5องค์กรผนึกกำลังพัฒนาภาคการเงินเพื่อความยั่งยืน

สศค. ธปท. ก.ล.ต. คปภ. และตลท. จับมือร่วมกันพัฒนาภาคการเงิน วางรากฐานสำคัญช่วยเพิ่มระบบนิเวศน์ เอื้อให้การจัดสรรทรัพยากรทางเศรษฐกิจอยู่บนพื้นฐานของความยั่งยืนและสร้างประโยชน์ต่อทุกภาคส่วน

สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) และ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ซี่งเป็นหน่วยงานหน่วยงานกำกับดูแลในภาคการเงินได้จัดตั้งคณะทำงานด้านความยั่งยืนในภาคการเงิน (Working Group on Sustainable Finance) เพื่อร่วมมือกันกำหนดทิศทางการดำเนินการด้านการเงินเพื่อความยั่งยืนในภาคการเงินไทยที่ชัดเจนและสอดคล้องกัน

โดย Working Group on Sustainable Finance ได้ร่วมกันเผยแพร่แนวทาง

การพัฒนาภาคการเงินเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Finance Initiatives for Thailand) ซึ่งเป็นหนึ่งในความร่วมมือสำคัญเพื่อกำหนดทิศทางและกรอบการดำเนินงานด้าน sustainable finance ในภาคการเงินไทย โดยได้ระบุแนวทางขับเคลื่อนสำคัญ 5 ข้อ รายละเอียดดังนี้

1) Developing a Practical Taxonomy: การกำหนดนิยามและจัดหมวดหมู่โครงการหรือกิจกรรม

ในภาคเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและเป็นมาตรฐานเดียวกัน (Taxonomy) เพื่อให้ผู้กำกับดูแลใช้อ้างอิงในการออกนโยบายสนับสนุนการเงินที่ยั่งยืนให้สอดคล้องกัน และให้ผู้ประกอบธุรกิจการเงินนำไปพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบโจทย์การขับเคลื่อนเป้าหมายด้านความยั่งยืน

2) Improving the Data Environment: การเปิดเผยข้อมูล ESG ที่มีคุณภาพ สอดคล้องกับมาตรฐานสากล ซึ่งจะเป็นข้อมูลสำคัญสำหรับการติดตาม วิเคราะห์ และตัดสินใจทางการเงิน รวมถึงการออกแบบผลิตภัณฑ์และนโยบายที่สอดคล้องกับความต้องการของภาคธุรกิจ อีกทั้ง สามารถจำแนกประเภทการลงทุนและวัดความเสี่ยงของสินทรัพย์ที่เกิดจากประเด็นด้าน ESG ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงเพิ่มความโปร่งใสในการกำกับและตรวจสอบการดำเนินธุรกิจ

3) Implementing Effective Incentives: การสร้างมาตรการจูงใจ (Incentives) เพื่อกระตุ้นให้เกิดตลาดและการลงทุนในผลิตภัณฑ์การเงินเพื่อความยั่งยืน โดยส่งเสริมให้ทั้งฝั่งผู้ระดมทุนและผู้ลงทุนเห็นโอกาส

ในการสร้างผลตอบแทนที่ดีด้วยความเสี่ยงที่ต่ำลง

4) Creating Demand-led Products and Services: การสร้างสภาพแวดล้อมที่จะเอื้อให้ผู้เล่นในภาคการเงินสามารถใช้ประโยชน์จากเครื่องมือทางการเงินที่ตอบโจทย์ด้านความยั่งยืน ในขณะที่ปรับลดกฎเกณฑ์เพื่อลดภาระสำหรับการออกผลิตภัณฑ์และบริการใหม่

5) Building Human Capital: การสร้างทรัพยากรบุคคลในภาคการเงินที่มีคุณภาพและมีองค์ความรู้

ในการผลักดันงานด้านการเงินเพื่อความยั่งยืนให้เห็นผลเป็นรูปธรรม

การดำเนินงานทั้ง 5 ข้อดังกล่าว จะเป็นรากฐานสำคัญที่ช่วยให้ภาคการเงินมีระบบนิเวศน์ (Ecosystem) ที่เอื้อให้การจัดสรรทรัพยากรทางเศรษฐกิจตั้งอยู่บนพื้นฐานของความยั่งยืนและสร้างประโยชน์ต่อทุกภาคส่วน

แม้ปัจจุบัน การรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 จะเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องดำเนินการ

เป็นลำดับแรก แต่ประเด็น ESG เป็นเรื่องที่เราไม่ควรละเลย เพราะจะเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญที่ช่วยให้เศรษฐกิจสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืนในอนาคต โดยเมื่อภาคการเงินมีศักยภาพและความพร้อมในการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่คำนึงถึงประเด็น ESG โดยเฉพาะปัญหา Climate change ได้อย่างตรงจุดด้วยต้นทุนที่เหมาะสม การระดมทุนและการลงทุนของภาคเอกชนเพื่อพัฒนาโครงการและกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนจะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและก่อให้เกิดผลประโยชน์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง ซึ่งท้ายที่สุดแล้วจะส่งผลให้เศรษฐกิจและสังคมไทยเติบโตได้อย่างยั่งยืน


COMMENTS

{{ errors.name }}

{{ errors.value }}

{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}

RELATED TOPICS

Please wait a moment