{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
โดย..องค์หญิง
เมื่อไม่ใช่ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ หรือผู้ที่รอบรู้ในเรื่องของยุทธศาสตร์ ก็มิบังอาจ
มิบังอาจ...เสนอแนะว่าต้องทำแบบโน้นหรือแบบนี้ จึงจะถูก
แต่ก็พอเข้าใจนิดๆ หน่อยๆ ว่าเรื่องของการวางยุทธศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นของชาติ ของบริษัทฯ องค์กร หน่วยงาน ไม่ว่าระดับไหนก็ตาม มันมีระเบียบวิธีการจัดทำ
ในเมืองไทยนั้น ก็มีผู้รอบรู้จำนวนหนึ่งที่ผู้คนต่างให้การยอมรับ และก็มีอยู่จำนวนหนึ่งที่บอกตัวเองว่าเป็นผู้รู้ แต่คนอื่นจะเชื่อหรือไม่นั้นไม่รู้ ส่วนในระดับโลก ผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นปรมาจารย์ทางด้านนี้ก็คือ นายไมเคิล พอร์เตอร์ (Michale E. Porter) นักเศรษฐศาสตร์ชาวอเมริกัน ที่เขาว่ากันว่าคนนี้เก่งมาก
อีกไม่กี่วัน ประเทศไทยจะมีการประกาศใช้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ซึ่งล่าสุดนั้น ทางสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้มีการพิจารณารับร่างยุทธศาสตร์ดังกล่าว และได้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นมาเพื่อศึกษา ก่อนที่จะให้ส่งกลับมาพิจารณาเห็นชอบวันที่ 7 กรกฎาคม 2561 ซึ่งท่านนายกรัฐมนตรีประยุทธ จันทร์โอชา บอกให้ทุกคนไปอ่านสาระสำคัญๆ ของเนื้อหา และอย่าให้ใครมาบิดเบือน
เอาละ...ในเมื่อเราไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ หรือมีความรอบรู้ในเรื่องของยุทธศาสตร์ก็ไม่อยากเข้าไปยุ่มย่าม ในตัวของเนื้อหามากเกิน จะอายเขา แต่เสียงตะโกนร้องของนักการเมือง นักวิชาการ ชาวบ้าน และอีกหลายๆ ส่วน วันนี้หลากหลายมาก มีทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยในเนื้อหาสาระ ขอย้ำ...มีทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยในเนื้อหาสาระ ที่ไม่ใช่การบิดเบือน
แต่มันคือความเห็นแตกต่าง ที่น่าจะรับฟังกันได้
เคยได้มีโอกาสนั่งฟัง ท่านอาจารย์ให้ความรู้เรื่องยุทธศาสตร์ ท่านได้เน้นย้ำข้อสำคัญที่เราต้องวิเคราะห์ให้ขาดว่า องค์กรหรือหน่วยงานนั้นๆ มีจุดดี จุดด้อย อย่างไร คู่แข่งรอบข้างเป็นยังไง แล้วต้องกำหนดข้อได้เปรียบชัดๆ เพียงอย่างเดียวที่เป็น Unique ที่คู่แข่งขันตามเราไม่ได้หรือยากที่จะมาสู้ เราต้องเลือกทำบางอย่าง และเลือกไม่ทำบางอย่าง
เมื่อลองเอามาหลับตานึกถึง “จุดแข็งของประเทศไทย” ก็คิดว่าไม่น่าจะหนีพ้นเรื่องของภาคเกษตร ควรที่จะเน้นให้เกิดการพัฒนา หาเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใช้
เมื่อได้พลิกดูยุทธศาสตร์ชาติที่กำลังมีการจัดทำ ได้กำหนดกรอบแนวทางปฏิบัติกว้างๆ ว่าจะทำโน่นทำนี่อยู่ 6 ด้าน คือ ด้านความมั่นคง ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐ
อ้าว! มันคนละตำรากับที่อาจารย์สอนเรานี่หว่า
แต่จะไม่บอกว่า คิดแบบใครผิด คิดแบบใครถูก
ถึงวันนี้...เรายังไม่เห็นมีใครปฏิเสธ หรือโต้แย้งว่าเมืองไทยต้องมียุทธศาสตร์ เพื่อที่จะกำหนดทิศทางของประเทศ ให้ได้รู้ว่าเราจะมีอนาคตข้างหน้าอย่างไร ลูกหลานที่จะเติบโตมาในวันข้างหน้าจะมีชีวิตความเป็นอยู่แบบไหน
และถ้าหากคนไทยจะเชื่อและยอมรับว่า “ยุทธศาสตร์ที่ดี ควรถูกกำหนดขึ้นตามวิสัยทัศน์ที่เกิดจากการคิดร่วมกันของคนในองค์กร” ดังนั้น เมื่อเปรียบประเทศไทยเสมือนองค์กร ประชาชนคนไทยทุกคนก็ควรจะได้มีส่วนร่วมในการกำหนด ยุทธศาสตร์ เพื่อลูกเพื่อหลานของตนเองในอนาคตด้วยหรือเปล่า !!
ถ้าเชื่อแบบนี้ ทำไมจึงไม่มีเวทีให้เขาได้มีส่วนร่วม
รัฐธรรมนูญก็เขียนไว้ให้การจัดทำยุทธศาสตร์ ต้องรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
ก็ยังดิ้นหารูหนีออกจนได้ ใช้แต่คนรอบข้างไม่กี่คน ลักไก่เขียนเอาไว้แล้วนำมาเป็นกรอบบังคับให้คนทั้งประเทศต้องยึดเป็นแบบอย่างเดินตาม ทั้งๆ ที่ยังมีคนจำนวนมากกังขา ไม่ยอมรับและไม่เชื่อว่า นี่คือยุทธศาสตร์ชาติที่ดี
ไม่ใช่ยุทธศาสตร์ที่คนทั้งประเทศเห็นชอบ
แต่มันคือกติกาของ คสช. ที่กำหนดไว้ และนำมาใช้บังคับ ล้วนๆ
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS