{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
“AFIN” จับมือ “บริษัท มูนช็อต เวนเจอร์ แคปปิตอล จำกัด” และ “บริษัท ซันเทค รีไซเคิล แอนด์ ดีคาร์บอน” เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มซื้อขาย Carbon Credit ด้วยคริปโต
นายเซบาสเตียน โจแฮนส์สัน ผู้อำนวยการใหญ่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ AFIN แพลตฟอร์มสะพานในการเชื่อมต่อโลกของคริปโตฯ และความยั่งยืนให้ก้าวไปด้วยกัน เปิดเผยว่า AFIN (เอฟิน) ร่วมมือมือกับ บริษัท มูนช็อต เวนเจอร์ แคปปิตอล จำกัด ที่ดำเนินธุรกิจร่วมลงทุนในสตาร์ทอัพผที่คิดค้นและพัฒนาเทคโนโลยีชั้นสูง และ บริษัท ซันเทค รีไซเคิล แอนด์ ดีคาร์บอน บริษัทย่อยของ บริษัท มิลล์คอน สตีล จำกัด (มหาชน) หรือ MILL ที่ทำธุรกิจด้านการดูแลสิ่งแวดล้อม และเป็นศูนย์กลางการรีไซเคิลขยะอุตสาหกรรม พร้อมเดินหน้าพัฒนาแพลตฟอร์มการซื้อขาย Carbon Credit ด้วยคริปโตฯ ทำให้องค์กรทั้งเล็กและใหญ่สามารถเข้าถึงการเป็น Net Zero หรือองค์กรที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ซึ่งเป็นเป้าหมายของหลายองค์กรทั้งในและต่างประเทศ ทั้งยังเป็นเรื่องสำคัญระดับนานาชาติอีกด้วย นับว่าเป็นก้าวสำคัญเพื่อการเติบโตที่แข็งแกร่งและยั่งยืนในอนาคตโดยให้ความสำคัญกับการดูแลสิ่งแวดล้อม
“เป็นที่ทราบดีว่าปัจจุบัน ปัญหาโลกร้อนได้ส่งผลกระทบกับชีวิตคนทั่วทุกมุมโลก ไม่ว่าจะเป็นฤดูการที่แปรปรวน ฝนตกไม่ตามฤดู อากาศหนาวจัด หรือร้อนจัดในบางพื้นที่สิ่งเหล่านี้เป็นผลมาจากการที่เราดำเนินชีวิตและพัฒนาโลกโดยที่ไม่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมมาเป็นระยะเวลานานไม่ว่าจะเป็นการทำเหมืองการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากถ่านหินการขุดน้ำมันหรือการใช้รถซึ่งปล่อยก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ออกมาทำลายชั้นบรรยากาศ นับวันผลกระทบเหล่านี้ยิ่งทวีความรุณแรงมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ผู้นำแต่ละชาติและบริษัทต่าง ๆ เริ่มเล็งเห็นความสำคัญที่จะมีส่วนลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อลดหรือชะลอความเสียหายที่เกิดขึ้นกับธรรมชาติให้ได้มากที่สุด นำมาสู่แนวคิดของการเป็น Net Zero คือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ โดยทั่วไปการเกิด Net Zero ด้วยตัวองค์กรเองทำได้ยากมาก เนื่องจากเป็นการยากที่จะผลิตพลังงานสะอาดใช้อย่างเพียงพอภายในองค์กรเอง การจะเป็น Net Zero ได้นั้นจำเป็นต้องซื้อ Carbon Credit ขององค์กรอื่นมา Offset หรือการหักลบกับส่วนขององค์กรตัวเองเพื่อจะได้หักลบกันพอดีเป็น Net Zero จึงเกิดตลาดการค้าขาย Carbon Credit”
ปัจจุบันโลกของคริปโตเคอเรนซี่กำลังได้รับความสนใจและเติบโตอย่างรวดเร็ว AFIN ได้เล็งเห็นโอกาสที่จะทำให้ตลาดการซื้อขาย Carbon Credit เข้าถึงองค์กรต่าง ๆ ได้มากขึ้นและง่ายขึ้นผ่านการใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนและคริปโตฯเป็นสื่อกลางในการซื้อขายแทน แพลตฟอร์มนี้จะมาช่วยเสริมให้เป้าหมายของ AFIN ให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น และทำให้การเข้าถึงกิจกรรมเพื่อช่วยโลกร้อนขององค์กรต่าง ๆ สามารถทำได้ง่ายยิ่งขึ้น ล่าสุด AFIN ได้จับมือกับ บริษัท มูนช็อต เวนเจอร์ แคปปิตอล จำกัด และบริษัท ซันเทค รีไซเคิล แอนด์ ดีคาร์บอน ที่มีเป้าหมายเดียวกันคือการดูแลสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืนของทุกคนบนโลกนี้
การจับมือระหว่าง AFIN กับ บริษัท มูนช็อต เวนเจอร์ แคปปิตอล จำกัด และ บริษัท ซันเทค รีไซเคิล แอนด์ ดีคาร์บอน จะเป็นการร่วมกันพัฒนาแพลตฟอร์มการซื้อขาย Carbon Credit โดยใช้คริปโตฯ เป็นสื่อกลางให้ผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนหรือพลังงานสะอาด สามารถขาย Carbon Credit ให้กับองค์กรทั่วไปได้อย่างง่ายดาย โดยไม่ต้องผ่านขั้นตอนยุ่งยากและไม่ต้องใช้มูลค่ามหาศาล ทำให้การซื้อขายเข้าถึงองค์กรจำนวนมากได้ นอกจากนี้ยังทำให้องค์กรหันมาสนใจในการลดการใช้ก๊าซเรือนกระจก ทำให้องค์กรของตนเองเป็น Net Zero มากยิ่งขึ้น
ด้าน นายศุภมงคล มาโนช กรรมการบริหาร บริษัท ซันเทค รีไซเคิล แอนด์ ดีคาร์บอน ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ บริษัท มิลล์คอน สตีล จำกัด (มหาชน) หรือ MILL กล่าวว่า บริษัทเน้นทำธุรกิจที่ดูแลสิ่งแวดล้อม-ลดโลกร้อนและรุกคืบธุรกิจรีไซเคิลอยู่แล้ว โดยโฟกัสเรื่องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และได้วางเป้าหมายเป็นศูนย์กลาง carbon credit ของกลุ่ม MILL พร้อมเล็งหานวัตกรรมใหม่ ๆ ที่จะช่วยลดการปล่อย CO2” ในกรณีของการจับมือครั้งนี้ นายศุภมงคล ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า “การพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อซื้อขาย Carbon credit โดยใช้สกุลเงินดิจิทัลจะทำให้คนทั่วไปเข้ามาซื้อขายและเพิ่มสภาพคล่องในตลาด carbon credit มากยิ่งขึ้น”
ส่วนนายทวันทว์ บุณยะวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มูนช็อต เวนเจอร์ แคปปิตอล จำกัด กล่าวถึงการจับมือครั้งนี้ว่า บริษัท มูนช็อต เวนเจอร์ แคปปิตอล จำกัด ได้มีการลงทุนใน AFIN อยู่แล้ว การร่วมมือกันครั้งนี้จะทำให้คนเข้ามาในตลาดซื้อขาย Carbon credit มากขึ้นโดยมีคริปโตเคอเรนซี่เป็นหน่วยการแลกเปลี่ยน เนื่องจากที่ทางกองทุนให้ความสำคัญการต่อยอดและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจกับการดูแลสิ่งแวดล้อมและลดโลกร้อน โดยมีเป้าหมายหลักคือการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ด้วยการใช้นวัตกรรมใหม่ ๆ ที่จะช่วยสนับสนุนการลดการปล่อย CO2 ในโรงงานหรือที่เรียกว่า Decarbonization
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS