สสว. MOU จุฬา เรื่องกฎหมายควรรู้เพื่อ SME

นายวีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กล่าวภายหลังพิธีลงนามความร่วมมือระหว่าง สสว. และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย คณะนิติศาสตร์ เรื่อง การจัดการและเชื่อมโยงองค์ความรู้ทางกฎหมายให้แก่ผู้ประกอบการ MSME ผ่าน e-Learning Platform (SME Academy 365) ว่า ความร่วมมือครั้งนี้ สืบเนื่องจาก สสว. มีพันธกิจหลักในการบูรณาการและผลักดันการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อให้เอสเอ็มอีสามารถเติบโตและแข่งขันได้ในระดับสากล

จากวัตถุประสงค์ดังกล่าว สสว. และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย คณะนิติศาสตร์ จึงได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมเพื่อสนับสนุนและและส่งเสริมความร่วมมือด้านวิชาการ โดยการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ การศึกษาวิจัยกฎหมาย การจัดการศึกษาอบรม รวมถึงความร่วมมือกันในการจัดกิจกรรมและโครงการต่างๆ ภายใต้คณะนิติศาสตร์ เช่น โครงการห้องปฏิบัติการกฎหมาย (LawLab) เพื่อให้เป็นประโยชน์ในการส่งเสริมและพัฒนางานด้านกฎหมาย โดยเฉพาะการจัดการและเชื่อมโยงองค์ความรู้ทางกฎหมายให้แก่ผู้ประกอบการ MSME

นายวีระพงศ์ กล่าวอีกว่า สำหรับตัวอย่างที่เป็นอุปสรรค หรือผลกระทบกับเอสเอ็มอี ได้แก่ 
กฎหมายที่บังคับ หรืออาจมีผลกระทบกับเอสเอ็มอีในการขาดความรู้ความเข้าใจ ได้แก่ เรื่อง PDPA (Personal Data Protection Act B.E. 2019) หรือ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ซึ่ง พ.ร.บ. ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อการใช้หรือการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งสามารถระบุตัวบุคคลได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม นอกจากนี้ ยังมีเรื่องกฎหมายที่อาจจะเป็นอุปสรรคและกีดกันทางการค้า ในลักษณะที่ไม่ใช่เรื่องภาษี เช่น เรื่องสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเรื่องกฎหมาย หรือใบอนุญาตโรงแรมขนาดเล็ก เกสเฮ้าส์ หรือโรงแรมเล็กๆ และอื่นๆ

สำหรับกฎหมายที่ถือเป็นโอกาสหรือมีผลกระทบทางบวกสำหรับเอสเอ็มอี ได้แก่ พ.ร.บ. แข่งขันทางการค้า ซึ่งเอสเอ็มอีรายเล็ก จะได้ประโยชน์จากการที่จะได้เครดิตเทอม 30 วัน สำหรับเอสเอ็มอีที่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล และ เครดิต 15 วันสำหรับผู้ประกอบการที่จดทะเบียนบุคคลธรรมดา พ.ร.บ. ทรัพย์สินทางปัญญา จะช่วยสร้างแรงจูงใจให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ เพราะผู้คิดค้นสามารถใช้ประโยชน์ สร้างมูลค่าจากนวัตกรรมเหล่านั้นได้ กลไกที่ใช้ในการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา เช่น สิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ เครื่องหมายทางการค้า


COMMENTS

{{ errors.name }}

{{ errors.value }}

{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}

RELATED TOPICS

Please wait a moment