{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) เตรียมยกระดับหน่วยงานเป็น “บูรณากรระบบนวัตกรรมแห่งชาติ”รับกระทรวงใหม่ วางแผนเพิ่มความเข้มแข็งของระบบนวัตกรรมใน 5 ด้าน
ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA เปิดเผยว่า NIA กำลังเร่งทำแผนและนโยบายการดำเนินงานภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) โดยเรื่องแรกจะยกระดับ NIA ให้เป็น “บูรณาการระบบนวัตกรรมแห่งชาติ” ใน 2 มิติ คือ 1.การบูรณาการแนวระนาบเพื่อพัฒนาอุปทานทางนวัตกรรม (Horizontal System Integrator 4 Supply-side Development) ด้วยการเชื่อมโยงและประสานงานหน่วยงานสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรม เพื่อสร้างความเข้มแข็งในการทำงานร่วมกันของระบบนิเวศนวัตกรรม และ 2. การบูรณาการแนวดิ่งเพื่อพัฒนาอุปสงค์ทางนวัตกรรม (Vertical System Integrator 4 Demand-side Development) โดยเชื่อมโยงและประสานงานภาคเอกชน ภาคประชาสังคมและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อการพัฒนานวัตกรรมที่สร้างคุณค่าและผลกระทบทั้งเชิงเศรษฐกิจและสังคม
สำหรับแผนงานต่อมาเป็นแผนงานเร่งด่วน (ระหว่างปี 2563 – 2566) ที่จะต้องเร่งดำเนินการ ซึ่งเป็นแผนงานในการขับเคลื่อนเพื่อเพิ่มความเข้มแข็งของ “ระบบนวัตกรรม” 5 ด้าน ประกอบด้วย1.ปรับปรุงกฎหมายและข้อจำกัดทางการบริหารระบบนวัตกรรม โดยลดข้อจำกัดและสร้างสภาพแวดล้อมเชิงระบบที่เอื้อต่อการเติบโตของนวัตกรรม เช่น การปรับปรุงกฎหมายสตาร์ทอัพ พ.ร.บ. สำหรับการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์และการประกอบธุรกิจ
2.การสร้างโอกาสทางนวัตกรรมในภูมิภาค เป็นการยกระดับความเท่าเทียมและการพัฒนาอย่างเข้มแข็งของระบบนวัตกรรม ด้วยการสร้างเครือข่ายนวัตกรรมที่เข้มแข็งในพื้นที่ โดย NIA จะทำหน้าที่เชื่อมโยงส่วนราชการท้องถิ่น มหาวิทยาลัย ภาคเอกชน และชุมชน โดยมีเป้าหมาย 3 ข้อ ได้แก่ การทำให้ความสามารถด้านนวัตกรรมของบุคลากรที่อยู่ในระบบนิเวศนวัตกรรมเพิ่มขึ้น และเพิ่มจำนวนนวัตกรและองค์กรนวัตกรรมในพื้นที่ การพัฒนาคลัสเตอร์อุตสาหกรรมเป้าหมายในพื้นที่เพื่อเพิ่มศักยภาพการลงทุน และ การส่งเสริมอัตลักษณ์ด้านนวัตกรรมของพื้นที่ เพื่อก่อให้เกิดการขยายผลการลงทุนในธุรกิจนวัตกรรมของพื้นที่
3. การสร้างนักรบเศรษฐกิจนวัตกรรมใหม่ ซึ่งจะมุ่งเน้นสร้างนวัตกรและนวัตกรรมเพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยเฉพาะธุรกิจนวัตกรรมที่เติบโตได้ในระดับโลก และการสร้างงานแห่งอนาคต (Jobs for the future) โดยมีเป้าหมายไม่ต่ำกว่า 20,000 งาน
4.การเงินนวัตกรรม โดยมุ่งกระตุ้นการเติบโตนวัตกรรมด้วยเงินสนับสนุนและการลงทุนทั้งจากหน่วยงานภาครัฐ ธุรกิจขนาดใหญ่ สถาบันการเงิน รวมทั้งการทำตลาดให้กับผู้ประกอบการ และ 5. การสร้างภาพลักษณ์ประเทศแห่งนวัตกรรม ด้วยการสร้างการยอมรับและความร่วมมือด้านนวัตกรรมด้วยยุทธศาสตร์การทูตนวัตกรรม และ Innovation Thailand Campaign ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยได้รับการยอมรับทั้งความเชื่อมั่นในด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี และทำให้นานาประเทศรู้จักกับนวัตกรรมที่พัฒนาโดยคนไทยมากขึ้น
นอกเหนือจากแนวนโยบายที่จะดำเนินการในอนาคต NIA ยังจะมีการยกระดับแผนงานเดิมให้มีความเข้มข้นและเห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นโปรแกรม GROOM GRANT และ GROWTH โดย GROOM จะเป็นการส่งเสริมและสร้างผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรม รวมทั้งกระจายโอกาสในการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมในระดับส่วนกลางและภูมิภาคให้เพิ่มมากขึ้น
GRANT จะเน้นสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อพัฒนาธุรกิจนวัตกรรม และสร้างธุรกิจนวัตกรรมที่หลากหลายและเข้มแข็ง
GROWTH จะมุ่งยกระดับความสามารถธุรกิจนวัตกรรมของผู้ประกอบการไทยสู่เวทีนานาชาติ และสร้างโอกาสลงทุนเพิ่มในธุรกิจนวัตกรรม ด้วยการเชื่อมโยงระบบเทคโนโลยีและนวัตกรรมจากพันธมิตรต่างประเทศให้เกิดขึ้นอย่างหลากหลาย
ขณะเดียวกันยังมีการสร้างนวัตกรรมในเชิงพื้นที่ (Area Based Innovation) ไม่ว่าจะเป็น ระเบียงนวัตกรรม เมืองนวัตกรรม และย่านนวัตกรรม การส่งเสริมสตาร์ทอัพภายใต้โปรแกรม STARTUP THAILAND หน่วยงานเพื่อการยกระดับศักยภาพบุคลากรด้านนวัตกรรม เช่น สถาบันวิทยาการนวัตกรรม (NIA Academy) ศูนย์สร้างสรรค์ธุรกิจนวัตกรรมการเกษตร (ABC Center) สถาบันการมองอนาคตนวัตกรรม เป็นต้น
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS