คมนาคมเร่งรัดโครงการแหลมฉบังเฟส 3

“อธิรัฐ” รมช.คมนาคมเร่งติดตามโครงการแหลมฉบัง เฟส 3 ก่อสร้างล่าช้า พร้อมมอบนโยบายท่าเรือแหลมฉบัง เตรียมพร้อมรับ EEC ปี 68

นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ลงพื้นที่ ติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 พร้อมมอบนโยบายการท่าเรือแหลมฉบัง โดยมี นายเกรียงไกร ไชยศิริวงศ์สุข ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย นายบัณฑิต สาครวิศวะ ผู้อำนวยการท่าเรือแหลมฉบัง พร้อมผู้บริหารให้การต้อนรับ ณ ห้องประชุม 1 อาคารบริหารท่าเรือแหลมฉบัง จ.ชลบุรี

โดยนายอธิรัฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ขณะนี้ความคืบหน้าการดำเนินงานโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ในส่วนท่าเทียบเรือ F ซึ่ง กทท.เป็นผู้ดำเนินงานก่อสร้างงานทางทะเลเพื่อรองรับการก่อสร้างท่าเทียบเรือและโครงสร้างพื้นฐาน ท่าเรือชายฝั่ง ก่อสร้างระบบรถไฟ โดยภาพรวมล่าช้าประมาณ 12 เดือน เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้การดำเนินการงานขุดลอกถมทะเล สร้างเขื่อนกันคลื่น ล่าช้า ปัจจุบันงานมีความคืบหน้าประมาณ 5% มีระยะเวลาการดำเนินงาน 4 ปี (5 พ.ค.64 - 3 พ.ค. 68) ตนจึงได้สั่งการให้ กทท. จัดทำแผนเร่งรัดการก่อสร้าง ( Action Plan) โดยเพิ่มเครื่องมือเครื่องจักรในการทำงาน ใช้เทคนิคด้านวิศวกรรมเร่งรัดงานให้เร็วขึ้น เพิ่มจำนวนคนและเวลางาน เพื่อที่จะสามารถส่งมอบพื้นที่เพื่อให้ บริษัท จีพีซี อินเตอร์เนชั่นแนล เทอร์มินอล จำกัด เข้าดำเนินงานได้ภายในปี 2568 ตามสัญญา

โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ในส่วนของท่าเทียบเรือ F เมื่อพัฒนาแล้วจะเพิ่มขีดความสามารถท่าเรือแหลมฉบังจาก 11 ล้านตู้/ปี เป็น 18 ล้านตู้/ปี รองรับการขยายตัวของปริมาณเรือขนส่งสินค้าทางทะเลเพิ่มขึ้น และเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรองรับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ที่จะแล้วเสร็จในปี 68 จึงได้มอบนโยบายการดำเนินงานให้ท่าเรือแหลมฉบัง

1.แผนปฏิบัติการโครงสร้างพื้นฐาน EEC ประจำปี 2566-2570 ภายใต้แผนยุทธศาสตร์และเป้าหมาย ในส่วนที่เกี่ยวข้อง ให้ ท่าเรือแหลมฉบัง จัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) การพัฒนาพื้นที่ท่าเรือแหลมฉบังให้รองรับปริมาณตู้สินค้าอย่างเพียงพอ

2. เร่งแก้ไขปัญหาการจราจรและความแออัดในท่าเรือแหลมฉบัง เน้นการบูรณาการกับทุกภาคส่วนในการแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะการจัดการด้านข้อมูลใช้เทคโนโลยีที่เชื่อมโยงข้อมูลถึงกัน

3. Green Port การมุ่งสู่ท่าเรือพาณิชย์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยการใช้เทคโนโลยีพลังงานสะอาด เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ ทดแทนการใช้พลังงานเชื้อเพลิง เพื่อลดมลพิษในบริเวณท่าเรือ หรือลดการใช้พลังงานไฟฟ้า

ทั้งนี้ เพื่อให้ท่าเรือแหลมฉบังเป็นประตูการค้าการลงทุน สามารถส่งเสริมสนับสนุนทั้งด้านนโยบายและด้านโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ทำให้โครงการ EEC ประสบความสำเร็จ เสริมยุทธศาสตร์ที่ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการค้าบริการขนส่งเชื่อมภูมิภาคเอเชียไปสู่ระดับโลก


COMMENTS

{{ errors.name }}

{{ errors.value }}

{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}

RELATED TOPICS

Please wait a moment