{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
กรมศุลกากร ออกมาตรการด่วน ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประกอบการจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) โดยออกประกาศกรมศุลกากร เพื่อลดภาระเพิ่มสภาพคล่องในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)
ตามที่กรมศุลกากรได้ออกประกาศฯ ที่ 189/2560 ลงวันที่ 29 ธันวาคม 2560 ให้สามารถยื่นอุทธรณ์การประเมินอากรศุลกากรและภาษีมูลค่าเพิ่มได้ที่กรมศุลกากรจุดเดียวในทุกกรณี และเพื่อให้การขอทุเลาการเสียอากรเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเป็นมาตรฐานเดียวกันนั้น ได้กำหนดให้ต้องยื่นคำขอทุเลาการเสียอากรพร้อมหลักประกันอย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกัน เป็นประกันการชำระเงินอากร ประกอบด้วย เงินสดหรือพันธบัตรรัฐบาล สมุดบัญชีเงินฝากประจำของธนาคารพาณิชย์ โฉนดที่ดิน หนังสือค้ำประกันการทุเลาการเสียอากรของธนาคารพาณิชย์ หนังสือประกันตนเอง และหลักทรัพย์หรือการประกันอย่างอื่น ๆ ซึ่งปลอดภาระผูกพัน โดยยื่นอย่างใดอย่างหนึ่งให้ครอบคลุมเงินอากรและเงินเพิ่มตามแบบแจ้งการประเมินอากรที่ค้างชำระ ซึ่งอาจทำให้ผู้ประกอบการมีความเดือดร้อนเพราะสภาวะเศรษฐกิจในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)
ดังนั้น เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้นำของเข้าและผู้ส่งของออกที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน กรมศุลกากรจึงได้มีประกาศกรมศุลกากร ที่ 103/2564 ลงวันที่ 1 กรกฎาคม 2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอทุเลาการเสียอากรในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) สำหรับผู้ที่ต้องการยื่นคำขอทุเลาการเสียอากร ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564 ให้สามารถยื่นหนังสือประกันตนเองของนิติบุคคล หรือหนังสือค้ำประกันของธนาคารฉบับเดิม มาใช้เพิ่มเติมเพื่อเป็นหลักประกันการชำระอากรได้
นอกจากนี้ ยังออกระเบียบกรมศุลกากรว่าด้วยการงดหรือลดเบี้ยปรับ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2564 สำหรับผู้นำเข้าหรือผู้ส่งออกที่ไม่เสียอากรภายในกำหนดโดยไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงอากร และได้นำเงินอากร
ที่ต้องเสียตามแบบแจ้งการประเมินอากร มาชำระต่อกรมศุลกากรภายในวันที่ 1 มิถุนายน 2564 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2564 โดยได้ประกาศ ณ วันที่ 28 มิถุนายน 2564 จะได้รับการงดเบี้ยปรับ ภายในระยะเวลาดังกล่าว ซึ่งทั้งหมดนี้ จะเป็นการช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ผู้นำเข้าหรือผู้ส่งออกได้อีกทางหนึ่ง
ท่านสามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.customs.go.th หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนกรมศุลกากร 1164
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS