{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
ดีป้า ไฟเขียว 6 โครงการที่ขอรับการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพกำลังคนและบุคลากรด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล แก่ประชาชนทั่วไป ผู้สูงวัย และกลุ่ม Mid-career รวม 2,700 ราย ช่วยต่อยอดผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมดิจิทัล 200 ราย
ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า เปิดเผยว่า หนึ่งใน ที่ประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาการส่งเสริมและสนับสนุน ครั้งที่ 1/2565 มีมติเห็นชอบ 6 โครงการขอรับการส่งเสริมและสนับสนุนผ่านมาตรการช่วยเหลือหรือการอุดหนุนการพัฒนาศักยภาพกำลังคนและบุคลากรด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล ซึ่งเป็นโครงการที่ ดีป้า จะดำเนินการร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ประกอบด้วย
1. โครงการส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์สำหรับแฮกเกอร์หมวกขาว โดยร่วมกับสมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย
2. โครงการพัฒนาทักษะการสร้างสรรค์เว็บไซต์เพื่อเพิ่มรายได้ในยุคดิจิทัล ร่วมกับ สมาคมผู้ดูแลเว็บไทย
3. โครงการส่งเสริมการพัฒนาทักษะการตลาดออนไลน์ ร่วมกับ สำนักการศึกษาทั่วไป สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
4. โครงการพัฒนาทักษะให้ผู้สูงวัยเผยแพร่ความรู้ค้าขายและการตลาดออนไลน์สู้ภัยไซเบอร์ ร่วมกับ ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
5. โครงการพัฒนาทักษะให้ผู้สูงวัยเผยแพร่ความรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล ร่วมกับ มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย
6. โครงการพัฒนาศักยภาพและทักษะด้านมาตรฐาน ISO/IEC 29110 เพื่อต่อยอดการเป็นผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมดิจิทัล ร่วมกับ กลุ่มดิจิทัล สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
โดยโครงการที่ผ่านการพิจารณาจากที่ประชุมครั้งนี้จะช่วยพัฒนาทักษะดิจิทัลแก่ประชาชนทั่วไป ผู้สูงวัยกลุ่ม Mid-career ไม่ว่าจะเป็นแรงงานที่กำลังหางาน บุคลากรภาครัฐและเอกชน รวม 2,700 ราย พัฒนาศักยภาพและทักษะด้านมาตรฐาน ISO/IEC 29110 เพื่อต่อยอดการเป็นผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมดิจิทัลของประเทศ 200 ราย ส่วนประชาชนที่สนใจจะพัฒนาทักษะ เพิ่มองค์ความรู้ด้านดิจิทัล สามารถเข้าร่วมอบรมโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในโครงการ HACKaTHAILAND กับกิจกรรม HACKaTHAILAND Online Learning ได้แล้ววันนี้ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.hackathailand.com
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS