{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีองค์ประธานที่ปรึกษามูลนิธิรางวัลรัตนราชสุดาสารสนเทศ พระราชทาน “รางวัลรัตนราชสุดาสารสนเทศ” ครั้งที่ 2 (ประจำปี 2564) ให้แก่ ดร.รอยล จิตรดอน บุคคลผู้สร้างคุณูปการอย่างใหญ่หลวงทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศแก่สังคมส่วนรวมและประเทศชาติ อันมีผลงานเป็นที่ประจักษ์และเป็นรูปธรรม ในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศขั้นสูงมาบริหารจัดการทรัพยากรน้ำชุมชน ช่วยพลิกชีวิตความเป็นอยู่และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างยั่งยืน รางวัลพระราชทาน ประกอบด้วย เงินรางวัล 2,000,000 บาท เข็มเชิดชูเกียรติทองคำและโล่พร้อมใบประกาศเกียรติคุณ
ดร.รอยล จิตรดอน เป็นผู้มีผลงานและเกียรติประวัติด้านการบริหารจัดการข้อมูลทรัพยากรน้ำในอันดับสูงสุดของประเทศไทย เป็นผู้ริเริ่มดำเนินโครงการศึกษาวิจัยเรื่อง “การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ชุมชน” โดยพัฒนาระบบ Weather 901 เพื่อส่งข้อมูลสภาพภูมิอากาศทั้งในและต่างประเทศ ด้วยระบบออนไลน์ แบบเรียลไทม์ ในการติดตามการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ สถานการณ์น้ำ ปริมาณฝน และทิศทางลม เพื่อเตรียมการวางแผนช่วยเหลือประชาชนได้อย่างทันท่วงที ปัจจุบันพัฒนาจนเกิดเป็น “คลังข้อมูลน้ำและภูมิอากาศแห่งชาติ” ซึ่งเป็นระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำยุคใหม่ของประเทศ ที่อาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศขั้นสูง ผนวกกับฐานข้อมูล ฐานความรู้ และฐานงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ วิทยาการข้อมูล การใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อก่อให้เกิดองค์ความรู้ที่ทันสมัย ระบบนี้เปิดให้บริการแก่ทุกคนผ่านเว็บไซต์ www.thaiwater.net และ Mobile Application ชื่อ ThaiWater ซึ่งไม่เพียงแต่หน่วยงาน องค์กรต่าง ๆ จะนำไปใช้แล้ว ประชาชนทั่วไปยังสามารถเข้าถึงข้อมูล ติดตามสถานการณ์น้ำและสภาพอากาศด้วยตนเองได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ทุกที่ ทุกเวลา โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
นอกจากนี้ ดร.รอยล ยังมีผลงานการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศอื่น ๆ ที่สำคัญ เช่น ระบบโทรมาตรเคลื่อนที่ ขนาดเล็ก, Data GRID และ Geographical Information Infrastructure เป็นต้น รวมถึงได้ดำเนินโครงการตามแนวพระราชดำริในด้านการจัดการทรัพยากรน้ำในชุมชน ตามหลักการของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาอย่างต่อเนื่อง โดยยึดหลักสำคัญ คือ การแก้ปัญหาน้ำท่วมและน้ำแล้งควบคู่กัน ในการพัฒนาพื้นที่ในเขตชลประทานให้เกิดความมั่นคงด้านน้ำ และพัฒนาโครงสร้างขนาดเล็ก จัดการน้ำของชุมชนในพื้นที่นอกเขตชลประทาน ส่งเสริมการจัดการทรัพยากรน้ำชุมชนด้วยยุทธศาสตร์ และมาตรการที่หลากหลายอย่างเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และนำมาบูรณาการการพัฒนาทั้งด้านน้ำ การเกษตร และพลังงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ ที่สำคัญคือการดำเนินงานร่วมกันระหว่างชุมชนและเครือข่ายท้องถิ่น ทำให้โครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมเกิดความสมดุล นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS