EPGยอดเยี่ยมทำนิวไฮยอดขายและกำไรสุทธิรายไตรมาส

EPGเผยไตรมาสแรก ปีบัญชี 64/65 (เม.ย.-มิ.ย.64) มียอดขาย 2,934 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 50% มีกำไรสุทธิ 450 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 503% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทำสถิติยอดขายและกำไรสุทธิรายไตรมาสสูงสุดใหม่

รศ.ดร.เฉลียว วิทูรปกรณ์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อีสเทิร์นโพลีเมอร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ EPG เปิดเผยว่า ผลารดำเนินงานของบริษัทในไตรมาสที่ 1 ปีบัญชี 64/65 (เม.ย.64 – มิ.ย.64) บริษัทมีรายได้จากการขาย 2,934 ล้านบาท ซึ่งเป็นสถิติยอดขายสูงสุดรายไตรมาส โดยปรับตัวเพิ่มขึ้น จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีรายได้จากการขาย 1,952 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 50% มีอัตรากำไรขั้นต้นที่ 33% และสร้างสถิติสูงสุดใหม่ของกำไรสุทธิรายไตรมาสที่ 450 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 75 ล้านบาท หรือ เพิ่มขึ้น 503%

สำหรับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และสหภาพยุโรป การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว ทั้งจากการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์หลังการเร่งฉีดวัคซีน และมาตรการสนับสนุนของรัฐบาล อีกทั้ง Pent Up Demand ที่เร่งตัวขึ้น สำหรับเศรษฐกิจไทยช่วงเดือนเม.ย. – มิ.ย. 64 ยังได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ Covid-19 ระลอกสาม ส่งผลให้การบริโภคภาคเอกชนลดลง แต่อย่างไรก็ตามมีปัจจัยสนับสนุนจากการส่งออกสินค้าปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องตามการฟื้นตัวของอุปสงค์ประเทศคู่ค้า ปัจจัยดังกล่าวส่งผลต่อการดำเนินงานของกลุ่มธุรกิจ EPG เนื่องจากสัดส่วนรายได้จากการขายของธุรกิจฉนวนกันความร้อน/เย็น และธุรกิจชิ้นส่วนอุปกรณ์และตกแต่งยานยนต์ ส่วนใหญ่มาจากต่างประเทศในไตรมาสแรก ธุรกิจฉนวนกันความร้อน/เย็น และธุรกิจชิ้นส่วนอุปกรณ์และตกแต่งยานยนต์ มีสัดส่วนรายได้จากการขายในต่างประเทศที่ 74% และ 78% ตามลำดับ ส่วนธุรกิจบรรจุภัณฑ์พลาสติก มีรายได้จากการขายในประเทศที่ 95%

ภาพรวมผลการดำเนินงานไตรมาสแรก แบ่งตาม 3 กลุ่มธุรกิจหลัก ดังนี้

ธุรกิจฉนวนกันความร้อน/เย็น ภายใต้แบรนด์ Aeroflex มีรายได้จากการขาย 821 ล้านบาท หรือ เพิ่มขึ้น 29% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยยอดขายในประเทศยังเติบโตช้าตามการฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปของภาคอุตสาหกรรมก่อสร้าง เนื่องจากภาคเอกชนยังคงชะลอการลงทุน อีกทั้งเกิดความล่าช้าจากกระบวนการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ขณะที่ยอดขายตลาดในสหรัฐอเมริกา และยุโรปปรับตัวดีขึ้นเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนยอดขายในเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น ทยอยฟื้นตัว

ธุรกิจชิ้นส่วนอุปกรณ์และตกแต่งยานยนต์ ภายใต้แบรนด์ Aeoroklas มีรายได้จากการขาย 1,466 ล้านบาท หรือ เพิ่มขึ้น 95% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยยอดขายปรับตัวเพิ่มขึ้นจากคำสั่งซื้อของกลุ่มผู้ผลิตยานยนต์ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งเติบโตตามอุปสงค์ของผู้บริโภคที่ต้องการใช้ยานยนต์ส่วนตัวแทนระบบขนส่งสาธารณะโดยเฉพาะอย่างยิ่งรถกระบะซึ่งใช้งานอเนกประสงค์ อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับปีบัญชีก่อน เป็นช่วงฐานต่ำจากผลกระทบของ COVID-19 ส่งผลให้ค่ายรถยนต์หลายแห่งในประเทศประกาศหยุดการผลิตชั่วคราวและกลุ่มลูกค้าต่างประเทศได้รับผลกระทบจากอุปสงค์ที่ลดลง

สำหรับธุรกิจในออสเตรเลียมียอดขายชิ้นส่วนอุปกรณ์ตกแต่งยานยนต์เพิ่มขึ้น เนื่องจากคนออสเตรเลียนิยมท่องเที่ยวในประเทศมากขึ้น จากข้อมูลของ FEDERAL CHAMBER OF AUTOMOTIVE INDUSTRIES แสดงให้เห็นว่าเดือนเม.ย.- มิ.ย.64 ยานยนต์ประเภท SUV เติบโตถึง 58.8% และ Light Commercial Vehicle ปรับตัวเพิ่มขึ้น 38.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลบวกให้ธุรกิจในออสเตรเลีย มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง ตามความต้องการยานยนต์ประเภท Light Commercial Vehicle และ SUV ในออสเตรเลีย ปรับสูงขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน

ธุรกิจบรรจุภัณฑ์พลาสติก ภายใต้แบรนด์ EPP มีรายได้จากการขาย 648 ล้านบาท หรือ เพิ่มขึ้น 15% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน การแพร่ระบาดของ Covid-19 ระลอกสาม ส่งผลต่อการอุปโภคบริโภคภายในประเทศลดลงกดดันยอดขายบริษัท อีสเทิร์น โพลีแพค จำกัด พอสมควร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บรรจุภัณฑ์ประเภทถ้วยน้ำ แต่อย่างไรก็ตามบริษัท อีสเทิร์น โพลีแพค จำกัด สามารถชดเชยด้วยบรรจุภัณฑ์พลาสติกประเภทกล่องใส่อาหารซึ่งปรับตัวดีขึ้นจากความต้องการของผู้บริโภคในยุควิถีใหม่ (New Normal) ที่นิยมสั่งอาหารแบบจัดส่งถึงที่ (Delivery) หรือซื้ออาหารกลับไปรับประทานที่บ้านมากขึ้น

บริษัทมีต้นทุนขายสินค้า เพิ่มขึ้น 42% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเพิ่มขึ้นในอัตราที่ต่ำกว่ายอดขาย จากการบริหารจัดการให้ต้นทุนในการผลิตลดลง และค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารเพิ่มขึ้น 30% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยบริษัทยังให้ความสำคัญแก่การบริหารค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ บริษัทได้รับส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วมและการร่วมค้าที่ 46 ล้านบาท จากการฟื้นตัวตามกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์

“แนวโน้มธุรกิจของบริษัทในปีบัญชี 64/65 (เม.ย.64 - มี.ค.65) บริษัทตั้งเป้าหมายยอดขายเติบโตได้ถึง 11,000 ล้านบาท สูงกว่ายอดขายก่อนเกิดการระบาดของ Covid-19 และปรับระดับอัตรากำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้นที่ 29 - 32% อ้างอิงตาม IMF ซึ่งคาดการณ์ว่าปี 64 และ ปี 65 เศรษฐกิจโลกจะเติบโต 6.0% และ 4.9% ตามลำดับ


COMMENTS

{{ errors.name }}

{{ errors.value }}

{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}

RELATED TOPICS

Please wait a moment