวหน้าแก๊งฟันน้ำนมอีกด้วย
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS