ALT ร่วมมือคณะสถาปัตย์ มธ.มอบทุนวิจัยพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ - เทคโนโลยีอัจฉริยะนำสู่ Smart City

เอแอลที ร่วมมือคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดทำโครงการร่วมมือทางวิชาการเพื่อพัฒนาพื้นที่ต้นแบบและเทคโนโลยีอัจฉริยะ พร้อมมอบทุนงานวิจัย นวัตกรรม Smart City เพื่อนำไปต่อยอดประยุกต์ใช้ได้จริงในระดับชุมชน สู่การพัฒนาเมืองอัจฉริยะในอนาคต

นายปริญญ์ ชากฤษณ์ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท เอแอลที เทเลคอม จำกัด (มหาชน) หรือ ALT เปิดเผยว่า บริษัทได้ร่วมมือกับ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทำโครงการความร่วมมือทางวิชาการเพื่อพัฒนาพื้นที่ต้นแบบและเทคโนโลยีอัจฉริยะ (Smart Technology) เพื่อศึกษาวิจัยและพัฒนาพื้นที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และผังเมือง ให้เป็นพื้นที่ต้นแบบของสภาพแวดล้อมและอาคารอัจฉริยะ

โดยวัตถุประสงค์หลักเพื่อร่วมกันจัดหาและสนับสนุนทรัพยากร สำหรับใช้ในการดำเนินงานด้านวิชาการและงานวิจัย แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และเทคโนโลยีเสริมสร้างความรู้ ข้อมูลทางวิชาการ จัดฝึกอบรมและสัมมนา รวมทั้งร่วมกันพัฒนาและดำเนินงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและผลิตภัณฑ์ในรูปแบบต่างๆ โดยครอบคลุม ในด้านสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ หรือ Smart Environment ขนส่งอัจฉริยะ หรือ Smart Mobility และพลังงานอัจฉริยะ หรือ Smart Energy

สำหรับความร่วมมือ ในครั้งนี้จะสร้างสภาพแวดล้อมอันเหมาะสมกับการศึกษาวิจัย การเรียนรู้ให้กับนักศึกษา นักวิชาการ ควบคู่และผสมผสานกับการปฏิบัติจริงและสามารถนำการออกแบบและเทคโนโลยี พัฒนาต่อยอดไปในด้านอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีและพาณิชยกรรม เพื่อการพัฒนารูปแบบเมืองอัจฉริยะต่อไปในอนาคต

“ขณะนี้บริษัท ได้ร่วมกับคณะฯ คัดเลือกงานวิจัยที่คิดค้นนวัตกรรม ที่เกี่ยวกับงานวิจัย Smart City หลังจากนั้นบริษัทจะนำงานวิจัยมาพัฒนาต่อยอดควบคู่ไปกับงานด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีของบริษัท เพื่อที่จะสามารถตอบโจทย์ความต้องการของหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน” นายปริญญ์กล่าว

ด้านผู้ช่วยศาสตราจารย์ อาสาฬห์ สุวรรณฤทธิ์ คณะบดี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า การร่วมมือกับ บริษัท เอแอลที เทเลคอม จำกัด (มหาชน) จัดทำโครงการร่วมมือทางวิชาการเพื่อพัฒนาพื้นที่ต้นแบบและเทคโนโลยีอัจฉริยะ (Smart Technology) โดย ALT ให้การสนับสนุนระบบ Modular Data Center ที่ ALT พัฒนาขึ้นมา พร้อมระบบติดตั้งอุปกรณ์ และข้อมูลองค์ความรู้ ด้านนวัตกรรม โทรคมนาคมและโครงข่ายการสื่อสารอัจฉริยะซึ่งขณะนี้ได้ดำเนินแล้วเสร็จ และพร้อมใช้งาน

นอกจากนี้ยังร่วมกันสนับสนุนงานวิจัยพัฒนาพื้นที่ต้นแบบและเทคโนโลยีอัจฉริยะโดยให้ทุนสนับสนุนงานวิจัย 3 ทีม ภายใต้ 3 หัวข้อคือ Smart Environment ขนส่งอัจฉริยะ หรือ Smart Mobility และพลังงานอัจฉริยะ หรือ Smart Energy งานวิจัยที่เข้าเกณฑ์ในการพิจารณาต้องเป็นโครงการมีผลลัพธ์ ที่มีผลกระทบที่เกิดประโยชน์ในวงกว้าง มีความเป็นไปได้ทางด้านเทคนิค การใช้เทคโนโลยี และการปฏิบัติ รวมทั้งความเป็นไปได้ในการถ่ายทอดองค์ความรู้และต่อยอดผลงานสู่การนำไปใช้ได้จริง

“เป้าหมายงานวิจัยอยากได้ต้นแบบของ Innovation ที่สร้าง Impact ได้ในอนาคต ในระดับอาคาร ชุมชน ย่าน หรือเมือง งานวิจัยทั้ง 3 หัวข้อ อาจจะเป็นสิ่งประดิษฐ์ หรือ Innovation เชิงระบบและการบริการ มีความต้องการใช้งานในสถานการณ์จริง เป็นนวัตกรรมที่สามารถ Scalable ได้ สามารถนำงานวิจัยไปพัฒนาต่อยอดเพื่อใช้ได้ในเชิงธุรกิจ ตอบสนองเป้าหมายในการ Smart City ของ ALT และภาครัฐในอนาคต” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อาสาฬห์ กล่าว


COMMENTS

{{ errors.name }}

{{ errors.value }}

{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}

RELATED TOPICS

Please wait a moment