ศุกร์เข้า...พระเสาร์แทรก อุ้มน้ำมันแก้ปัญหาได้หมดจริงหรือ??

แม้จะฉลอง 4 ปี การเข้ามาของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ด้วยการปรับตัวเศรษฐกิจที่ดีขึ้น จีดีพีไตรมาส 1 ปี 2561 เพิ่มขึ้นถึง 4.8% เติบโตสูงสุดในรอบ 40 ไตรมาส เครื่องยนต์เศรษฐกิจทำงานได้ครบทุกเครื่องและดีทุกด้าน

ตัวเลขส่งออกเดือนเมษายน 2561 เพิ่มขึ้น 12.3% ทำให้ยอดส่งออกเฉลี่ย 4 เดือนแรก เพิ่มขึ้น 11.53% สูงสุดรอบ 7 ปี บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์กำไรโต 15.55% ตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (mai) กำไรสุทธิเพิ่ม 15.45% รัฐเก็บรายได้เดือน เม.ย. 2561 มีรายได้สุทธิ 218,126 ล้านบาท เพิ่ม 17.9% น่าจะเป็นนิมิตหมายที่ดีชี้ชัดเศรษฐกิจของประเทศไทยภายใต้ คสช. กำลังจะขยับปีกเหินสู่ฟ้า ประชาจะหน้าใสยิ้มได้

ลิงก์ข่าว เบิร์ทเดย์ 4 ปี คสช. https://www.pineapplenewsagency.com/th/c193

แต่ภาวะแนวโน้มราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้น กลับกลายเป็นปัจจัยลบต่อความรู้สึก และกดดันต่อความเป็นอยู่ของประชาชน โดยเฉพาะคนระดับกลางถึงล่าง

กลบข่าวดีที่ทุกหน่วยงานเกี่ยวกับเศรษฐกิจโชว์ออกมา หวังหนุนรัฐบาล

สิ่งที่ตามมา ผู้ให้บริการระบบขนส่ง ไม่ว่าจะเป็นผู้ให้บริการรถเมล์ร่วมบริการ ขอปรับรวดเดียว 4 บาท เรือด่วนอาจจะขยับระยะละ 1 บาท รถร่วมบขส. ขอเพิ่ม 10 ส.ต.ต่อกิโลเมตร สมาคมสหพันธ์ขนส่งสินค้าแห่งประเทศไทยขอเพิ่มอีก 5% จากที่ปรับไปแล้ว 5% ล่าสุด สมาคมขนส่งสินค้าภาคอีสานออกมากดดันถ้าไม่ได้ปรับก็พร้อมหยุดวิ่งรถจาก 3 หมื่นคันเหลือ 1.5 หมื่นคัน

รวมไปถึงการขยับขึ้นของราคาสินค้าในบางประเภท บางกลุ่ม ในบางพื้นที่ แม้กระทรวงพาณิชย์จะออกมากำชับห้ามขึ้นก็ตาม

อนาคตถ้าน้ำมัน ก๊าซไม่ลดลง ก็ส่งผลกระทบต่อราคาไฟฟ้าแน่นอน

ล่าสุด คณะกรรมการนโยบายพลังงาน (กบง.) ต้องรีบเร่งประชุมเพื่อหาทางออก และมีมติตรึงราคาดีเซลให้ไม่เกิน 30 บาทต่อลิตร โดยใช้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงอุดหนุนราคา 50% ของราคาที่จะปรับขึ้น ซึ่งมีเงินทุนในส่วนน้ำมันประมาณ 3 หมื่นล้านบาท ก่อนจะมีการจำหน่ายน้ำมันไบโอดีเซลเกรดพิเศษ หรือบี 20 ให้รถบรรทุกและรถโดยสารขนาดใหญ่ใช้ทดแทน ซึ่งจะมีราคาถูกกว่าดีเซลบี 7 ลิตรละ 3 บาท ในช่วงต้นเดือน ก.ค.นี้ ประเมินว่าน่าจะประคองราคาน้ำมันไปได้ประมาณ 10 เดือน หากราคาน้ำมันดิบตลาดโลกไม่เกิน 90 เหรียญสหรัฐต่อบาเรล

แต่หากภาวะราคาน้ำมันแพงเพิ่มขึ้น กินระยะเวลานานกว่าที่คาดการณ์ไว้ เชื่อว่าจะมีมาตรการมากกว่าที่มีอยู่

อย่างไรก็ตาม บางมาตรการ เช่น การเปลี่ยนไปใช้น้ำมันที่ราคาถูกกว่า แต่คุณภาพต่ำ อาจจะไม่ได้รับความสนใจจากเอกชนมากนัก

ขณะที่บางมาตรการของรัฐเองก็สนับสนุนให้เกิดการบริโภคน้ำมันเพิ่มขึ้น

ที่ผ่านมาประชาชนยังไม่บ่นกันมาก เพราะราคายังพอที่จะรับได้

เมื่อย้อนไปดูปริมาณการใช้น้ำม้นในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา จะเห็นว่ามียอดการใช้เฉลี่ยเพิ่มขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับราคาน้ำมันที่แนวโน้มเพิ่มขึ้น

จากตัวเลขภาวะเศรษฐกิจที่พร้อมจะดีดตัว หากน้ำมันแพงขึ้นจะทำให้เกิดการสะดุดหรือไม่

มาถึงวันนี้ก็คงยังไม่มีใครบอกได้ว่าราคาน้ำมันจะขยับไปถึงไหน

แล้วเศรษฐกิจไทยจะรับภาวะน้ำมันแพงได้ในระดับที่เท่าใด

บางคนให้เหตุผล ที่ผ่านมาประเทศไทยเคยใช้น้ำมันในระดับราคาที่สุดกว่านี้ ในช่วงที่ราคาน้ำมันตลาดโลกสูงกว่า 100 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาเรล ก็ยังผ่านมาแล้ว

บ้างก็ว่าโครงสร้างราคาน้ำมันของไทยที่เก็บภาษีมากเกินไป

บ้างก็ว่ามีการคิดเพื่อเอื้อให้กับกลุ่มธุรกิจบางกลุ่ม

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าราคาน้ำมันจะแพงอย่างไร หากรัฐบาลสามารถทำให้ประชาชนทุกกลุ่มมีรายได้เพิ่มขึ้น เพียงพอต่อการดำรงชีพ คงจะสร้างความพึงพอใจให้กับประชาชนได้ไม่น้อย

แต่ที่ผ่านมา เพราะรายได้ของคนชั้นล่าง ชั้นกลางไม่เพิ่ม หรือเพิ่มไม่ทันต่อค่าครองชีพที่พุ่งขึ้นสูงกว่ารายได้ จึงกลายเป็นปัญหา

ไม่เหมือนกลุ่ม 50 มหาเศรษฐีที่เงินเติบโตสูงกว่าจีดีพีหลายเท่า

ลิงก์ข่าว อภิมหาเศรษฐีมั่งคั่งอย่างยั่งยืน ท่ามกลางความอัตคัดชนชั้นกลาง-ล่าง https://www.pineapplenewsagency.com/th/c167


COMMENTS

{{ errors.name }}

{{ errors.value }}

{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}

RELATED TOPICS

Please wait a moment