IVL ร่วมมือกับ Carbios สร้างโรงงานรีไซเคิล PET ทางชีวภาพ เต็มรูปแบบแห่งแรกในฝรั่งเศส

นาย D K Agarwal ประธานผู้บริหารบริษัทอินโดรามา เวนเจอร์ส (IVL) เปิดเผยว่า อินโดรามา เวนเจอร์ส ร่วมมือกับ Carbios สร้างโรงงานรีไซเคิล PET ทางชีวภาพ เต็มรูปแบบแห่งแรกในฝรั่งเศส กำลังการรีไซเคิลขยะ PET ที่ 50,000 ตันต่อปี ประมาณการเงินลงทุนที่ต้องใช้ในโครงการนี้อยู่ที่ 150 ล้านยูโร สำหรับเทคโนโลยีหลักของ Carbios โดยรวมถึงขั้นตอนการ purification เพิ่มเติมเป็นการเฉพาะ ซึ่งได้รับการบูรณาการเข้าสู่กระบวนการแล้ว นอกจากนี้ ยังมีการจัดสรรงบการลงทุนอีกประมาณ 50 ล้านยูโรเพื่อการเตรียมการด้านสาธารณูปโภคพื้นฐานของโรงงาน คาดการณ์ว่าจะสร้างงานประจำเต็มเวลาทั้งทางตรงและทางอ้อมกว่า 150 ตำแหน่ง พร้อมเริ่มดำเนินงานได้ในปี 2568 ได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากรัฐบาลฝรั่งเศส และภูมิภาค Grand-Est พร้อมแหล่งเงินทุนที่ไม่ส่งผลกระทบทางการเงิน และจะพิจารณาการขยายกระบวนการรีไซเคิลทางชีวภาพที่เป็นเอกลักษณ์ของ Carbios นี้ไปยังโรงงานผลิต PET แห่งอื่นๆ เพื่อการพัฒนาต่อยอดในอนาคต

สำหรับ Carbios (จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ปารีส Euronext Growth Paris: ALCRB) บริษัทผู้ริเริ่มการพัฒนาโซลูชั่นทางเอนไซม์เพื่อจัดการพลาสติกและพอลิเมอร์สิ่งทอหลังการใช้งาน ได้ประกาศความร่วมมือร่วมกับ อินโดรามา เวนเจอร์ส บริษัทผู้ผลิต PET ชั้นนำระดับโลก ในการสร้างโรงงานผลิตที่จะนำเทคโนโลยีการรีไซเคิล PET ทางชีวภาพมาใช้ที่โรงงานผลิต PET ของอินโดรามา เวนเจอร์ส ในประเทศฝรั่งเศส (เมือง Longlaville จังหวัด Meurthe-et-Moselle)

นาย Bruno Le Maire รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การคลังและการฟื้นฟู ประเทศฝรั่งเศส กล่าวว่า “มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ Carbios และ อินโดรามา เวนเจอร์ส ได้เลือกประเทศฝรั่งเศส เพื่อสร้างโรงงานรีไซเคิล PET ทางชีววิทยาเต็มรูปแบบแห่งแรก ด้วยความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์ Carbios ได้พัฒนาเทคโนโลยี และกระบวนการล้ำสมัยที่ช่วยให้สามารถแปรรูปขยะพลาสติกไปสู่ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าชิ้นใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โครงการที่มีความล้ำหน้านี้ช่วยแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของรัฐบาลภายใต้แผนยุทธศาสตร์ “ฝรั่งเศส 2030” ซึ่งเตรียมความพร้อมสำหรับความท้าทายต่างๆ ในช่วงทศวรรษหน้า การรวมเอาเทคโนโลยีชีวภาพและความมุ่งมั่นทางอุตสาหกรรมนี้ จะเป็นกุญแจสู่การมีระบบเศรษฐกิจที่หมุนเวียนมากยิ่งขึ้น

นาง Agnès Pannier-Runacher รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าว การที่ Carbios ได้ประกาศโครงการสำคัญที่จะรีไซเคิลพลาสติกโดยใช้ปฏิกิริยาทางเอนไซม์นั้น ได้แสดงให้เห็นถึงความสามารถของเราที่จะหล่อหลอมการก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำวิวัฒนาการในอุตสาหกรรม ที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีสุดล้ำสมัยสำหรับการเปลี่ยนผ่านพลังงาน ซึ่งถือเป็นสตาร์ทอัพทางอุตสาหกรรมในฝรั่งเศสที่ประสบความสำเร็จ ทั้งยังถือเป็นหนึ่งในเหตุการณ์สำคัญในแผนยุทธศาสตร์ “ฝรั่งเศส 2030” ทำให้อุตสาหกรรมของเรานั้นพร้อมที่จะตอบสนองต่อความต้องการในการเปลี่ยนผ่านนี้

ส่วนนาย Jean Rottner ประธานสภาภูมิภาค Grand-Est กล่าวว่า “พันธกิจหลักของเราคือการมีส่วนร่วมในการทำให้โลกของเราสะอาดขึ้น ไปพร้อมกับการสร้างงานและมูลค่าทางธุรกิจให้แก่ชุมชน ดังนั้น เราจึงมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อนรับ Carbios เข้าสู่ภูมิภาค Grand-Est และมีความภาคภูมิใจเป็นอย่างมากที่จะชื่นชมโรงงานที่ Longlaville แห่งนี้ที่ได้กลายมาเป็นโรงงานรีไซเคิล PET ทางชีวภาพ 100% เป็นแห่งแรกของโลก ผ่านความร่วมมือกับอินโดรามา เวนเจอร์ส ซึ่งเป็นบริษัทที่ดำเนินงานอยู่ในภูมิภาคของเรามาเป็นเวลานาน โรงงาน Carbios แห่งนี้ มีแนวทางการดำเนินงานที่สอดคล้องกับความตั้งใจของภูมิภาค Grand-Est ที่มุ่งเป็นภูมิภาคชั้นนำในระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนของ PET อย่างสมบูรณ์แบบ โครงการนี้จะเป็นเหตุการณ์สำคัญที่จะสร้างระบบนิเวศวิทยาของเราที่สมบูรณ์

ประมาณการเงินลงทุนที่ต้องใช้ในโครงการนี้อยู่ที่ 150 ล้านยูโร สำหรับเทคโนโลยีหลักของ Carbios โดยรวมถึงขั้นตอนการ purification เพิ่มเติมเป็นการเฉพาะ ซึ่งได้รับการบูรณาการเข้าสู่กระบวนการแล้ว นอกจากนี้ ยังมีการจัดสรรงบการลงทุนอีกประมาณ 50 ล้านยูโรเพื่อการเตรียมการด้านสาธารณูปโภคพื้นฐานของโรงงาน โครงการนี้ได้รับการคาดการณ์ว่าจะสร้างงานประจำเต็มเวลาทั้งทางตรงและทางอ้อมกว่า 150 ตำแหน่ง โดยต่อจากนี้ Carbios คาดหวังว่าจะได้ข้อสรุปเรื่องการสนับสนุนแหล่งเงินทุนที่ไม่ส่งผลกระทบทางการเงินที่เข้มแข็งจากรัฐบาลฝรั่งเศส และภูมิภาค Grand-Est5 ตามข้อเสนอที่ Carbios ได้รับมาเมื่อสัปดาห์ที่แล้วจากนาง Agnès Pannier-Runacher รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และนาย Jean Rottner ประธานสภาภูมิภาค Grand-Est


COMMENTS

{{ errors.name }}

{{ errors.value }}

{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}

RELATED TOPICS

Please wait a moment