จันวาณิชย์ ผนึก SCB Academy ปั้นหลักสูตรพิเศษเตรียมพร้อมบุคลากรของประเทศรับเทรนด์โลก

นายธนพล กองบุญมา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท จันวาณิชย์ จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทร่วมมือกับ SCB Academy เพื่อสร้างรูปแบบการเรียนรู้แบบใหม่ที่ผู้เรียนใช้เวลาน้อยลงแต่ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น สามารถทำงานจริงได้ ภายใต้ชื่อ “โครงการสร้างความร่วมมือพัฒนาบุคลากรที่มีศักยภาพสูงสู่องค์กร” โดยบริษัทมีความมุ่งมั่นที่จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยสร้างและพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในประเทศให้แข็งแกร่ง สามารถแข่งขันได้ ภายใต้ความร่วมมือกับ SCB Academy โดยจะมุ่งเน้นหลักสูตรสำหรับกลุ่มงานหรือกลุ่มอาชีพที่เริ่มพัฒนาในระยะแรก ได้แก่ กลุ่มงานดิจิทัล กลุ่มงานไอที และกลุ่มงานอีคอมเมิร์ซ ซึ่งโครงการนี้ เป็นการร่วมมือกันของสององค์กรเพื่อพัฒนาหลักสูตรและแพลตฟอร์มการเรียนรู้ สำหรับพัฒนาบุคลากรด้วยความปรารถนาที่จะยกระดับทักษะดิจิทัลให้กับกำลังคนที่อยู่ในตลาดแรงงานในปัจจุบัน สร้างกำลังคนและบุคลากรดิจิทัลที่มีคุณภาพ และเตรียมความพร้อมด้านดิจิทัลให้แก่กลุ่มคนที่กำลังจะก้าวเข้าสู่ตลาดแรงงานเพื่อเปิดโลกและสร้างโอกาสใหม่ๆ ในตลาดแรงงานแห่งโลกอนาคต

ทั้งนี้ จันวาณิชย์เติบโตมาจากโรงพิมพ์ด้านซีเคียวริตี้ และปรับตัวเข้าสู่งานไอที และงาน Trusted Service เพื่อเสริมความแข็งแกร่งในยุคดิจิทัล ระยะเวลาที่ผ่านมา 101 ปี ทำให้จันวาณิชย์เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาและส่งเสริมบุคลากรโดยเฉพาะกลุ่มดิจิทัลเพื่อตอบโจทย์งานในปัจจุบันและในอนาคต จึงได้สร้างแพลตฟอร์มเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากรให้สอดคล้องกับการจ้างงานปัจจุบัน โดยระบบจะมีการคัดกรองคนทั้งทางด้าน Soft skill และ Hard skill พร้อมทั้งพัฒนาศักยภาพบุคลากรเหล่านั้นให้แข็งแกร่งและมีความสามารถในการแข่งขัน สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานในปัจจุบันได้ นอกเหนือจากการพัฒนาแพลตฟอร์มเองแล้ว บริษัทฯ ยังมีการลงทุนในบริษัทสตาร์ทอัพต่างๆ อีกมากมาย

นายวรวัจน์ สุวคนธ์ รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุด กลุ่มงาน SCB Academy ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวเสริมว่า โครงการสร้างความร่วมมือพัฒนาบุคลากรที่มีศักยภาพสูงสู่องค์กรระหว่าง SCB Academy และ บริษัท จันวาณิชย์ จำกัด เป็นโปรแกรมพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลที่ถูกออกแบบเป็นพิเศษ ให้สามารถพัฒนาทักษะได้อย่างรวดเร็วกว่าเดิม อย่างน้อย 2-3 เท่า ทำให้สามารถเรียนจบได้ภายใน 3-6 เดือน และมีประสบการณ์ทำงานเทียบเท่ากับคนที่มีประสบการณ์การทำงาน 1-2 ปี โดยมีรูปแบบการเรียนรู้แบบเฉพาะบุคคล (Personalization) มีเนื้อหาที่สั้นกระชับ และสามารถปรับให้เหมาะกับระดับความรู้ของแต่ละบุคคล เมื่อเรียนจบแล้วสามารถทำงานได้จริง ในองค์กรชั้นนำต่าง ๆ ในตำแหน่งที่เทียบเท่ากับคนที่มีประสบการณ์

หลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้จะถูกออกแบบขึ้นมาใหม่และไม่ได้เน้นไปที่ทักษะดิจิทัลเท่านั้นหากแต่ยังบูรณาการ ทักษะการเรียนรู้ (Learning How to Learn) ทักษะชีวิตหรือทักษะสำคัญแห่งโลกอนาคต (Essential Future Skills) และวิถีการทำงานแบบใหม่ (New Ways of Works) เพื่อให้ผู้ที่ผ่านหลักสูตรของโครงการมีทักษะที่รอบด้านและมีวิถีการทำงานที่สอดรับกับบริบทของโลกที่เปลี่ยนไปเพื่อให้ยังดำรงอยู่ได้ไม่ว่าโลกจะเปลี่ยนไปไวแค่ไหนตาม

โครงการนี้ ไม่เพียงแต่จะพัฒนาบุคลากรที่มีศักยภาพสูงสู่องค์กรเท่านั้นแต่ยังเป็นการสนับสนุนการขับเคลื่อนการพัฒนาพัฒนาทักษะดิจิทัลสำหรับกำลังคนของไทยให้สอดคล้องกับทิศทางของร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570) หมุดหมาย ที่ 12 “ไทยมีกำลังคนสมรรถนะสูง มุ่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ตอบโจทย์การพัฒนาแห่งอนาคต” ของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ภายใต้เป้าหมายหลัก “การพัฒนาคนสำหรับโลกยุคใหม่”ซึ่งก็คือโลกยุคดิจิทัลอีกด้วย


COMMENTS

{{ errors.name }}

{{ errors.value }}

{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}

RELATED TOPICS

Please wait a moment