{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
ใครบางคนอาจมองว่าสิ่งของที่เหลือจากการบริโภค หรือของเหลือใช้ เป็นได้แค่เพียงเศษขยะ แต่ใครบางคนอาจมองสิ่งเหล่านั้น เป็นโอกาสที่จะสร้างรายได้ สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้
หลายๆ คนสร้างโอกาสจากการสิ่งของเหลือใช้ หรือขยะของใครบางคน เช่น คนเก็บของเก่า ที่คัดแยกขยะไปขายจนสามารถสร้างฐานะให้กับตนเองได้
บางคนสามารถเอาขยะของเหลือใช้ไปสร้างสิ่งของที่สามารถเพิ่มราคา เพิ่มมูลค่า ออกไปขายได้ หรือแม้แต่ส่งออกไปขายนอกประเทศ
ตัวอย่างชุมชนท่าสาป อ.เมือง จ.ยะลา ที่บริเวณรอบพื้นที่มีการปลูกต้นมะพร้าวจำนวนมาก อาชีพชาวบ้านส่วนใหญ่ก็คือการขูดมะพร้าว เพื่อไปทำกะทิ
คือหลังจากชาวบ้านเอามะพร้าวมาแยกน้ำ เอาเนื้อไปทำกะทิแล้ว ก็เหลือกะลาเป็นของเหลือจำนวนมาก
กลายเป็นของเหลือ เป็นขยะ
จึงมีแนวคิดว่าจะเอาของเหลือ คือ กะลา มาทำประโยชน์อะไรได้บ้าง เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนได้มากขึ้น
จึงเป็นจุดเริ่มต้นในการตั้งกลุ่มกะลาท่าสาป มีสมาชิกจากคนในหมู่บ้าน
นางเสาะเด๊าะ โตะปิ ประธานกลุ่มกะลาท่าสาป เล่าให้ฟังว่า หลังจากมีแนวคิดที่จะเอากะลามะพร้าวมาต่อยอด ก็ให้สมาชิกที่มีความสามารถมาช่วยสอนสมาชิกคนอื่นๆ ซึ่งแรกๆ ก็จะเป็นแม่บ้านที่มีเวลาว่างหลังจากการค้าขายหรือออกไปกรีดยาง
ต่อมาก็ทางมหาวิทยาลัยราชภัฎยะลาได้เข้ามาช่วยสอนเพิ่มเติม ในการแปรรูปกะลามะพร้าวเป็นผลิตภัณฑ์หลายๆ อย่าง เช่น กระปุกออมสิน พวงกุญแจ ถ้วย แก้วน้ำ ชาม โถข้าว กระถาง เป็นต้น
การลงทุนเมื่อตอนเริ่มต้น 3 ปีที่แล้ว ก็ไม่มีอะไรมาก ก็หลักๆ จะมีเครื่องเจีย เลื่อย เหล็กขูดเนื้อ กระดาษทราย และแล็กเกอร์ เพราะกะลามะพร้าวมีอยู่แล้ว
วิธีการก็เริ่มจากว่าจะทำผลิตภัณฑ์อะไร แล้วก็เอากะลามะพร้าวมาออกแบบว่าต้องอย่างไร เช่น หากทำกระปุกออมสิน ก็ต้องมาปอก มาเจาะรูเอาน้ำออก ขูดเอาเนื้อออก แล้วก็เริ่มเจียรอบนอกให้เรียบ ทำตามแบบ เมื่อเสร็จแล้วก็ต้องเคลือบแล็กเกอร์ บรรจุใส่ผลิตภัณฑ์ให้เรียบร้อย
“พอเริ่มเอากะลามะพร้าวมาทำ ชาวบ้านที่ปลูกมะพร้าวก็เอามาขาย ทางกลุ่มก็จะแยกน้ำ เอาเนื้อออกไปทำกะทิ ที่สร้างรายได้ส่วนหนึ่ง กะลาก็เอามาทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ ก็ช่วยสร้างรายได้ให้กับกลุ่ม ให้กับชาวบ้านมากขึ้น”
ปัจจุบันกลุ่มกะลาท่าสาปมีสมาชิกประมาณ 15 คน ก็จะช่วยกันทำงาน ในแต่ละวันก็จะกำหนดว่าจะทำผลิตภัณฑ์อะไรบ้าง ส่วนใหญ่ก็ขึ้นอยู่กับว่ามีคำสั่งซื้ออะไรเข้ามา ก็จะทำตามนั้นก่อน ซึ่งเวลานี้ผลิตภัณพ์ของกลุ่มได้รับความสนใจอย่างมาก โดยเฉพาะจากชาวมาเลเซีย ที่สั่งซื้อเข้ามาผ่านทางออนไลน์ สินค้าที่ขายดีก็มีหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นกระปุกออมสิน พวงกุญแจ กระถางต้นไม้ ชาม
ส่วนราคาขายก็ขึ้นอยู่กับความยากง่ายของผลิตภัณฑ์ เช่น กระปุกก็อาจจะมีราคาสูง ซึ่งแต่ละแบบก็แตกต่างกัน หากทำได้ยากก็อาจขายประมาณ 200-250 บาท เมื่อมีคนสั่งมา ก็จะบวกค่าขนส่งตามที่จ่ายจริง ไม่ได้เก็บเพิ่ม
สำหรับรายได้ของกลุ่ม จากเดิมเคยได้ประมาณ หลักพันบาท เป็นหลักหมื่นต้นๆ ต่อปี แล้วเวลานี้ก็ได้ประมาณ 50,000 บาทต่อปี สามารถสร้างรายได้ให้กับสมาชิก แล้วในอนาคตหากมีคนมากขึ้น มีคำสั่งซื้อมากขึ้น ก็จะช่วยทำให้เศรษฐกิจในชุมชน สมาชิกของกลุ่มกะลาท่าสาปเพิ่มขึ้นไปตามด้วย
หากใครสนใจก็สามารถติดต่อไปได้ที่ กลุ่มกะลาท่าสาป อ.เมือง จ.ยะลา ครับ นอกจากจะได้ของดีๆ มาใช้ หลายคนอาจนำมาขายต่อสร้างรายได้ได้อีกด้วย ที่สำคัญยังจะเป็นช่วยสน้บสนุนกลุ่มพี่น้อง 3 จังหวัดชายแดนใต้ ให้มีรายได้ ที่จะนำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจในภาพรวมที่ดีขึ้นอีกด้วย
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS