{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
GC ร่วมกับ Cargill เดินหน้าสร้างโรงงานพลาสติกชีวภาพแบบครบวงจรแห่งใหม่ในประเทศไทย ตอบสนองความต้องการใช้วัสดุที่ยั่งยืนให้ตลาดโลก
ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) (GC) เปิดเผยว่า บริษัท GC International Corporation บริษัทย่อยของบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล (จำกัด) มหาชน (GC) และ บริษัท Cargill Incorporated (Cargill) ในฐานะผู้ถือหุ้นสัดส่วนร้อยละ 50 ในบริษัท NatureWorks LLC (NatureWorks) ผู้ผลิตพลาสติกชีวภาพ PLA อันดับหนึ่งของโลก พร้อมเดินหน้าขยายการลงทุนในธุรกิจเคมีภัณฑ์ชีวภาพเพื่อสิ่งแวดล้อม หลังจากที่ BOI ได้อนุมัติส่งเสริมการลงทุนให้กับ NatureWorks
โรงงานพลาสติกชีวภาพแบบครบวงจรแห่งใหม่นี้ ใช้เทคโนโลยีพลาสติกชีวภาพอันดับหนึ่งของโลกและใช้น้ำตาลจากอ้อยจากเกษตรกรในประเทศไทยเป็นวัตถุดิบ ซึ่งจะช่วยขยายฐานพันธมิตรในตลาด Bio-Polymer รวมถึงการผลิตและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการด้านการใช้วัสดุที่ยั่งยืน โครงการนี้มีมูลค่าการลงทุนมากกว่า 20,000 ล้านบาท โดยโรงงานจะตั้งอยู่ที่นครสวรรค์ไบโอ คอมเพล็กซ์ (NBC) จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งเป็นโครงการแห่งแรกของประเทศไทยที่สอดคล้องกับโมเดล BCG Economy ตามนโยบายของรัฐบาล เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันและขยายโอกาสทางการค้าร่วมกับพันธมิตรต่าง ๆ ในเวทีโลก และสนับสนุนให้ประเทศไทยมีเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างมีเสถียรภาพ”
นางสาว คอลลีน เมย์ President บริษัท Cargill’s Bioindustrial Group กล่าวว่า คาร์กิลรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ก้าวไปข้างหน้าร่วมกับ GC เพื่อสนับสนุนการขยายธุรกิจของ NatureWorks ด้วยการสร้างฐานการผลิตแห่งที่ 2 ซึ่งการลงทุนในครั้งนี้นับเป็นการตอกย้ำที่สำคัญถึงความพยายามอย่างต่อเนื่องของเราในการลงทุนเพื่อพัฒนาโซลูชันที่ยั่งยืนสำหรับลูกค้ากลุ่มอุตสาหกรรมชีวภาพทั่วโลก
โรงงานแห่งใหม่นี้เป็นโรงงานพลาสติกชีวภาพโพลีแลคติก แอซิด (Polylactic Acid : PLA) ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แห่งที่ 2 ภายใต้ชื่อทางการค้า Ingeo™ และส่งเสริมการต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มกับวัตถุดิบทางการเกษตรของประเทศไทย ตอบสนองการขยายตัวของตลาด ซึ่งคาดว่าจะสามารถดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์ได้ภายใน ปี 2567
Ingeo™ PLA เป็นโพลิเมอร์ชีวภาพที่สามารถย่อยสลายได้ มีคาร์บอนฟุตปริ้นท์ต่ำ สามารถนำไปใช้งานได้หลากหลายประเภท เช่น นำไปผลิตเป็นถุงชา แคปซูลกาแฟ บรรจุภัณฑ์อาหาร เส้นใยใช้ในงานพิมพ์ชิ้นงานสามมิติ เส้นใยที่นำมาใช้ผลิตผ้าอ้อม ผ้าเช็ดทำความสะอาด หน้ากากอนามัย รวมถึงอุปกรณ์ใช้ภายในบ้าน เป็นต้น โดยโรงงานนี้จะใช้น้ำตาลจากอ้อยจากเกษตรกรในประเทศไทยเป็นวัตถุดิบ ปีละประมาณ 110,000 ตัน นำไปผลิตเป็นกรดแลคติก (Lactic Acid) แลคไทด์ (Lactide) และโพลิเมอร์ (Polymer) จนได้เป็นโพลิแลคไทด์ (Polylactide) ส่งผลให้โรงงานนี้เป็นโรงงานผลิตโพลิแลคไทด์แบบครบวงจรแห่งแรกของโลก โดยมีกำลังการผลิตโพลิเมอร์ชีวภาพอยู่ที่ 75,000 ตันต่อปี
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS