NRF จับมือ อีสท์วอเตอร์ศึกษาการกักเก็บคาร์บอนจากสาหร่ายทะเล

เอ็น อาร์ เอฟ จับมือ อีสท์วอเตอร์ ศึกษาการกักเก็บคาร์บอนจากสาหร่ายทะเลเป็นที่แรกในประเทศไทย เพื่อประเทศไทยก้าวสู่ Net Zero Emission ส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนผ่านการนำสาหร่ายกลับมาทำเป็นปุ๋ย

นายแดน ปฐมวาณิชย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอ็นอาร์ อินสแตนท์ โปรดิวซ์ จำกัด (มหาชน) หรือ เอ็น อาร์ เอฟ (NRF) เปิดเผยว่า บริษัทร่วมกับลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือบริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) หรือ อีสท์วอเตอร์ ในการจัดทำฟาร์มสาหร่าย ซึ่งเป็นพืชที่มีศักยภาพในการดูดซับและกักเก็บคาร์บอนที่เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดสภาวะโลกร้อน (Global warming) เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาดังกล่าวและช่วยรักษาสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตในทะเลเป็นอย่างดี รวมถึงการยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชน ชาวประมง และผู้อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียงให้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนโดยการนำสาหร่ายที่ได้ผลิตเป็น สินค้าอุปโภคบริโภค และแปรเป็นปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อยกระดับเศรษฐกิจพื้นฐานของประเทศ ตลอดจน เศรษฐกิจของชุมชนในพื้นที่อีกด้วย

“การที่ได้เข้าร่วมกับอีสท์วอเตอร์ ถือเป็นการเดินหน้าการพัฒนาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางทะเลรูปแบบใหม่ โดยจะร่วมมือศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการปลูกสาหร่ายทะเล โดยเฉพาะอย่างยิ่งเคลป์ (Kelp) สาหร่ายสีน้ำตาลขนาดใหญ่ ซึ่งมีความสามารถในการดูดซับคาร์บอนจากชั้นบรรยากาศผ่านระบบนิเวศทางทะเล หรือ Blue Carbon เป็นที่แรกในประเทศไทย ระบบนิเวศทางทะเลถือเป็นแหล่งกักเก็บและดูดซับคาร์บอนที่ใหญ่ที่สุดในโลก ผลผลิตสาหร่ายที่ได้สามารถต่อยอดนำไปผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์ให้เกษตรกรซึ่งถือเป็นต้นน้ำผู้ผลิตวัตถุดิบให้กับโรงงานของNRF ผลักดันให้เข้าสู่ระบบ Regenerative Farming ส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) สู่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในห่วงโซ่อุปทานของเรา เราจึงส่งเสริมเกษตรกรเพาะปลูกแบบอินทรีย์ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในอาหารให้กับผลิตภัณฑ์ของNRF เพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ปลอดภัย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้กับผู้บริโภค ถือเป็นการลงทุนสีเขียวอีกช่องทางหนึ่งของบริษัท ผมเชื่อว่าการลดการปล่อยคาร์บอน (Decarbonization) ในภาคเกษตรกรรมและอาหารจะเป็น S-curve ใหม่ของเศรษฐกิจไทย อีกทั้งยังเป็นการอนุรักษ์และดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เป็นมิตร และสร้างความยั่งยืนกับระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งมากยิ่งขึ้น รวมถึงเป็นตัวเร่งให้ประเทศไทยก้าวเข้าสู่ Net Zero Emission หรือประเทศที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเท่ากับศูนย์ในปี พ.ศ. 2593 ซึ่งเร็วขึ้นกว่าที่รัฐบาลกำหนดไว้ในปี พ.ศ.2608” นายแดน กล่าว

นายชรินทร์ โซนี่ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สายกลยุทธ์และพัฒนาธุรกิจ บริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) หรือ อีสท์วอเตอร์ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ความร่วมมือนี้ช่วยเดินหน้าการพัฒนาโครงการนำร่องของการบริหารจัดการคาร์บอนเครดิต ด้วยศักยภาพและความเชี่ยวชาญด้านการผลิตอาหารสำเร็จรูป ผนวกกับความเชี่ยวชาญในการบริหารจัดการน้ำของ อีสท์วอเตอร์ จะช่วยผลักดันโครงการให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ให้แก่ ทั้ง 2 บริษัท พื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ชุมชนในพื้นที่ และประเทศชาติในระยะเวลาอันใกล้”

นอกจากจะสามารถช่วยลดการปล่อยคาร์บอนสู่ชั้นบรรยากาศแล้ว คาดว่าตลาดปุ๋ยอินทรย์ทั่วโลกจะเติบโตมากกว่า 13.56% มีมูลค่าตลาดสูงถึง 1.97 แสนล้านบาท ในปี พ.ศ. 2573 สามารถสร้างอาชีพและรายได้ให้กับเกษตรกรผู้ประกอบอาชีพประมงและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งทะเลและชุมชนโดยรอบมากมาย โดยการดำเนินงานในครั้งนี้มุ่งเน้นการเติบโตทางเศรษฐกิจสีเขียว ควบคู่กับการดำเนินงานอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม สอดคล้องตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของทั้ง 2 บริษัท


COMMENTS

{{ errors.name }}

{{ errors.value }}

{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}

RELATED TOPICS

Please wait a moment