{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
หลังจากพล.เอก.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้รับพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ เป็น นายกรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการ
ต่อจากนี้ก็เป็นหน้าที่ที่จะต้องไปคัดสรรคณะรัฐมนตรี เพื่อมาร่วมกันทำงาน ซึ่งเบื้องต้นได้จัดสรรให้แก่พรรคการเมืองที่เข้าร่วมรัฐบาล และมีรายชื่อโผล่มาให้เห็นภาพเบื้องต้นกันแล้ว แต่จะฟันธงไป 100% ก็ยังคงไม่ได้ จนกว่าจะมีการประกาศออกมาอย่างเป็นทางการ
อย่างไรก็ตาม พรรคพลังประชารัฐ ที่เป็นแกนนำ คงจับจองกระทรวงการคลังเอาไว้ค่อนข้างแน่นอน เพราะถือว่าเป็นกระทรวงหลักที่เป็นถุงเงิน
เมื่อไปดูนโยบายสำคัญของพรรคพลังประชารัฐ ก็จะพบว่ามีเรื่องของภาษีเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น การลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 10% การยกเว้นการจัดเก็บภาษีธุรกิจออนไลน์ 2 ปี การยกเว้นการจัดเก็บภาษีสำหรับผู้ที่จบใหม่และทำงาน 5 ปีแรก ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องสำคัญทีเดียว
นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวถึงเรื่องดังกล่าวว่า กรมสรรพากร ซึ่งเป็นหน่วยปฏิบัติงาน ได้ทำการศึกษาและวิเคราะห์นโยบายภาษีของรัฐบาลชุดใหม่ว่ามีอะไรบ้าง หากทำแล้วจะมีผลกระทบอย่างไร ส่วนการตัดสินใจเป็นเรื่องของผู้บริหาร
ทั้งนี้ต้องยอมรับว่าเมื่อมีการกล่าวถึงแผนการปรับลดภาษี ซึ่งประชาชนอาจจะได้ประโยชน์ แต่รัฐก็ต้องคำนึงเสถียรภาพของฐานะการคลังด้วย หากทำมากเกินไป ก็อาจะทำให้เกิดปัญหามากขึ้น
“กรมสรรพากรมีหน้าที่ศึกษาและวิเคราะห์นโยบายต่างๆ ซึ่งจะระบุถึงข้อดีและข้อเสียอย่างตรงไปตรงมา แล้วเสนอต่อผู้บริหารที่ดูแลเรื่องนโยบายตัดสินใจ เบื้องต้นการปรับลดภาษีจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชน แต่รายได้ของรัฐจะหายไป ซึ่งอาจกระทบต่อเสถียรภาพทางการคลัง ในขณะที่ประเทศยังต้องการเงินเพื่อไปลงทุนจำนวนมาก ทีนี้ต้องคำนึงว่าจะหารายได้ตรงส่วนไหนเพื่อมาชดเชย
ซึ่งกรมสรรพากรก็จะหาแนวทางไว้ แต่ไม่สามารถระบุได้ชัดเจน แต่ตามหลักในภาพรวมๆ หากมีการลดอัตราภาษีบุคคลธรรมดา ก็อาจจะไปลดจำนวนค่าลดหย่อนที่บางส่วนอาจไม่เหมาะสม หรือมีมากเกิดความจำเป็นแล้ว เพื่อชดเชยกัน เป็นต้น
ส่วนภาษีมูลค่าเพิ่มที่กฎหมายกำหนดเพดานไว้ที่ 10% และยังมีช่องว่างสามารถปรับเพิ่มได้นั้น ก็อาจเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งการปรับภาษีมูลค่าเพิ่มขึ้นลง 1% ทำให้รายได้เพิ่มขึ้นหรือลดลง 70,000 ล้านบาท แต่ในภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่ยังไม่ดีมากนัก คงทำได้ยาก เพราะอาจไปกระทบต่อกำลังซื้อ ทั้งนี้ภาษีมูลค่าเพิ่มนับเป็นได้อันดับ 1 ของกรมมีสัดส่วนถึง40% ของรายได้ของกรม
สำหรับการจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพากร ในช่วง8เดือนแรกของปีงบประมาณ 2562นั้นสามารถจัดเก็บได้แล้ว 1.22 ล้านล้านบาท สูงกว่าเป้าหมาย 3.8 หมื่นล้านบาท เป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 10 ปี ที่สามารถทำได้เกินเป้าหมาย โดยในช่วงแรกสามารถจัดเก็บเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ แต่แนวโน้มช่วงครึ่งปีหลังอาจชะลอไปบ้าง แต่ก็ยืนยันว่ากรมสรรพากรจะสามารถจัดเก็บได้ตามเป้าหมาย 2.1 ล้านล้านบาทอย่างแน่นอน
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS