{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ร่วมเวที CEO Dialogue : แลกเปลี่ยนความคิดเห็นโครงการธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนสำหรับภาคธุรกิจในตลาดทุนไทย (ระยะที่ 2) ในหัวข้อ"เตรียมความพร้อมธุรกิจสู่การตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน" จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ร่วมกับ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อระดมความเห็นและแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากผู้บริหารองค์กรภาคเอกชน นำมาเป็นข้อมูลประกอบการจัดทำเครื่องมือช่วยส่งเสริมภาคธุรกิจดำเนินการด้วยการเคารพสิทธิมนุษยชน ตามหลักการชี้แนะขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (UNGPs) อย่างเป็นรูปธรรม
นายประสิทธิ์ กล่าวว่า ซีพีเอฟมีการลงทุนใน 17 ประเทศทั่วโลกและส่งออกมากกว่า 40 ประเทศ บริษัทดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานของความยั่งยืน โดยยึดปรัชญา 3 ประโยชน์ คือ ไปลงทุนที่ไหนแล้วต้องทำประโยชน์ให้ประเทศนั้นๆ เพื่อที่จะอยู่ได้ในระยะยาวอย่างยั่งยืน ต้องทำประโยชน์ให้กับสังคม หากทำทั้งสองเรื่องสำเร็จ ก็จะทำให้บริษัทอยู่ได้ในระยะยาว นอกจากนี้ ภายใต้เป้าหมายกลยุทธ์ CPF 2030 Sustainability in Action ซึ่งเป็นเป้าหมายสู่ความยั่งยืนของซีพีเอฟ ยังได้บรรจุเรื่องของสิทธิมนุษยชนเป็นหนึ่งในหัวข้อหลักด้วย
พร้อมกันนี้ ซีอีโอ ซีพีเอฟ ยกตัวอย่างการดำเนินโครงการต่างๆของบริษัทที่ให้ความสำคัญกับเรื่องของสิทธิมนุษยชน ทั้งกลุ่มของลูกค้า พนักงาน คู่ค้า ซึ่งต้องทำทั้งซัพพลาย เชน อาทิ การรับพนักงานต่างชาติเข้ามาร่วมงาน ที่บริษัทฯ จัดจ้างตรงจากประเทศต้นทาง โดยรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในกระบวนการจัดจ้างทั้งหมด ทั้งค่าตรวจโรค ค่าวีซ่า ค่าเดินทาง จนพนักงานเดินทางถึงประเทศไทย เพื่อไม่ให้แรงงานต่างชาติมีภาระหนี้สิน (debt free recruitment process) จากการสมัครงาน และพนักงานต่างชาติทุกคนยังได้รับค่าตอบแทนและสวัสดิการเท่าเทียมกับพนักงานคนไทย นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้ทวนสอบหลังการจัดจ้าง เพื่อให้มั่นใจว่ากระบวนการจัดจ้างพนักงานต่างชาติดำเนินการอย่างโปร่งใส
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS