{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
FPIเผยไตรมาส 2 ปี 2564 กวาดรายได้กว่า 551.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 49.3% ส่วนกำไรทะลัก 61.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,335.9% จากปีก่อน ส่วนครึ่งปีแรกพลิกมีกำไรสุทธิ 118.4 ล้านบาท ประกาศจ่ายปันผลระหว่างกาล 0.05 บ./หุ้น
นายสมพล ธนาดำรงศักดิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟอร์จูน พาร์ท อินดัสตรี้ จำกัด (มหาชน) (FPI) เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานของบริษัทฯ ในไตรมาส 2 ของปี 2564 และปี 2563 งบการเงินรวมของบริษัทฯ มีกำไรสุทธิ 61.2 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 4.3 ล้านบาท (ตามลำดับ) เพิ่มขึ้น 56.9 ล้านบาท หรือคิดเป็น 1,335.9% สาเหตุหลักมาจากยอดขายที่เพิ่มขึ้นทำให้มีกำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้น ประกอบกับทางบริษัทมีการจัดการที่ดีขึ้นทั้งการขึ้นราคาสินค้า, ประสิทธิภาพที่ดีขึ้นจากฝ่ายผลิต, และการสูญเสียจากการผลิตลดลง
โดยในไตรมาส 2 ของปี 2564 และปี 2563 มีรายได้รวม 551.4 ล้านบาท และ 369.4 ล้านบาท (ตามลำดับ) เพิ่มขึ้น 182.0 ล้านบาท หรือคิดเป็น 49.3% โดยมีรายได้จากการขายและบริการของไตรมาส 2 ของปี 2564 เป็นเงิน 540.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อน เป็นเงิน 207.9 ล้านบาท หรือคิดเป็น 62.4%
นอกจากนี้ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ยังได้มีมติจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลเป็นเงินสด เพื่อตอบแทนผู้ถือหุ้น 0.05 บาทต่อหุ้น โดยขึ้นเครื่องหมาย XD ในวันที่ 27 สิงหาคม 64 และกำหนดรายชื่อผู้มีสิทธิ์ได้รับเงินปันผลในวันที่ 30 สิงหาคม 2564 และจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นในวันที่ 14 กันยายน 2564
สาเหตุหลักเกิดจากการที่บริษัทฯเซ็นสัญญาค่าขนส่งของทวีปของอเมริกาใต้ล่วงหน้าได้ในราคา $5,600 ต่อตู้จนถึงสิ้นปี 2564 (ปัจจุบันราคา $11,000) ทำให้ลูกค้าซื้อสินค้ามากขึ้น (จาก 37 ล้านบาท เป็น 89 ล้านบาท) ประกอบกับเศรษฐกิจทั่วโลกเริ่มฟื้นตัวจากการระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019 ทำให้ยอดขายต่างประเทศเพิ่มขึ้นใน 4 โซนหลัก คือ เอเชียและตะวันออกกลาง, อเมริกาใต้, แอฟริกา และยุโรป เป็นจำนวน 116 ล้านบาท, 52 ล้านบาท, 16 ล้านบาท และ 15 ล้านบาทตามลำดับ ยอดขายของบริษัทลูกที่อินเดียยังน้อยเพราะคำสั่งซื้อโดนเลื่อนเนื่องจากผลกระทบของการระบาดไวรัสโคโรน่า 2019 รอบสอง
ในไตรมาส 2 ของปี 2564 และปี 2563 บริษัทฯมีต้นทุนขายและบริการเท่ากับ 405.4 ล้านบาท และ 276.1 ล้านบาท (ตามลำดับ) เพิ่มขึ้น 129.3 ล้านบาท หรือคิดเป็น 73.5% และ 74.7% ของยอดขายตามลำดับ ลดลง 1.2%
เหตุผลหลักมาจากการที่บริษัทสามารถขึ้นราคาสินค้ากับลูกค้าได้ 5-10% เนื่องการที่ราคาวัตถุดิบทั่วโลกปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง แต่ในขณะเดียวกันบริษัทฯสามารถทำสัญญาซื้อวัตถุดิบ (โดยเฉพาะเม็ดพลาสติก, เคมีภัณฑ์, และสี) และสินค้าซื้อมาขายไปและตกลงราคาล่วงหน้าเป็นเวลา 6-12 เดือน ในเดือนเมษายนที่ผ่านมาทำให้ภายในปี 2564 ทางบริษัทฯหลีกเลี่ยงผลกระทบดังกล่าวได้ ประกอบกับประสิทธิภาพในการผลิตที่เพิ่มขึ้นในขณะที่ต้นทุนของเสียในการผลิตลดลงทำให้บริษัทฯสามารถบริหารจัดการต้นทุนได้ดี
ส่วนผลประกอบการในงวดหกเดือน มีกำไรสุทธิ 118.4 ล้านบาท เมื่อเทียบกับขาดทุน 37.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 155 ล้านบาท หรือพลิกฟื้นมีกำไรเพิ่มขึ้น 419.2% โดยในครึ่งแรกของปีนี้บริษัทฯ มียอดขายเพิ่มขึ้น 127.5 ล้านบาทหรือ 14.4% อัตราส่วนต้นทุนการขายและบริการต่อยอดขายลดลง 6.0% อัตราส่วนค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารต่อยอดขายลดลง 7.2% ค่าใช้จ่ายทางการเงินลดลง 31.6 ล้านบาท โดยที่เกิดจากการลดลงของต้นทุนทางการเงิน 6.5 ล้านบาท และขาดทุนจากการเปลี่ยนสถานะทางการเงินในปี 2563 อีก 25.1 ล้านบาท
กรรมการผู้จัดการ FPI กล่าวอีกว่า ภาพรวมธุรกิจของบริษัทฯเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ เห็นได้ชัดจากยอดขายในครึ่งปีแรกที่ฟื้นตัวอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา จากยอดขายที่ฟื้นตัวตามเศรษฐกิจโลก ทำให้ ทำให้มีออเดอร์เข้ามาอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันมีงานในมือรอรับรู้รายได้ (Backlog) ประมาณ 700 ล้านบาท คาดรับรู้ปีนี้กว่า 50% ขณะที่สามารถบริหารต้นทุนการขายและบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงการขยับราคาสินค้าได้สอดคล้องกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ทำให้มั่นใจว่า แนวโน้มรายได้ในปีนี้จะเติบโตเกิน 15% ตามเป้าหมายที่วางไว้
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS