ทีเอ็มบีธนชาต มาใหม่ “ttb multi-currency account” เสริมแกร่งการค้าระหว่างประเทศยุคดิจิทัล

ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี (ttb) พัฒนาบัญชีสำหรับบริหารหลายสกุลเงินที่ดีที่สุด “ttb multi-currency account” ดิจิทัล end-to-end เต็มรูปแบบ ผ่านอินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้ง สะดวก ง่าย ครบ จบในบัญชีเดียว ตอบโจทย์โลกธุรกิจนำเข้าและส่งออก

นายศรัณย์ ภู่พัฒน์ หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารธุรกิจตลาดเงินและบริการธุรกรรมทางการเงิน ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี (ttb) เปิดเผยว่า ทีเอ็มบีธนชาต ได้พัฒนาดิจิทัลโซลูชันทางการเงิน เพื่อช่วยแก้ปัญหาให้กับผู้ประกอบการนำเข้าและส่งออก เพื่อลดความยุ่งยากในการบริหารจัดการหลายสกุลเงิน คือ ttb multi-currency account หรือ บัญชีสำหรับบริหารหลายสกุลเงินที่ดีที่สุด เพื่อธุรกิจนำเข้าและส่งออก ยกระดับประสบการณ์การใช้งานดิจิทัล ครบทุกขั้นตอน แบบ end-to-end อย่างเต็มรูปแบบ ผ่านอินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้ง บริหารงานสะดวก ใช้งานง่าย ครบ จบในระบบเดียว

บัญชี ttb multi-currency account มีฟีเจอร์การใช้งานที่โดดเด่นด้วยคอนเซ็ปต์ 4 One คือ

One Account – บัญชีเดียว รองรับได้มากถึง 11 สกุลเงินหลัก รวมถึงสกุลเงินหยวน

One Platform – เข้าถึงทุกบริการ จากทุกอุปกรณ์ ประสบการณ์เดียวกันทั้งคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต และสมาร์ทโฟน ทำทุกธุรกรรม ได้ทุกที่ทุกเวลา

One to Control – ระบบเดียวทำได้ทุกธุรกรรม โอนเงินได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงธุรกรรมด้านสินเชื่อ ติดตามอัตราแลกเปลี่ยนได้ตลอดเวลา พร้อมล็อกเรทอัตราแลกเปลี่ยนทันทีที่ต้องการ ค้นหารายการได้ง่ายขึ้น ด้วย Smart Search แค่พิมพ์ Key Word และติดตามสถานะของรายการได้แบบเรียลไทม์

One to Command – สรุปรายงานของทุกบัญชี ทุกสกุลเงินได้ภายในหน้าเดียว (11 สกุลเงิน) พร้อมดาวน์โหลดเอกสารได้ง่าย ๆ สะดวก ไม่ยุ่งยาก สามารถสรุปทุกวงเงินสินเชื่อทั้งในประเทศและต่างประเทศ ครบถ้วนในหน้าจอเดียว รวมทั้งเรียกดูข้อมูลและบัญชีของบริษัทในเครือได้ด้วย Group Company View

บัญชี ttb multi-currency account จะช่วยให้ผู้ประกอบการธุรกิจนำเข้าและส่งออก สามารถบริหารจัดการเรื่องสกุลเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นในหลายด้าน ได้แก่

สะดวก คล่องตัว เพราะรองรับ 11 สกุลเงินหลักภายในบัญชีเดียวสามารถซื้อ ขาย รับ จ่าย ได้อย่างสะดวกทั้งในประเทศและต่างประเทศ แลกเปลี่ยนระหว่างสกุลเงินบาทและสกุลเงินต่างประเทศไว้ล่วงหน้าได้ และโอนเงินสกุลต่างประเทศออกได้ทันที

ช่วยต่อยอดธุรกิจ เพราะ ผู้ประกอบการจะรับดอกเบี้ยเงินฝากต่างประเทศทันทีเมื่อมีเงินโอนเข้า การใช้เพียงเลขที่บัญชีเดียวในการบริหารจัดการกับคู่ค้า แทนที่จะมีหลายเลขที่บัญชี FCD ให้ยุ่งยาก

รู้ภาพรวมธุรกิจทำให้ควบคุมธุรกิจได้ เพราะมีการแจ้งเตือนทุกรายการ เงินโอนเข้า-ออกและรายการแลกเปลี่ยนสกุลเงินทาง E-mail notification และ เรียกดูสรุปทุกสกุลเงินได้ใน Statement เดียว ได้ตลอดเวลา

โดยคาดว่าในปี 2565 นี้จะสามารถเพิ่มจำนวนบัญชีได้อีก 400-500 บัญชี

นายศรัณย์ กล่าวว่า การนำเข้าและส่งออก มีความสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศไทยเป็นอย่างมาก เห็นได้จากตัวเลขสัดส่วนภาคธุรกิจนำเข้าและส่งออกต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) ที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยในปี 2564 ที่ผ่านมาเติบโตได้ถึง 127% ท่ามกลางสถานการณ์โควิด ซึ่งถือได้ว่าธุรกิจนำเข้าและส่งออก เป็นธุรกิจที่ช่วยกอบกู้วิกฤตเศรษฐกิจให้กับประเทศไทย ตั้งแต่ช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง ที่ธุรกิจนำเข้าและส่งออกมีอัตราการเติบโตถึง 12 % ส่งผลให้ GDP โดยภาพรวมของประเทศไทยในช่วงนั้น จากติดลบ 7% มาเป็นเติบโตได้ 4% และในช่วงวิกฤตโควิด-19 ธุรกิจนำเข้าและส่งออกก็ยังเติบโตได้ถึง 23% ในปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ GDP โดยภาพรวมของประเทศไทย จากติดลบ 6% มาเป็นเติบโตได้ 1%

ด้านนายนริศ สถาผลเดชา หัวหน้าศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี (ttb analytics) ประเมินภาพรวมเศรษฐกิจไทยปี 2565 จะขยายตัวต่อเนื่องที่ 3.9% ด้วยปัจจัยหนุนทั้งจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง การส่งออกที่เติบโตดี และการทยอยฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวในช่วงครึ่งปีหลัง ซึ่ง ttb analytics คาดการณ์มูลค่าส่งออกทั้งปี 2565 ในรูปของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐจะขยายตัวที่ 4.5% ส่วนการบริโภคภาคเอกชนมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องจากแรงหนุนของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ขณะที่แรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่เกิดจากการปรับสูงขึ้นของราคาพลังงานและปัญหา Supply Disruption คาดว่าจะผ่อนคลายในช่วงครึ่งปีหลัง ประเมินอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปียังอยู่ในกรอบเป้าหมายที่ระดับ 1.8%

สำหรับตลาดเงินนั้น มองว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะทรงตัวอยู่ในระดับ 0.5% เพื่อเอื้อต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ภายใต้ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจในประเด็นเงินเฟ้อและการระบาดของโควิด-19 ค่าเงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลงจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากนโยบายการเงินที่ตึงตัวขึ้นของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา คาดการณ์กรอบเป้าหมายเงินบาทในปี 2565 ที่ระดับ 33.0-34.5 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยค่าเงินบาทมีแนวโน้มผันผวนสูงตลอดปีจากกระแสเงินทุนภายในและภายนอกประเทศ


COMMENTS

{{ errors.name }}

{{ errors.value }}

{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}

RELATED TOPICS

Please wait a moment