เปิดเทอมใหญ่ค่าใช้จ่ายอ่วม ธุรกิจการศึกษาทำตลาดดูดเงินผู้ปกครอง

ใกล้เปิดเทอมใหญ่ปีการศึกษาใหม่ เป็นหน้าที่ของผู้ปกครองที่ต้องวางแผนการใช้จ่ายเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรหลาน ใครมีเงินมากคงไม่น่าจะมีปัญหา แต่คนที่เงินเดือนไม่มากไปจนถึงน้อยคงต้องลำบากสักหน่อย โรงรับจำนำหรือโรงตึ๊ง ก็มักจะมีผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้นมากในช่วงเวลานี้

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย สำรวจพฤติกรรมผู้ปกครองที่มีบุตรหลานที่กำลังศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงมัธยมศึกษาในกรุงเทพฯ และปริมณฑล พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ 64% รู้สึกกังวลเกี่ยวกับสภาพคล่องทางการเงิน เพราะค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน รวมถึงภาระหนี้สิน เพิ่มสูงขึ้น

อีก 36% ไม่กังวล เนื่องจากกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีรายได้ครัวเรือนมากกว่า 60,000 บาทต่อเดือน และเป็นกลุ่มที่มีบุตรหลานศึกษาในสถาบันการศึกษารัฐบาล

อย่างไรก็ตาม กลุ่มตัวอย่างยังมีความสามารถในการบริหารจัดการสภาพคล่องได้ ส่วนใหญ่ปรับตัวด้วยการลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินชีวิตประจำวัน รองลงมาก็หารายได้เสริมเพิ่ม และซื้อสินค้าด้านการศึกษาอย่างชุดนักเรียน หนังสือ และอุปกรณ์การเรียนราคาประหยัด

แม้ว่าค่าใช้จ่ายจะเพิ่มขึ้น แต่กลุ่มตัวอย่างก็ยังไม่ปรับลดค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของบุตรหลาน โดยค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นมาจากค่าเรียนเสริมทักษะหรือเรียนพิเศษ ขณะที่ค่าชุดนักเรียนไม่เพิ่มขึ้น

ส่วนแหล่งที่มาของงบประมาณเพื่อใช้จ่ายด้านการศึกษาของบุตรหลานของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ 92% เป็นเงินออม รองลงมายืมญาติหรือเพื่อน

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ในช่วงเปิดเทอมใหญ่ปี 2561 ผู้ปกครองในกรุงเทพฯ และปริมณฑล น่าจะใช้จ่ายด้านการศึกษาสำหรับบุตรหลานคิดเป็นเม็ดเงินสะพัด 27,500 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบกับในช่วงเปิดเทอมใหญ่ปีที่แล้ว

ขณะที่ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าด้านการศึกษา โรงเรียนกวดวิชา และสถาบันเสริมทักษะต่างๆ ต่างก็พยายามหาช่องทางทำตลาดเพื่อหวังกระตุ้นการใช้จ่ายจากผู้ปกครอง

โดยผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าด้านการศึกษา ต้องปรับรูปแบบการตลาด และจัดโปรโมชั่นด้านราคา เพื่อช่วงชิงกำลังซื้อในช่วงเวลาสั้นๆ ท่ามกลางการแบกรับต้นทุน เพราะต้องตรึงราคาตามความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐ และผู้ปกครองก็ต้องปรับลดค่าใช้จ่าย

โรงเรียนกวดวิชา ก็ปรับตัวจากการเรียนการสอนที่สาขา ไปสู่การเรียนการสอนผ่านทางสื่อการเรียนการสอนสมัยใหม่ เช่น e-Learning สื่อมัลติมีเดีย สื่อออนไลน์ กันมากขึ้น ท่ามกลางภาวะการแข่งขันอย่างรุนแรง

ขณะที่สถาบันเสริมทักษะต่างๆ เช่น ภาษาต่างประเทศ คอมพิวเตอร์ จินตคณิต ดนตรี กีฬา ศิลปะ เป็นต้น ยังสามารถขยายตลาดได้อยู่ เพราะผู้ปกครองให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะของบุตรหลาน และการแข่งขันของผู้ประกอบการยังไม่รุนแรง

----------------------------------

ที่มา ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

----------------------------

ใกล้เปิดเทอมใหญ่ปีการศึกษาใหม่ เป็นหน้าที่ของผู้ปกครองที่ต้องวางแผนการใช้จ่ายเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรหลาน ใครมีเงินมากคงไม่น่าจะมีปัญหา แต่คนที่เงินเดือนไม่มากไปจนถึงน้อยคงต้องลำบากสักหน่อย โรงรับจำนำหรือโรงตึ๊ง ก็มักจะมีผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้นมากในช่วงเวลานี้

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย สำรวจพฤติกรรมผู้ปกครองที่มีบุตรหลานที่กำลังศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงมัธยมศึกษาในกรุงเทพฯ และปริมณฑล พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ 64% รู้สึกกังวลเกี่ยวกับสภาพคล่องทางการเงิน เพราะค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน รวมถึงภาระหนี้สิน เพิ่มสูงขึ้น

อีก 36% ไม่กังวล เนื่องจากกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีรายได้ครัวเรือนมากกว่า 60,000 บาทต่อเดือน และเป็นกลุ่มที่มีบุตรหลานศึกษาในสถาบันการศึกษารัฐบาล

อย่างไรก็ตาม กลุ่มตัวอย่างยังมีความสามารถในการบริหารจัดการสภาพคล่องได้ ส่วนใหญ่ปรับตัวด้วยการลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินชีวิตประจำวัน รองลงมาก็หารายได้เสริมเพิ่ม และซื้อสินค้าด้านการศึกษาอย่างชุดนักเรียน หนังสือ และอุปกรณ์การเรียนราคาประหยัด

แม้ว่าค่าใช้จ่ายจะเพิ่มขึ้น แต่กลุ่มตัวอย่างก็ยังไม่ปรับลดค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของบุตรหลาน โดยค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นมาจากค่าเรียนเสริมทักษะหรือเรียนพิเศษ ขณะที่ค่าชุดนักเรียนไม่เพิ่มขึ้น

ส่วนแหล่งที่มาของงบประมาณเพื่อใช้จ่ายด้านการศึกษาของบุตรหลานของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ 92% เป็นเงินออม รองลงมายืมญาติหรือเพื่อน

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ในช่วงเปิดเทอมใหญ่ปี 2561 ผู้ปกครองในกรุงเทพฯ และปริมณฑล น่าจะใช้จ่ายด้านการศึกษาสำหรับบุตรหลานคิดเป็นเม็ดเงินสะพัด 27,500 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบกับในช่วงเปิดเทอมใหญ่ปีที่แล้ว

ขณะที่ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าด้านการศึกษา โรงเรียนกวดวิชา และสถาบันเสริมทักษะต่างๆ ต่างก็พยายามหาช่องทางทำตลาดเพื่อหวังกระตุ้นการใช้จ่ายจากผู้ปกครอง โดยผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าด้านการศึกษา ต้องปรับรูปแบบการตลาด และจัดโปรโมชั่นด้านราคา เพื่อช่วงชิงกำลังซื้อในช่วงเวลาสั้นๆ ท่ามกลางการแบกรับต้นทุน เพราะต้องตรึงราคาตามความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐ และผู้ปกครองก็ต้องปรับลดค่าใช้จ่าย โรงเรียนกวดวิชา ก็ปรับตัวจากการเรียนการสอนที่สาขา ไปสู่การเรียนการสอนผ่านทางสื่อการเรียนการสอนสมัยใหม่ เช่น e-Learning สื่อมัลติมีเดีย สื่อออนไลน์ กันมากขึ้น ท่ามกลางภาวะการแข่งขันอย่างรุนแรง ขณะที่สถาบันเสริมทักษะต่างๆ เช่น ภาษาต่างประเทศ คอมพิวเตอร์ จินตคณิต ดนตรี กีฬา ศิลปะ เป็นต้น ยังสามารถขยายตลาดได้อยู่ เพราะผู้ปกครองให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะของบุตรหลาน และการแข่งขันของผู้ประกอบการยังไม่รุนแรง ---------------------------------- ที่มา ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ----------------------------


COMMENTS

{{ errors.name }}

{{ errors.value }}

{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}

RELATED TOPICS

Please wait a moment