{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
ผู้ถือหุ้น “PACO” อนุมัติปันผลเพิ่มอีก 0.05 บาทต่อหุ้น ประกาศขึ้นราคาสินค้า 1 พฤษภาคมนี้ เพื่อรักษามาร์จิ้น ในขณะที่ตลาด EV ยังร้อนแรง เพิ่มโอกาสรับงาน OEM โปรเจ็คใหม่ๆ จากค่ายรถที่เตรียมขึ้นไลน์ประกอบในประเทศ
นายสมชาย เลิศขจรกิตติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.เพรสซิเด้นท์ ออโตโมบิล อินดัสทรีส์ PACO เปิดเผยว่า ที่ประชุมผู้ถือหุ้นสามัญประจำปี ได้อนุมัติจ่ายเงินปันผลอัตรา 0.05 บาทต่อหุ้น โดยจะกำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่ได้รับสิทธิ์รับเงินปันผล ในวันที่ 6 พฤษภาคม 2565 หลังจากที่ PACO ได้จ่ายเงินปันผลระหว่างกาลอัตรา 0.03 บาทต่อหุ้นในช่วงปลายปีก่อน ทำให้รวมทั้งปี PACO จ่ายเงินปันผลทั้งสิ้น 80,000,000 บาท คิดเป็น 78.2% ของกำไรสุทธิเฉพาะกิจการหลังหักเงินสำรองตามกฎหมาย ซึ่ง PACO มีผลประกอบการประจำปี 2564 ที่เติบโตขึ้นอย่างชัดเจน มีรายได้รวม 696.5 ล้านบาทเติบโตขึ้นและมีกำไรสุทธิ เพิ่มขึ้นถึง 40% เป็น 108 ล้านบาท ตามอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยที่กลับมาขยายตัวอีกครั้ง และการฟื้นตัวตามเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวเร็ว
โดยในปี 2565 นี้ PACO คาดว่ารายได้รวมจะเติบโตต่อเนื่องประมาณ 20-25% มาจากการเติบโตของธุรกิจหลัก REM ที่ขยายทั้งตลาดต่างประเทศที่มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องเนื่องจากเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว กอรปกับตลาดรถยนต์ไทยและตลาดส่งออกหลักของบริษัทฯ คือประเทศในกลุ่มตะวันออกกลาง มีเศรษฐกิจที่ดีขึ้นจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง และจากตลาดในประเทศที่จำนวนสาขา PACO Auto Hub จะเพิ่มขึ้นเป็น 300 สาขา ขณะเดียวกัน บริษัทจะรับรู้รายได้จากธุรกิจใหม่ OEM เป็นปีแรกหลังจากเพิ่งได้รับงานเมื่อปลายปีที่ผ่านมา และจะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะในปีหน้า
ปัจจุบัน PACO มีรายได้จากการส่งออกมากกว่า 50% ของรายได้รวม ทำให้ได้รับประโยชน์จากการที่เงินบาทอ่อนค่าลง ขณะเดียวกัน PACO เตรียมขึ้นราคาสินค้าในวันที่ 1 พฤษภาคมนี้ เพื่อสะท้อนต้นทุนวัตถุดิบที่ปรับขึ้นตามราคาโภคภัณฑ์ และเพื่อรักษาอัตรากำไรขั้นต้น ซึ่งลูกค้าบริษัทฯ สามารถขึ้นราคาสินค้าที่จำหน่ายให้ลูกค้าปลายทางได้เช่นกัน ในขณะเดียวกันตลาดส่งออกของบริษัทฯ ยังเติบโตได้ดี เพราะไม่ได้รับผลกระทบจากสงครามรัสเซีย-ยูเครนแต่อย่างใด
นอกจากนี้ อุตสาหกรรมยานยนต์ กำลังเข้าสู่การผลิตยานยนต์ไฟฟ้า อย่างรวดเร็ว มีผู้ผลิตรถยนต์จำนวนมาก กำลังเตรียมการผลิตรถ EV รวมถึงมีค่ายรถใหม่หลายแห่งประกาศจะเข้ามาลงทุนประกอบรถ EV ในประเทศไทยแทนการนำเข้า เพื่อรับสิทธิประโยชน์จาก BOI ทำให้ PACO มีโอกาสที่จะได้รับงานโครงการ OEM เพิ่มมากขึ้น เนื่องจาก PACO เป็นผู้รับจ้างผลิตชิ้นส่วนแอร์รถยนต์ (OEM Manufacturer) ที่มีความพร้อมด้านเทคโนโลยี และมีประสบการณ์ในการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้า คือ Battery cooler และชิ้นส่วนแอร์รถยนต์สำหรับรถไฟฟ้า (EV) แบบ BEV (Battery EV) และ PHEV (Plug-in Hybrid) ในรูปแบบอะไหล่ทดแทน (REM) เพื่อจำหน่ายในประเทศและส่งออกไปต่างประเทศ”
PACO ได้เซ็นต์สัญญากับลูกค้าใหญ่รายแรกคือ ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่มุ่งเน้นรถยนต์ไฟฟ้า EV และ Plug-in Hybrid (PHEV) ซึ่งเป็นเทรนด์ใหม่ของโลกที่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่ง PACO ได้รับออเดอร์มูลค่าถึง 1,200 ล้านบาท ทำให้มีรายได้ที่มั่นคงรองรับกว่า 5 ปี สำหรับธุรกิจ OEM และรองรับรายได้ 10 ปีสำหรับธุรกิจรับจ้างผลิตอะไหล่ (OES) โดย PACO มีไลน์การผลิต อุปกรณ์เครื่องจักรมาตรฐานสากล พร้อมผลิตสินค้าให้ลูกค้าได้ทันทีโดยไม่ต้องลงทุนเพิ่ม อีกทั้งมีคู่แข่งน้อยรายในธุรกิจ จึงเชื่อมั่นว่า PACO มีโอกาสรับงานรับจ้างผลิต OEM ได้อีกจำนวนมาก
สำหรับตลาด REM หรือ Aftermarket ซึ่งเป็นตลาดหลักนั้น PACO เป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ทดแทนของไทยรายแรกที่ ได้ผลิต แบตเตอรี่คูลเลอร์ สำหรับ Tesla ซึ่งเป็น แบรนด์รถยนต์ไฟฟ้าอันดับ 1 ของโลก สำหรับรุ่น Tesla Model X และ Tesla 3 ตลอดจน รถยนต์ Plug-in Hybrid แบรนด์ BMW Series 3 และ Series 5 รุ่นปัจจุบัน (G20 และ G30) ซึ่งได้รับความนิยมสูงทั่วโลก โดย PACO เริ่มเปิดตลาดแบตเตอรี่คูลเลอร์ ทั้งตลาดส่งออกและตลาดในประเทศ
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS