{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
ตลาดอาเซียนยังคงได้รับความสนใจจากนักลงทุน ด้วยขนาดของประชากรกว่า 600 ล้านคน ที่ยังมีความต้องการบริโภคสินค้าและบริการ
รายงานผลสำรวจธุรกิจนานาชาติของแกรนท์ ธอนตัน (Grant Thornton’s International Business Report – IBR) ระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจทั่วอาเซียน สูงขึ้นถึงร้อยละ 61 ในไตรมาส 1 ปี 2561 สูงสุดที่เคยสำรวจไว้
เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับดัชนีความเชื่อมั่นระดับโลก ที่ทะยานขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในช่วงเดียวกัน นับตั้งแต่ทำการสำรวจมา 15 ปี
แต่ความเชื่อมั่นทางธุรกิจในจีนและญี่ปุ่นซึ่งเป็นกลุ่มประเทศเศรษฐกิจพัฒนาแล้วลดลง
ผลสำรวจ IBR พบว่าตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ปี 2560 เป็นต้นมา ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจของประเทศเศรษฐกิจอาเซียนสูงขึ้นเป็นอย่างมากในมาเลเซีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 22 สิงคโปร์ เพิ่มร้อยละ 12 และไทยเพิ่มร้อยละ 6
สำหรับประเทศไทย พบว่า ผลดัชนีต่างๆ มีค่ามากกว่าศูนย์ในทุกคำถาม แสดงถึงผลตอบรับเชิงบวกที่มีมากกว่าเชิงลบ แต่แนวโน้มโดยรวมจัดว่าเป็นเชิงบวกเพียงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับข้อมูลจากประเทศอื่นๆ ซึ่งบางหัวข้ออาจคาดการณ์เชิงบวกที่สูงขึ้นกว่าไตรมาสก่อนๆ แต่บางหัวข้อบ่งชี้ว่าลดลง ดัชนีโดยรวมยังคงอยู่ในระดับต่ำ เมื่อเทียบกับดัชนีการเติบโตที่แท้จริงของประเทศไทยในปัจจุบัน
นายเอียน แพสโค ประธานกรรมการบริหารและหุ้นส่วนของแกรนท์ ธอนตัน ในประเทศไทย ตั้งข้อสังเกตจากผลสำรวจว่า เศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศไทยส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับเสถียรภาพทางการเมือง ซึ่งในช่วงที่ผ่านมายังไม่เป็นที่แน่นอน ทั้งความไม่มั่นคงและสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง ส่งผลให้การเติบโตทางเศรษฐกิจหยุดชะงักบ่อยครั้ง
ทั้งนี้ ไทยยังมีโอกาสทางธุรกิจให้เติบโตอีกมาก เพียงแต่ต้องพิสูจน์ให้เห็นว่าในระยะยาวแล้ว ไทยยังมีความน่าเชื่อถือ แม้ว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันพยายามปฏิรูปเพื่อให้การทำธุรกิจนั้นง่ายขึ้น แต่หลายฝ่ายยังรอคอยการเลือกตั้งในปี 2562 ซึ่งจะชี้ทิศทางความเชื่อมั่นของเศรษฐกิจไทย
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS