BTG ปลื้มทริสเรทติ้งปรับเพิ่มอันดับเครดิตเป็น “A” แนวโน้ม “คงที่”

เบทาโกร หรือ BTG เผย “ทริสเรทติ้ง” ปรับเพิ่มอันดับเครดิตองค์กรและหุ้นกู้เป็น “A” แนวโน้ม “คงที่” สะท้อนถึงความเชื่อมั่นในปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่ง ตลอดจนศักยภาพการเติบโตของธุรกิจ

นายวสิษฐ แต้ไพสิฐพงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) หรือ BTG เปิดเผยว่า บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด (TRIS Rating) ได้จัดอันดับเครดิตองค์กร และหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ

ไม่มีหลักประกันของบริษัทฯ เพิ่มขึ้นจาก “A-” เป็นระดับ “A” ด้วยแนวโน้มอันดับเครดิต “Stable” หรือ “คงที่” ซึ่งการปรับเพิ่มอันดับเครดิตดังกล่าว สะท้อนถึงความเชื่อมั่นในปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่ง ศักยภาพการดำเนินธุรกิจ และโอกาสเติบโตของบริษัทฯ จากโครงสร้างเงินทุนที่แข็งแกร่งขึ้นมาก หลังประสบความสำเร็จในการเสนอขายหุ้น IPO เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตลอดจนผลการดำเนินงานที่เติบโตแข็งแกร่งอย่างต่อเนื่อง”

โดยมุมมองของทริสเรทติ้งเห็นว่าเบทาโกรเป็นหนึ่งในผู้นำธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารของไทยมากว่า 55 ปี และมีความสามารถในการรักษาความเป็นผู้นำในธุรกิจดังกล่าวเอาไว้ได้อย่างต่อเนื่อง ด้วยโมเดลธุรกิจแบบครบวงจร ครอบคลุมทั้งอาหารสัตว์ เนื้อสัตว์แปรรูป และผลิตภัณฑ์อาหาร จึงสามารถควบคุมคุณภาพและต้นทุนการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกันกลยุทธ์มุ่งเน้นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่ม และการจำหน่ายสินค้าภายใต้แบรนด์ของบริษัทฯ ซึ่งหลากหลายและเป็นที่รู้จักจากผู้บริโภค ทำให้ช่วยเพิ่มผลกำไรและลดผลกระทบจากความผันผวนของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ทั้งนี้ คาดว่าเบทาโกรจะรักษาผลการดำเนินงานที่ดีอย่างต่อเนื่องไปอีกหลายปีข้างหน้า เนื่องจากจะได้รับประโยชน์จากราคาเนื้อสัตว์ที่อยู่ในระดับสูงจากภาวะการขาดแคลนของอุปทาน และความต้องการที่เพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและความกังวลด้านความมั่นคงทางอาหารทั่วโลก

นอกจากนี้ เบทาโกรมีโครงสร้างเงินทุนที่แข็งแกร่งขึ้นมาก หลังสามารถระดมทุนในการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนผ่านการทำ IPO ด้วยมูลค่าประมาณ 1.7 หมื่นล้านบาท โดยมีแผนจะนำเงินประมาณ 50% ของจำนวนดังกล่าวไปชำระคืนหนี้เดิม และส่วนที่เหลือจะใช้ในการขยายธุรกิจและเป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการ อีกทั้ง ณ สิ้นเดือนกันยายน 2565 บริษัทฯ มีอัตราส่วนหนี้สินทางการเงินต่อ EBITDA อยู่ที่ 2.2 เท่า ซึ่งลดลงมากเมื่อเทียบกับระดับ 5.6 เท่า ณ สิ้นปี 2564 ดังนั้น เมื่อรวมฐานทุนที่เพิ่มขึ้นและค่าใช้จ่ายสำหรับการลงทุนประมาณ 3 - 5 พันล้านบาทต่อปี คาดว่าอัตราส่วนหนี้สินทางการเงินต่อ EBITDA จะอยู่ที่ระดับ 1.5 เท่าในปี 2565 และ 2.5 - 3.9 เท่าในปี 2566 - 2567 ขณะที่อัตราส่วนหนี้สินทางการเงินต่อเงินทุนรวม (Debt to Total Capitalization ratio) ของบริษัทฯ จะอยู่ที่ระดับต่ำกว่า 50% ในช่วงปี 2565 - 2567


COMMENTS

{{ errors.name }}

{{ errors.value }}

{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}

RELATED TOPICS

Please wait a moment