{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
เศรษฐกิจภูมิภาคในเดือนพฤษภาคม 2564 ชะลอตัวจากเดือนก่อนในหลายภูมิภาค แต่ยังขยายตัวได้ดีเมื่อเทียบกับปีก่อน ยังกังวลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus Disease 2019: COVID-19)
นายพิสิทธิ์ พัวพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค เปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนพฤษภาคม 2564 ว่า เศรษฐกิจภูมิภาคในเดือนพฤษภาคม 2564 ชะลอตัวลงจากเดือนก่อน
ในหลายภูมิภาค แต่ยังขยายตัวได้ดีเมื่อเทียบกับปีก่อน โดยเป็นการขยายตัวจากทั้งการบริโภคอุปโภค
และการลงทุนภาคเอกชน อย่างไรก็ตาม ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมปรับตัวลดลง เนื่องจากความกังวลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus Disease 2019: COVID-19)” โดยมีรายละเอียดดังนี้
เศรษฐกิจภาคตะวันออกขยายตัวได้ดีจากปีก่อน โดยเป็นการขยายตัวจากทั้งการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน อย่างไรก็ตาม ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวลดลง ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวได้ดีเมื่อเทียบกับปีก่อน สะท้อนจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 64.4 43.5 และ 48.4 ต่อปี ตามลำดับ เช่นเดียวกับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวได้ดีเมื่อเทียบกับปีก่อนสะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 38.4 และ 38.5 ต่อปี ตามลำดับ นอกจากนี้ เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวสูงถึงร้อยละ 157.4 ต่อปี ด้วยจำนวนเงินทุน 1.8 พันล้านบาท จากโรงงานผลิตเส้นทองแดงกลม
และเส้นทองแดงกลมเคลือบฉนวนในจังหวัดฉะเชิงเทรา และโรงงานผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์กาวและสารเคมี
ในจังหวัดระยอง เป็นสำคัญ นอกจากนี้ หากพิจารณาในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลง
มาอยู่ที่ระดับ 47.6 แต่ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 104.1
เศรษฐกิจภาคใต้ชะลอตัวลงจากเดือนก่อน แต่ยังขยายตัวได้ดีเมื่อเทียบกับปีก่อน โดยเป็นการขยายตัวจากทั้งการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน อย่างไรก็ตาม ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวลดลง ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวได้ดีเมื่อเทียบกับปีก่อน สะท้อนจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ขยายตัวร้อยละ 13.6 55.0 และ 51.8 ต่อปี ตามลำดับ สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจ
ด้านการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวได้ดีเมื่อเทียบกับปีก่อน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล
จดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ ขยายตัวต่อเนื่องมาอยู่ที่ร้อยละ 51.1 และ 60.8 ต่อปี ตามลำดับ นอกจากนี้ เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวสูงถึงร้อยละ 1,318.6 ด้วยจำนวนเงินทุน 2.5 พันล้านบาท จากโรงงานผลิตถุงมือยาง ในจังหวัดสงขลา เป็นสำคัญ ทั้งนี้ หากพิจารณาในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลงมาอยู่ที่ระดับ 41.0 แต่ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 84.3
เศรษฐกิจภาคกลางชะลอตัวลงจากเดือนก่อน แต่ยังขยายตัวได้ดีเมื่อเทียบกับปีก่อน โดยเป็นการขยายตัวจากทั้งการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน อย่างไรก็ตาม ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมปรับตัวลดลง โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชนชะลอตัวลง สะท้อนจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ -1.8 ต่อปี ในขณะที่จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ขยายตัวที่ร้อยละ 15.7 และ 15.6 ต่อปี ตามลำดับ แต่อัตราการขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า สอดคล้องกับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชนชะลอตัวลงจากเดือนก่อน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนมาอยู่ที่ร้อยละ 11.9 และ 8.7 ต่อปี ตามลำดับ นอกจากนี้ เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวร้อยละ 822.5 ต่อปี ด้วยจำนวนเงินทุน 2.4 พันล้านบาท จากศูนย์กระจายสินค้าที่มีห้องแช่เย็นและแช่แข็ง ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นสำคัญ ทั้งนี้
ในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับ 43.5 และ 81.9 ตามลำดับ
เศรษฐกิจภาคตะวันตกชะลอตัวลงจากเดือนก่อน แต่ยังขยายตัวได้ดีเมื่อเทียบกับปีก่อน โดยเป็น การขยายตัวจากทั้งบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน อย่างไรก็ตาม ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมปรับตัวลดลง โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชนชะลอตัวลงจากเดือนก่อน สะท้อนจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ -5.7 ต่อปี ในขณะที่จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ขยายตัวร้อยละ 15.6 และ 28.6 ต่อปี ตามลำดับ แต่อัตราการขยายตัว ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า สอดคล้องกับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชนชะลอตัวลงจากเดือนก่อน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนมาอยู่ที่ร้อยละ 13.9 และ 17.8 ต่อปี ตามลำดับ อย่างไรก็ดี เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการกลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 96.0 ด้วยจำนวนเงินทุน 0.4 พันล้านบาท จากโรงงานผลิตน้ำเชื่อม ในจังหวัดกาญจนบุรี และศูนย์บริการรถยนต์ ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นสำคัญ ทั้งนี้ ในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมปรับลดลง มาอยู่ที่ระดับ 43.5 และ 81.9 ตามลำดับ
เศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือชะลอตัวลงจากเดือนก่อน แต่ยังขยายตัวได้ดีเมื่อเทียบกับปีก่อน โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชน อย่างไรก็ตาม ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมปรับตัวลดลง โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชนชะลอตัวลงจากเดือนก่อน สะท้อนจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ที่ขยายตัวชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ 7.9 ต่อปี และ 34.4 ต่อปี ตามลำดับ สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ ขยายตัวที่ร้อยละ 45.5 และ 38.3 ต่อปี ตามลำดับ อย่างไรก็ดี เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการกลับมาขยายตัวร้อยละ 19.7 ด้วยจำนวนเงินทุน 0.4 พันล้านบาท จากโรงงานประกอบกิจการผลิตไม้วีเนียร์จากไม้ยางพาราและไม้ในจังหวัดอุดรธานี และโรงงานผลิตแอสฟัลต์ติกคอนกรีตในจังหวัดสกลนคร เป็นสำคัญ อย่างไรก็ดี ในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมปรับลดลง มาอยู่ที่ระดับ 48.4 และ 72.5 ตามลำดับ
เศรษฐกิจ กทม. และปริมณฑล ชะลอตัวลงจากเดือนก่อน แต่ยังขยายตัวเมื่อเทียบกับปีก่อน โดยเป็น การขยายตัวจากทั้งการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน อย่างไรก็ตาม ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมปรับตัวลดลง โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชนชะลอตัวลงจากเดือนก่อน สะท้อนจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ -0.4 ต่อปี อย่างไรก็ดี จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ จำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ขยายตัวที่ร้อยละ 49.4 และ 41.6 ต่อปี ตามลำดับ ในขณะที่เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุก
จดทะเบียนใหม่ ขยายตัวร้อยละ 54.3 และ 96.3 ต่อปี ตามลำดับ สำหรับเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการกลับมาขยายตัวร้อยละ 110.5 ด้วยจำนวนเงินทุน 5.5 พันล้านบาท จากโรงงานการทำหรือซ่อมแซมแบบ เครื่องช่วยจับ แม่พิมพ์ในการตัดและปั้มขึ้นรูปโลหะทุกชนิด และการดัดแปลงหรือการซ่อมแซมเครื่องกลึงในจังหวัดนนทบุรี และโรงงาน การสี ฝัด หรือขัดข้าว และการบดเมล็ดพืชหรือหัวพืช ในจังหวัดนครปฐม เป็นหลัก ทั้งนี้ ในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมปรับลดลง มาอยู่ที่ระดับ 43.4 และ 81.9 ตามลำดับ
เศรษฐกิจภาคเหนือชะลอตัวลงจากเดือนก่อน แต่ยังขยายตัวเมื่อเทียบกับปีก่อน โดยเป็นการขยายตัว จากทั้งการบริโภคอุปโภคและการลงทุนภาคเอกชน อย่างไรก็ตาม ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมปรับตัวลดลง โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชนชะลอตัวลงจากเดือนก่อน สะท้อนจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ขยายตัวชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ 7.1 ต่อปี เช่นเดียวกับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชนชะลอตัวลงจากเดือนก่อน สะท้อนจากเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการชะลอลงที่ร้อยละ -92.0 ต่อปี ทั้งนี้ ในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมปรับลดลง มาอยู่ที่ระดับ 47.2 และ 60.0 ตามลำดับ
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS