KBank Private Banking ร่วมกับ Lombard Odier จัดสัมมนา Net Zero จุดกระแสโลกสู่ความยั่งยืน

เคแบงก์ ไพรเวทแบงก์กิ้ง (KBank Private Banking) ร่วมกับ ลอมบาร์ด โอเดียร์ (Lombard Odier) ผู้ พร้อมพันธมิตรทางธุรกิจอีก 5 รายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค จัด สัมมนาออนไลน์แห่งปีในหัวข้อ “The Race to Net Zero: A Sprint or a Marathon” หวังจุดกระแสให้เกิดการพูดคุยเรื่องความยั่งยืน

มร.บัน คี มุน อดีตเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ได้ให้เกียรติร่วมงานแสดงปาฐกถาพิเศษเกี่ยวกับประสบการณ์การทำงานกับสหประชาชาติ และแนวทางในการผลักดันประเด็นความยั่งยืนให้เป็นวาระหลักของหน่วยงานภาครัฐและองค์กรต่างๆ ทั่วโลก ผลงานที่สำคัญของ มร. บัน คี มุน ในช่วงที่ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติ ได้แก่ ความตกลงปารีสเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Paris Climate Agreement) และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (UN Sustainable Development Goals)

มร.บัน คี มุน กล่าวว่า “เศรษฐกิจโลกกำลังอยู่ในวิถีที่ส่งผลให้วิกฤตสภาพภูมิอากาศโลกเลวร้ายลง ตามรายงานสภาพอากาศของ UN IPCC ฉบับล่าสุด ได้ฉายภาพแห่งความโหดร้ายให้เห็นว่า วิกฤตนี้เป็นสิ่งที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และไม่สามารถย้อนกลับไปแก้ไขได้ ข้อตกลงปารีสถือเป็นความหวังที่ดีที่สุดของเราในการรับมือกับภัยคุกคามจากสภาพอากาศที่รุนแรง และสถาบันการเงินชั้นนำ อย่างลอมบาร์ด โอเดียร์ และทุกภาคส่วนของพันธมิตรทางธุรกิจในภูมิภาคนี้ต่างมีบทบาทสำคัญในการเข้าไปมีส่วนร่วมในการเร่งและผลักดันให้เกิดการดำเนินงานตามข้อตกลงดังกล่าวด้วยเช่นกัน”

มร. ฮูเบิร์ต เคลเลอร์ Senior Managing Partner, Lombard Odier Group กล่าวว่า “ในขณะที่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังคงมีต่อไป ความเสี่ยงด้านการเงินต่อความท้าทายในช่วงเปลี่ยนผ่าน ความเสี่ยงทางกายภาพและความเสี่ยงด้านหนี้สินก็กำลังทวีความรุนแรงมากขึ้น เรานิยามสิ่งนี้ว่า ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Value Impact) ในฐานะผู้จัดการสินทรัพย์ สิ่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของหลักความไว้วางใจเพื่อช่วยนำทางลูกค้าไปสู่การเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ เรายังได้ช่วยนักลงทุนปรับพอร์ตการลงทุนด้วยการประเมินสถานการณ์ในอนาคต ซึ่งรวมไปถึงความเข้าใจเกี่ยวกับเส้นทางและวิถีการใช้พลังงานที่ไม่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์และความเกี่ยวพันทางการเงิน ปาฐกถาของ มร. บัน คี มุน ตอกย้ำถึงความจำเป็นในการจัดทำแผนงานที่ชัดเจนยิ่งขึ้นและการดำเนินการร่วมกันกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดในเอเชีย และภูมิภาคอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน

มร. วินเซนต์ มาเนียนาต์ Limited Partner and Chief Executive Officer, Asia, Lombard Odier กล่าวว่า “ ลอมบาร์ด โอเดียร์ตระหนักถึงความท้าทายต่าง ๆ ที่หลายประเทศในเอเชียต้องเผชิญ ในการเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ และเศรษฐกิจแบบ CLICTM ประกอบด้วย C (Circular) คือ การใช้ทรัพยากรหมุนเวียน, L (Lean) คือ การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ, I (Inclusive) คือ การสร้างความเท่าเทียมด้านเศรษฐกิจและสังคม และ C (Clean) คือ การดำเนินการที่ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญในพันธกิจและวิสัยทัศน์ของลอมบาร์ด โอเดียร์ ในขณะที่เรากำลังก้าวสู่การปฏิวัติเพื่อความยั่งยืนนี้ เราเชื่อว่าสถาบันการเงินและลูกค้าของธนาคารมีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ลอมบาร์ด โอเดียร์ พร้อมด้วยเครือข่ายพันธมิตรทางกลยุทธ์ในภูมิภาคทั้ง 6 ราย มีความยินดีที่จะมีส่วนร่วมในการสร้างความตระหนักรู้ในระดับภูมิภาค นำโดย มร. บัน คี มุน เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนในประเด็นความยั่งยืนและโอกาสในการลงทุนเพื่อผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคม

นายจิรวัฒน์ สุภรณ์ไพบูลย์ Private Banking Group Head ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า “เช่นเดียวกับลอมบาร์ด โอเดียร์ และพันธมิตรอีก 5 ราย เคแบงก์ ไพรเวทแบงก์กิ้งเชื่อว่า เราสามารถดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องและเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยผลักดันสังคมและประเทศให้มีความก้าวหน้า ยั่งยืน และเป็นสุข เพราะเราเชื่อว่าความยั่งยืนคืออนาคตของทุกคนบนโลก เราทุกคนมีความรับผิดชอบที่จะช่วยขับเคลื่อนสังคมและประเทศชาติไปสู่ความก้าวหน้าบนพื้นฐานของความยั่งยืนในทุกวิถีทางที่เราสามารถทำได้ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมถือเป็นวิกฤตครั้งใหญ่ของโลก และทุกภาคส่วนต้องทำงานร่วมกัน เราในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของภาคการลงทุน จึงได้พยามผลักดันเรื่องความยั่งยืนด้วยความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้า ผ่านการนำเสนอผลิตภัณฑ์ รวมไปถึงการนำเสนอกองทุนที่มุ่งเน้นให้เกิดผลกระทบที่ดีและกองทุนเพื่อความยั่งยืนระดับโลกที่สร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงบวก เราเชื่อว่านักลงทุนสามารถสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีจากการลงทุนเพื่อสร้างความยั่งยืนได้ และนี่คือความเชื่อมั่นของเรานับจากบัดนี้และต่อไป


COMMENTS

{{ errors.name }}

{{ errors.value }}

{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}

RELATED TOPICS

Please wait a moment