แคนนาบิซ เวย์ชูCSFปลูกกัญชง-กัญชาในทุกสภาวะ เหมาะทุกสายพันธุ์

แคนนาบิซ เวย์วางระบบ “นวัตกรรมเกษตรอัจฉริยะ” (CSF) ตอบโจทย์การปลูกกัญชง-กัญชาในทุกสภาวะ เหมาะกับทุกสายพันธุ์

คุณอุนารินทร์ กิจไพบูลทวี กรรมการผู้จัดการ บริษัท แคนนาบิซ เวย์ จำกัด (Cannabiz Way Co.,Ltd.) เปิดเผยว่า บริษัทได้ลงนามความร่วมมือ (MOU) กับ คณะเกษตรศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร โดย ผศ.ดร.พีระศักดิ์ ฉายประสาท คณะบดี เพื่อร่วมกันพัฒนา “นวัตกรรมเกษตรอัจฉริยะ” หรือ Cannabis Smart Farm (CSF) เพื่อนำมาใช้ในการปลูกกัญชง-กัญชา คุณภาพระดับเมดิคอลเกรด (Medical Grade)

ซึ่งได้ออกแบบและพัฒนา ระบบปลูกกัญชง-กัญชาอัจฉริยะ Cannabis Smart Farm (CSF) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยนเรศวร ทำการติดตั้งระบบในพื้นที่ปลูกของบริษัทที่จัดตั้งเป็น “CBD Agro-Tech Center” บนเนื้อที่กว่า 36 ไร่ ด้วยระบบการควบคุมสภาพแวดล้อมที่ปรับให้เหมาะสมกับทุกสายพันธุ์ เพื่อรองรับการปลูกกัญชง-กัญชาคุณภาพได้มากกว่า 250,000 ต้นต่อปี และมีโครงการขยายพื้นที่การผลิตให้ครอบคลุมกว่า 1,000 ไร่ ทั่วประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ได้ผลผลิตต่อการลงทุนสูงที่สุด และได้กัญชง-กัญชาคุณภาพป้อนเข้าสู่ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมกลางน้ำและปลายน้ำ

โดยหัวใจของธุรกิจกัญชง-กัญชา คือ การคัดสรรเมล็ดพันธุ์และการปลูกอย่างมีคุณภาพเพื่อให้ได้วัตถุดิบต้นน้ำที่มีคุณภาพดีที่สุด เพื่อป้อนสู่ทุกอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็น ธุรกิจอาหาร อาหารเสริม เครื่องดื่ม เครื่องสำอาง ยารักษาโรค และจากข้อกฎหมายที่กำกับดูแลกัญชง-กัญชา กำหนดให้ทุกภาคธุรกิจต้องใช้วัตถุดิบที่ผลิตในประเทศเป็นเวลา 5 ปี นับจากวันที่ 29 มกราคม 2564 จึงทำให้การเพาะปลูกกัญชง-กัญชาเพื่อใช้เองในประเทศ เป็นหัวใจสำคัญของธุรกิจนี้

ปัจจุบันเมล็ดพันธุ์กัญชง-กัญชาที่ได้รับการรับรองในประเทศมีอยู่จำกัด และส่วนใหญ่ให้สารสำคัญคือ CBD ต่ำ ทำให้ไม่สามารถสกัดสารสำคัญมาใช้ได้เพียงพอต่อความต้องการในภาคธุรกิจ ในช่วงแรกจึงต้องมีการนำเข้าเมล็ดพันธุ์จากต่างประเทศ แต่ด้วยสภาพแวดล้อมที่แตกต่าง จึงทำให้การปลูกกัญชง-กัญชาที่นำเข้าเมล็ดพันธุ์จากต่างประเทศ มักประสบปัญหาการควบคุมปัจจัยในการเพาะปลูกไม่ได้ จึงทำให้ผลผลิตที่ได้ต่ำกว่าการลงทุน


COMMENTS

{{ errors.name }}

{{ errors.value }}

{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}

RELATED TOPICS

Please wait a moment