{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
KR-ECI ปรับลดลงต่อจากความกังวลเกี่ยวกับค่าครองชีพที่สูงขึ้น ปัจจัยการเปิดประเทศหนุนมุมมองเกี่ยวกับรายได้และการจ้างงานแต่ยังต้องติดตามความเสี่ยงเรื่องไวรัส OMICRON
ความกังวลเกี่ยวกับค่าครองชีพที่สูงขึ้นยังกดดันดัชนีต่อเนื่อง แต่ปัจจัยเรื่องการเปิดประเทศช่วยให้ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพปรับตัวลดลงเพียงเล็กน้อยในเดือนพ.ย. 64
สถานการณ์ราคาสินค้าที่สูงขึ้นยังคงสร้างความวิตกกังวลให้กับภาคครัวเรือนต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดยครัวเรือนมีความกังวลเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับราคาสินค้าในทุกหมวด ทั้งราคาพลังงาน ราคาอาหาร สอดคล้องกับดัชนีเงินเฟ้อในเดือนพ.ย.64 ที่เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 7 เดือนอยู่ที่ 2.71% โดยมีสาเหตุมาจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่เพิ่มสูงขึ้น รวมถึงความต้องการสินค้าที่เพิ่มขึ้นหลังเริ่มมีการผ่อนคลายมาตรการคุมเข้มการระบาด และการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติในวันที่ 1 พ.ย. 64 ที่ผ่านมา ซึ่งปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาในไทยอยู่ที่ 1.5 แสนคน ( 33 วัน ) ซึ่งมากกว่าในช่วงไตรมาส 3 ที่มีการเปิด Phuket sandbox ที่ 65,670 คน ปัจจัยดังกล่าวช่วยหนุนมุมมองของครัวเรือนเกี่ยวกับรายได้และการจ้างงานให้ปรับดีขึ้นจากเดือนก่อน ส่งผลให้ในภาพรวมดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนในเดือนพ.ย.64 ลดลงเล็กน้อยอยู่ที่ 34.7 จาก 34.9 ในเดือนต.ค. 64 ขณะที่ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนในอีก 3 เดือนข้างหน้าเป็นไปในทิศทางเดียวกับปัจจุบันอยู่ที่ 36.5 จาก 36.7 ในเดือนต.ค.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ทำการสำรวจเพิ่มเติมเกี่ยวกับความต้องการของครัวเรือนในการบรรเทาผลกระทบจากค่าครองชีพสูงขึ้นที่อาจต่อเนื่องไปจนถึงปี 2565 ผลสำรวจระบุว่าครัวเรือน 56.0% ต้องการมาตรการเยียวยาค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นจากภาครัฐ เช่น การลดค่าน้ำค่าไฟในช่วงที่ผ่านมา ขณะที่อีก 19.0% ระบุว่าต้องหารายได้เพิ่มอย่างน้อยที่สุดประมาณ 30% จากระดับรายได้เฉลี่ยปี 2564 บ่งชี้ว่าราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นได้กดดันกำลังซื้อของภาคครัวเรือนต่อเนื่อง โดยการหารายได้เพิ่มขึ้นอาจทำได้ค่อนข้างจำกัดสำหรับแรงงานบางกลุ่มที่ยังได้รับผลกระทบ เช่น ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับภาคการท่องเที่ยวที่ยังไม่สามารถฟื้นตัวกลับมาได้เต็มที่ ดังนั้นในปี 2565 แม้ว่าสถานการณ์การระบาของโควิด-19 จะเริ่มคลี่คลาย มีการเปิดประเทศต่อเนื่อง อัตราการได้รับวัคซีนครอบคลุม แต่กำลังซื้อของภาคครัวเรือนอาจยังไม่ฟื้นกลับมาได้เต็มที่ อีกทั้งหากมีการระบาดของไวรัสสายพันธุ์ใหม่ (Omicron) เป็นวงกว้างจนกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจอาจจะยิ่งเป็นปัจจัยกดดันต่อการใช้จ่ายของผู้บริโภคต่อเนื่อง
ในระยะข้างหน้าภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนยังมีความเปราะบางสูง ทั้งจากความเสี่ยงเรื่องเงินเฟ้อ (ราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น) ที่ฉุดรั้งการฟื้นตัวของการบริโภคแล้ว ยังมีความเสี่ยงเพิ่มเติมจากเรื่องการกลายพันธุ์ของไวรัสโอมิครอนที่ปัจจุบันยังมีความไม่ชัดเจนเกี่ยวกับข้อมูลที่สำคัญหลายอย่าง แม้ว่าผลกระทบต่อเศรษฐกิจในปีนี้อาจจะจำกัดแต่ยังต้องรอติดตามผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในปีหน้าต่อไป
ดังนั้นในช่วงที่กิจกรรมเศรษฐกิจกำลังเริ่มฟื้นตัว และมีความเสี่ยงเพิ่มเติมจากการกลายพันธุ์ของไวรัส มาตรการเยียวยาค่าครองชีพที่สูงขึ้น รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในส่วนของการบริโภคจึงยังมีความจำเป็น รวมถึงการสร้างความเชื่อมั่นในการป้องกันโรคระบาดควบคู่ไปกับการเร่งฉีดวัคซีนให้ครอบคลุมและวัคซีนเข็มที่สาม
โดยสรุปแล้ว ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทย (KR-ECI) ในระดับปัจจุบัน (พ.ย.64) และ 3 เดือนข้างหน้าปรับตัวลดลงเล็กน้อย โดยครัวเรือนมีความกังวลเพิ่มขึ้นจากสถานการณ์ราคาสินค้าที่มีแนวโน้มปรับสูงขึ้นตามราคาพลังงาน ดังนั้นในช่วงที่เหลือของปี 2564 และปี 2565 มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงการบรรเทา
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS